ในยุคนี้ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนหลายธุรกิจ ต้องปรับตัวกันอย่างมาก รวมถึงด้านบุคลากรเองก็ต้องมีทักษะด้านดิจิทัลใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาด โดยมีผลสำรวจที่น่าสนใจจาก PwC เผยความกังวลระบบอัตโนมัติแย่งงาน พบมากที่สุดในกลุ่มคนที่ได้รับโอกาสในการยกระดับทักษะแรงงานน้อยมาให้ดูกันว่าตอนนี้สถานการณ์เป็นอย่างไร
วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานธุรกิจที่ปรึกษา บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยถึงรายงาน Upskilling Hopes and Fears ของ PwC ที่ทำการสำรวจแรงงานมากกว่า 22,000 รายใน 11 ประเทศทั่วโลก เพื่อวิเคราะห์ถึงผลกระทบของการเข้ามาของระบบอัตโนมัติต่อรูปแบบของงานและทักษะในอนาคต โดยผลการศึกษาพบว่า 53% ของแรงงานที่ถูกสำรวจเชื่อว่า ระบบอัตโนมัติจะเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบของงานอย่างมีนัยสำคัญ หรือทำให้งานที่ทำอยู่ล้าสมัยภายใน 10 ปีข้างหน้า
ในขณะที่ผู้ถูกสำรวจส่วนใหญ่ หรือ 61% มีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อการทำงานประจำวัน และ 77% ต้องการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ หรือฝึกฝนทักษะที่มีอยู่เพื่อปรับปรุงทักษะของตนเองให้มีความพร้อมต่อการจ้างงานในอนาคต อย่างไรก็ดี โอกาสและทัศนคติเกี่ยวกับประเด็นนี้มีความแตกต่างกันไปอย่างมีนัยสำคัญตามระดับการศึกษา ภูมิศาสตร์ เพศ และอายุของแต่ละคน
ผลกระทบของการศึกษา รายงานของ PwC พบว่า ผู้ถูกสำรวจที่จบการศึกษาระดับปริญญาเป็นกลุ่มคนที่มีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการจ้างงานในอนาคตมากที่สุด แม้จะเชื่อว่างานของพวกเขาที่ทำอยู่ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ หรืออาจถูกแทนที่
ในทางตรงกันข้าม มากกว่า 1 ใน 3 หรือ 34% ของแรงงานที่ไม่ได้รับการศึกษาหลังจากจบระดับมัธยม หรือไม่ได้รับการฝึกอบรมนอกหลักสูตร กล่าวว่า พวกเขาไม่ได้รับการเรียนรู้ทักษะทางด้านดิจิทัลใหม่ๆ เปรียบเทียบกับบัณฑิตที่จบการศึกษาในระดับวิทยาลัยที่ 17% โดยแรงงานที่ไม่ได้รับการศึกษาหรือการฝึกอบรมหลังจากจบระดับมัธยมศึกษากลุ่มนี้ ยังมีโอกาสน้อยกว่าที่จะได้รับการฝึกอบรมจากนายจ้างเช่นกัน และพวกเขายังมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่องานมากกว่า โดย 17% แสดงความกังวลหรือความกลัว
สำหรับกลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 18-34 ปีมีมุมมองในเชิงบวกเกี่ยวกับอนาคตของดิจิทัลมากกว่ากลุ่มคนในวัยอื่น พวกเขายังได้รับโอกาสในการฝึกอบรมมากกว่าด้วย เช่น 69% ของกลุ่มคนที่มีอายุระว่าง 18-34 ปีมีความรู้สึกเชิงบวกเกี่ยวกับผลกระทบในอนาคตของเทคโนโลยีที่มีต่องานของพวกเขา เปรียบเทียบกับ 59% ของกลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 35-54 ปี และ 50% ของผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป มีเพียง 18% ของผู้ที่มีอายุระหว่าง 18-34 ปีเท่านั้นที่กล่าวว่า ไม่ได้รับโอกาสในการได้เรียนรู้ทักษะทางด้านดิจิทัลใหม่ๆ
เมื่อเปรียบเทียบแรงงานในแต่ละประเทศ พบว่า แรงงานในสาธารณรัฐประชาชนจีนและอินเดียเป็นกลุ่มคนที่มีมุมมองเชิงบวกต่อผลกระทบของเทคโนโลยีมากที่สุด และแม้จะเชื่อว่างานของพวกเขาจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญมากก็ตาม แรงงานในภูมิภาคเหล่านี้ยังได้รับโอกาสในการยกระดับทักษะจากนายจ้างมากกว่าที่ 97% และ 95% ตามลำดับ ในทางกลับกันแรงงานในสหราชอาณาจักรและออสเตรเลียกล่าวว่า พวกเขาได้รับโอกาสน้อยที่สุดในการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ และมีมุมมองเชิงบวกต่อผลกระทบของเทคโนโลยีน้อยกว่า
วิไลพรกล่าวสรุปว่า การเข้ามาของระบบอัตโนมัติ เอไอ และเทคโนโลยีอื่นๆ ได้เริ่มส่งผลต่อรูปแบบการทำงานและแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยในอีก 10 ปีข้างหน้า จะยิ่งเห็นความต้องการทักษะในรูปแบบใหม่ๆ มีมากขึ้นไปอีก ดังนั้นเรื่องนี้ถือเป็นประเด็นที่สำคัญทั้งในระดับชาติและระดับผู้บริหาร อยากให้ภาครัฐ สถาบันการศึกษา และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องหันมาส่งเสริมการยกระดับทักษะให้แก่แรงงานโดยรวมของประเทศด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่แรงงานไทย และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของชาติที่กำลังมุ่งไปสู่ดิจิทัลมากขึ้น.
รุ่งนภา สารพิน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |