เศรษฐกิจปีหน้า : ผันผวนและปรวนแปร


เพิ่มเพื่อน    

 

          พอมาถึงสิ้นปี ทุกสำนักก็กำลังมองไปปีหน้า...ซึ่งดูเหมือนจะมีปัจจัยทางลบมากกว่าบวกทั้งสำหรับเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย

                ยิ่งการเมืองระหว่างประเทศยิ่งมีความสลับซับซ้อนยุ่งยากมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า

                เราไม่เคยเห็นการประท้วงต่อต้านรัฐบาลและระบบเศรษฐกิจแบบเดิมอย่างกว้างขวาง

                อีกทั้งเรากำลังเห็นปรากฏการณ์ที่ระบอบ “เสรีประชาธิปไตย” กับ “ประชานิยม” กำลังเข้าสู่ภาวะที่ถูกท้าทายอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

                ถึงขั้นที่มีคนวิเคราะห์ว่าเราอาจจะกำลังเข้าสู่ยุค “ล่มสลาย” ของการเมืองแบบทุนนิยม, เสรีนิยม และประชานิยม

                โดยมีคนชี้ไปที่สหรัฐ, สหภาพยุโรป และ Brexit ของอังกฤษ

                ขณะที่ระบบ “รวมศูนย์อำนาจ” ที่ดูเหมือนจะแก้ปัญหาพื้นฐานของประชาชนที่ถูกมองข้ามโดย “โลกาภิวัตน์” มาหลายปีกำลังอ้างว่ามีความสามารถแก้ปัญหาพื้นฐานของผู้ยากไร้ได้ดีกว่าทุนนิยมผูกขาดและระบบการเมืองที่เรียกตัวเองว่าเป็น “เสรีนิยม”

                สำหรับผมที่ได้ติดตามข่าวบ้านเมืองตั้งแต่ระดับชาวบ้านถึงระดับชาติและระดับสากลมาหลายสิบปีนั้น นี่คือช่วงจังหวะของการเปลี่ยนแปลงที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย

                ผมจึงพยายามจะหาข้อมูลและวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงอันใหญ่หลวงที่กำลังมากระทบสังคมโลกที่มีความโยงใยต่อสังคมไทยอย่างกว้างขวางและลุ่มลึก

                เอาเฉพาะอนาคตอันใกล้นี้ ความเปลี่ยนแปลงจะมาในรูปไหน ผมเห็นบทสรุปย่อจากการสัมมนาของ TMB Investment Forum เมื่อเร็วๆ นี้ที่คุณ “IC เป้ง” ได้นำเสนอผ่านโซเชียลมีเดียที่น่าสนใจ

                จึงขอนำบางประเด็นมาเล่าต่อและเสนอความเห็นเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นให้วงการต่างๆ ของไทยเราได้ร่วมกันวิเคราะห์ต่อยอดเพื่อแสวงหานโยบายและทางออกร่วมกันอย่างจริงจัง

                เพราะหากเราไม่จับประเด็นความเปลี่ยนแปลงโลกอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อนำไปสู่การวางนโยบายทั้งระดับรัฐและเอกชน ทั้งในวงกว้างและส่วนบุคคลแล้ว ประเทศไทยเราอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยที่ส่งปัญหาอย่างหนักหน่วงต่อเนื่องถึงรุ่นลูกรุ่นหลานได้อย่างน่ากลัว

                บทสรุปย่อจากการเสวนาในงานนั้นมีประเด็นน่าสนใจได้อย่างนี้ครับ

                - 2020 เป็นปีที่เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบโลกครั้งใหญ่ หลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว

                - รอบนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางฝั่งเทคโนโลยีครั้งใหญ่ ต่อเนื่องมาจาก Disruption จะมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก จากการมาของเทคโนโลยียุค 5G และต่อเนื่องไปยัง 7G

                - ประเทศส่วนใหญ่ที่จะโตจากนี้ไปจะมาจากฝั่งเอเชีย ซึ่งจะเป็นการพัฒนาจากเทคโนโลยีเป็นหลัก เช่น จีน อินเดีย และ ASEAN

                - จีนกำลังจะเป็นอันดับ 1 ของโลก ภายในปี 2030 คาดจะมีอัตราโตเศรษฐกิจที่สูงในอนาคต จากแผนการสร้าง Smart City ที่จะนำเรื่อง Tech ล้ำยุคมาพัฒนา เมืองที่เคยเล็กๆ อย่าง Shenzhen กำลังจะใหญ่กว่า Silicon Valley ของอเมริกา และมีการพัฒนา Technology IT & AI อย่างจริงจัง เช่น การใช้ QR Code แทนการจ่ายเงินแบบใช้เงินสด การหาเส้นทางที่ดีในการจราจร กล้อง AI ตรวจจับการทำผิดกฎจราจร แล้วปรับทันทีผ่าน Wechat เป็นต้น

                - อินเดียกำลังจะเป็นอันดับ 2 ของโลก ภายในปี 2030 ตามมาด้วยอเมริกา อินเดียมีฐานชนชั้นล่างใหญ่ที่กำลังจะกลายเป็นชนชั้นกลาง มีกำลังซื้อสูงขึ้น ประชากร 1,300 ล้านคน อนาคตจะโตแรง จะปรับเรื่อง Tech ยากกว่า เพราะยังไม่มีอะไรเลย ซึ่งมีความพร้อมน้อยกว่าจีน

                - อเมริกาใต้เจอกับหลากหลายปัญหา อาร์เจนตินากำลังเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจครั้งที่ 3 เวเนซุเอลาเจอปัญหาเงินเฟ้อสูง หรือ hyperinflation ซึ่งในภูมิภาคนี้มีแค่บราซิลที่ดูดีสุด

                - สิ่งที่อเมริกากลัวคือ คนที่เริ่มวางระบบ IT และ AI ก่อนจะเป็นคนกำหนดค่ามาตรฐานของโลกหลังจากนี้ จีนจึงพยายามอย่างยิ่งในการพัฒนาเรื่อง Smart City, AI, IOT และ IT ทำให้อเมริกาใช้การทำสงครามการค้ากับจีนมาเบรกความร้อนแรง เช่น การแบน Huawei หรือความไม่สงบในฮ่องกง

                - สำหรับการลงทุนในจีน ตราสารหนี้จีนน่าสนใจ Yield 3-4% ถือว่าสูง มีแนวโน้มเสถียรภาพดี เทียบกับยุโรปไม่น่าสนใจเลย ดอกติดลบ Yield ต่ำมาก

                - อเมริกา ที่ผ่านมาพิมพ์เงินต่อเนื่อง Balance Sheets โตมหาศาล โดยทำกันทั้งโลก งบดุลโตมหาศาล หนี้เพิ่มเรื่อยๆ ตลาดหุ้นขึ้นต่อเนื่อง แต่เงินพวกนี้ใช้ดันเศรษฐกิจจริง (Real Sector) ให้ขึ้นได้น้อยมาก 

                - ปีหน้าคาดว่า FED ธนาคารกลางสหรัฐต้องการทำ 0% Rate ภายในปลายปีหน้า เพื่อให้ต้นทุนทางการเงินต่ำมากๆ พร้อมกับอัดฉีดสภาพคล่อง ทำ QE เพื่อรักษาระบบให้คงอยู่ ไม่พัง ดังนั้นดอกเบี้ยต่ำยังคงอยู่ในปีหน้า กลยุทธ์การลงทุนให้เน้นปกป้องเงินต้นเป็นหลัก

                - เรื่องของการเก็บภาษีก็ลดลงในอเมริกา รายได้ลดลง ต้องลดดอกเบี้ยลงเพื่อลดต้นทุน สร้างหนี้ขึ้นไปเรื่อยๆ งบดุลโตขึ้นเรื่อยๆ ค่าใช้จ่ายครัวเรือนในสหรัฐสูงขึ้นเรื่อยๆ รายได้ใช้ไม่พอ

                - ตราสารหนี้ Zero-rate ทั่วโลก เพิ่มขึ้นไม่หยุด ปัจจุบันมีขนาดใหญ่มาก 16 ล้านล้าน USD เป็นสิ่งที่น่ากังวลมาก และในอีก 2 ปีข้างหน้า ปี 2021-2022 อาจจะเกิด Inverted Yield Curve ขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะ Recession

                - Bill Gross บอกว่าเราไม่เคยเจอดอกเบี้ยต่ำแบบนี้มานาน 500 ปี สิ่งที่ต้องระวังคือ เมื่อไรก็ตามที่ตลาดรับรู้ถึงความเป็นจริง อาจจะเป็นเหมือนในเวเนซุเอลา เกิดการเสื่อมค่าของเงินอย่างฉับพลัน โลกมีความเสี่ยงเกิดวิกฤติการเงินที่ใหญ่มาก ในระดับการระเบิดของ Supernova

                - Property อสังหาฯ ทั่วโลกเกิดภาวะฟองสบู่ ราคาแพงมาก เช่น ในออสเตรเลีย คนไม่สามารถเป็นเจ้าของได้ คนจีนกว้านซื้อรัวๆ ราคาขึ้นไปจนคนไม่สามารถซื้อเป็นเจ้าของได้ ภาวะเช่นนี้เกิดในเมืองใหญ่ต่างๆ ทั่วโลก เพราะคนจีนมีตังค์ กว้านซื้อรัวๆ

                - ระวังผลกระทบที่รุนแรงจากฟองสบู่ตลาดอนุพันธ์ (Derivatives) ถ้าเกิดความเสียหายของคนส่วนใหญ่ทั้งระบบ (Massive Loss) จะพังหนัก จนคนส่วนใหญ่จ่ายผลขาดทุนให้ไม่ได้ ซึ่งอนุพันธ์ที่น่ากลัวที่สุด คือที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยที่มีขนาดใหญกว่า GDP โลกถึง 6 เท่า ให้ระวังการขึ้นของอัตราดอกเบี้ย คนจะแห่ใช้สิทธิ์ จนผู้ออกตราสารอนุพันธ์จ่ายผลตอบแทนให้ไม่ได้ ระบบเศรษฐกิจจะพัง เหมือนปี 2008 ที่ Lehman Brother ล้มละลาย ซึ่งภายใน 3 ปีนี้อาจจะยังไม่เจอ เพราะดอกเบี้ยยังเป็นวงจรขาลงอยู่

                (พรุ่งนี้ : มองเศรษฐกิจปีหน้าอีกหลายมิติ).

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"