แฟ้มภาพ
23 พ.ย 62 - นายถวิล เปลี่ยนศรี สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) โพสต์โพสต์บุ๊กโดยมีเนื้อหาดังนี้
มติโดเรม่อน
สองสามวันมานี้ มีเรื่องเกิดขึ้นในกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ของสภาผู้แทนราษฎร ที่มีการเอาเรื่องที่ยังไม่เกิด มาทำเป็นมติ และหนังสือลงนามแจ้งล่วงหน้าเป็นตุเป็นตะ เหมือนว่าเกิดขึ้นแล้ว …. ใช่ครับผมกำลังพูดถึงหนังสือ ที่ประธานกรรมาธิการคณะนี้ ได้แต่งตั้งที่ปรึกษาประธาน แล้วมีผู้นำออกมาแสดงตั้งแต่วันที่ 18 พ.ย 62 โดยหนังสืออ้างมติเห็นชอบของที่ประชุมคณะกรรมาธิการฯ วันที่ 20 พ.ย 62 ซึ่งยังมาไม่ถึง
เรื่องนี้ แปลกดี และเป็นข่าวเกรียวกราว. ผู้ที่เกี่ยวก็ออกมาให้ข้อมูล. ตลอดจนวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางแล้ว แม้จะรู้สึกแหม่งๆ แต่ผมก็ขอเว้นไม่พูดถึงนะครับ แต่อยากจะพูดเรื่องคล้ายๆกันนี้ ที่เคยเกิดขึ้นกับผมมาแล้ว ซึ่งซับซ้อน และต่อยอดยิ่งกว่านี้… โดยเรื่องไปถึงศาลรัฐธรรมนูญมาเล่าให้ฟัง ประกอบกรณีที่เกิดขึ้น ครับ
เรื่องนี้ ต้องย้อนไปถึงปี 2554 เมื่อเดือนกันยายน ปีนั้น ที่ผมถูกย้ายโดยไม่เป็นธรรม. และผมไปฟ้องศาลปกครอง จนชนะได้ตำแหน่งคืน และต่อมาท่านสมาชิกวุฒิสภาหลายท่านในขณะนั้น ได้ไปยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย จนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีผู้ย้ายผม ต้องพ้นตำแหน่ง พร้อมรัฐมนตรีทั้งคณะที่มีมติ เรื่องทราบทั่วกันแล้ว
ในเอกสารประกอบการย้ายผมครั้งนั้น. เริ่มจากเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2554 เลขาธิการนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ทำหนังสือ 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งมีไปถึงรองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแล สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ หน่วยงานต้นสังกัดผม อีกฉบับมีไปถึงรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยที่จะรับโอน แม้จะรีบเร่งทำกันในวันอาทิตย์ แต่ก็เป็นไปตามวิธีการที่ราชการปฏิบัติกันอยู่ครับ แต่ที่ประหลาดจนผมต้องนำมาเล่าวันนี้อีกครั้ง ก็เพราะหนังสือที่ลงวันที่ 4 กันยายน วันเดียวกันนี้ ที่มีไปถึงรองนายกรัฐมนตรี เพื่อขอความเห็นชอบไม่ขัดข้องให้โอนผมไปนั้น ดันไปแจ้งว่ารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เห็นชอบพร้อมรับโอน
ทั้งๆที่ต่อมาปรากฏว่ารัฐมนตรี เพิ่งลงนามเห็นชอบเอาวันที่ 5 กันยายน รุ่งขึ้นอีกวัน ซึ่งในขั้นการพิจารณาของศาลปกครองนั้น เห็นว่าเรื่องนี้เป็นการปกปิด ข้อเท็จจริง หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ เพื่อประกอบการพิจารณา ไปยังรองนายกฯ ด้วยซ้ำ
หนังสือฉบับที่มีถึงรองนายกรัฐมนตรี ที่อ้างอิงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นฉบับนี้ ไปปรากฎอีกครั้ง เมื่อท่านสมาชิกวฺฒิสภาไปร้องศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยสถานภาพความเป็นนายกรัฐมนตรี ของนางสาวยิ่งลักษณ์ฯ ดังที่ผมกล่าวแล้ว ในชั้นนั้น ผมไปเป็นพยาน และมีการใช้หนังสือฉบับนี้อีก แต่ที่แปลกก็คือวันที่เคยลงไว้เดิม 4 กันยายน กลายเป็นวันที่ 5 กันยายน เสียแล้ว
ในการไต่สวนวันนั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านหนึ่ง ให้ผมดูสำเนาหนังสือ 2 ฉบับ ทั้งสองฉบับเป็นหนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีถึงรองนายกรัฐมนตรีเหมือนกัน เลขที่หนังสือเดียวกัน เนื้อหาและข้อความในหนังสือก็ตรงกันหมดทุกอย่าง แต่ทั้ง 2 ฉบับ ลงวันที่ไม่ตรงกัน ฉบับที่ผมนำส่งศาลนั้นลงวันที่ 4 กันยายน 2554 ส่วนฉบับที่ศาลรัฐธรรมนูญ เรียกจากนายกรัฐมนตรีนั้น ลงวันที่ 5 กันยายน 2554
ผมได้เรียนท่านไปว่า เมือหนังสือทั้งสองฉบับ ออกมาจากที่เดียวกัน เลขที่ตรงกัน และข้อความเหมือนกัน เเต่ลงวันที่ต่างกันเช่นนั้น แสดงว่าต้องมีฉบับหนึ่งปลอม หรือถูกแก้ไข ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าฉบับใดปลอมฉบับใดจริง แต่ฉบับที่ผมนำส่งศาลรัฐธรรมนูญนั้น ผมได้รับมาตั้งแต่หลังมืคำ
สั่งโอนย้ายผม เมื่อเดือนกันยายน 2554 ซึ่งผมก็ได้ใช้หนังสือฉบับลงวันที่ 4 กันยายน 2554 นี้ ส่งให้ กพค.และศาลปกครองเป็นพยานเอกสารมาตลอด
ข้อสังเกตเรื่งนี้ก็คือ ถ้าหนังสือลงวันที่ 5 กันยายน ตามฉบับที่เรียกจากนายกรัฐมนตรีภายหลัง. ข้อความในหนังสือที่อ้างว่ารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี. เห็นชอบ( 5 กันยายน ) ก็จะสอดคล้อง ต้องกันพอดี แต่ถ้าเป็นวันที่ 4 กันยายน ตามที่ผมใช้ส่งให้ทั้ง กพค. ศาลปกครอง มาแต่ต้น จนถึงศาลรัฐธรรมนูญ ข้อความที่อ้างว่ารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เห็นขอบ ก็เป็นเท็จ เพราะรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเพิ่งมาเกษียนเห็นชอบ 5 กันยายน
เรื่องการปลอมแปลงแก้ไข และใช้เอกสารปลอมในคดีผมนี้ ศาลรัฐธรรมนูญท่านให้บันทึกไว้นะครับ ที่มาเล่าให้ฟังนี่ ก็อยากจะบอกว่า การกระทำแบบสะเพร่า น่าหัวเราะนี้ มันเคยมีมาแล้วและเคยมีถึงขั้นพยายามไปแก้ไขกลบเกลื่อนภายหลัง แต่วิสัยคนทำผิด คิดไม่ซื่อ มันก็ทิ้งร่องรอยให้ผู้คนจับได้เสมอ เหมือนกรณีคดีผมไงครับ !!
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |