“ 3 วันเสร็จ 7 วันอยู่” รวมพลังชาวชุมชนสร้างบ้านสร้างแหล่งอาหารมั่นคงที่ชุมชนประมงแหลมสัก จ.กระบี่


เพิ่มเพื่อน    

ชุมชนแหลมสักตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำาบลแหลมสัก อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 60 กิโลเมตร ประกอบด้วย 3 ชุมชน ประชากรประมาณ 4,000 คน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีอาชีพทำาประมงพื้นบ้าน จับกุ้งแชบ๊วย ปูม้า แมงกะพรุน เลี้ยงปลาในกระชัง-กุ้งมังกร ทำาปลาแห้ง กะปิ เพาะสาหร่ายพวงองุ่น ฯลฯ ถือเป็นชุมชนชาวประมงพื้นบ้านที่มีแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่ง แต่เนื่องจากชุมชนแหลมสักทั้ง 3 หมู่บ้านตั้งอยู่ในที่ดินป่าชายเลน ไม่มีเอกสารสิทธิ์ครอบครองที่ดิน โดยมีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งดูแลพื้นที่ป่าชายเลน และที่ตั้งของชุมชนบางส่วนอยู่ในความดูแลของกรมเจ้าท่า ทำาให้ชุมชนชาวประมงแหลมสักขาดความมั่นคงในที่ดิน-ที่อยู่อาศัย เพราะถือเป็นชุมชนที่บุกรุกที่ดินของรัฐ แม้ว่าชาวบ้านจะตั้งบ้านเรือนและอยู่อาศัยกันมานานก่อนการประกาศเขตป่าสงวนฯ หรือป่าชายเลนก็ตาม !! ‘คทช.’ แก้ปัญหาที่ดินทำากิน-ที่อยู่อาศัยคนจนกรณีชุมชนแหลมสักสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยและที่ดินทำากินของประชาชนที่เรื้อรังมานาน โดยพื้นที่ของประเทศไทยมีทั้งหมดประมาณ 320 ล้านไร่ แยกเป็นที่ดินของรัฐประเภทต่างๆ (กรมป่าไม้, ราชพัสดุ ฯลฯ) ประมาณ 190 ล้านไร่ และที่ดินเอกชนที่มีเอกสารสิทธิ์ครอบครองประมาณ 130 ล้านไร่ แต่ที่ดินเอกชนเหล่านี้อยู่ในมือของคนส่วนน้อยเพียง 10 % ขณะที่คนส่วนใหญ่ 90 % ถือครองที่ดินโดยเฉลี่ยน้อยกว่ารายละ 1 ไร่ และจำานวนหลายแสนรายไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ต้องอยู่อาศัยและทำากินในที่ดินของรัฐข้อมูลจากคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแก้ไขปัญหาที่ดินทำากิน สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2553 ระบุว่า มีประชาชนอยู่อาศัยในที่ดินของรัฐประเภทต่างๆ ทั่วประเทศประมาณ 450,000 ราย เนื้อที่รวมประมาณ 6.4 ล้านไร่ มีปัญหาความไม่มั่นคงเรื่องที่ดินทำากินและที่อยู่อาศัย และมีไม่น้อยที่ต้องถูกจับกุมดำาเนินคดีในข้อหาบุกรุกที่ดินของรัฐอย่างไรก็ตาม ในยุครัฐบาล ‘คสช.’ ในช่วงปลายปี 2557 พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำาทางสังคม โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาที่ดินทำากินและที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนที่ยากไร้ โดยมีการแต่งตั้ง ‘คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ’ (คทช./ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) ขึ้นมา มีคณะกรรมการมา

 จากกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนงาน 4 คณะ คือ 1.คณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน 2.คณะอนุกรรมการจัดที่ดิน 3.คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ และ 4.คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัด (คทช.จังหวัด / มี ผวจ.เป็นประธาน) โดยมีนโยบายเร่งด่วน คือ “การจัดที่ดินให้ผู้ด้อยโอกาสอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม” ในลักษณะให้เข้าทำาประโยชน์ในที่ดินแต่ไม่ให้กรรมสิทธิ์ ครอบคลุมการแก้ไขที่ดินของรัฐประเภทต่างๆ เช่น ที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดิน ส.ป.ก. ที่ดินนิคมสหกรณ์ ที่ดินราชพัสดุ ที่ดินป่าชายเลน ฯลฯกรณีที่ดินป่าชายเลน นั้น คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ได้กำาหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตเข้าทำาประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตพื้นที่ป่าชายเลน หรือป่าชายเลนอนุรักษ์ โดยนำาพื้นที่ป่าชายเลนที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ หรือป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ที่มีการครอบครอง ทำาประโยชน์ต่อเนื่องก่อนวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 มาจัดระเบียบการถือครองให้ประชาชนที่อยู่อาศัย ทำากินอยู่เดิม และมีฐานะไม่ดี ไม่มีที่ดินทำากิน หรือมีน้อยไม่เพียงพอทำากิน โดยไม่ให้กรรมสิทธิ์ โดยให้คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัด (คทช.จังหวัด) สำารวจตรวจสอบและจัดทำาข้อมูลที่ดิน แผนที่ ขอบเขตที่ดินในพื้นที่ตรวจสอบและจัดทำาบัญชีรายชื่อผู้ครอบครองที่ดิน รายชื่อผู้ยากไร้ที่ไม่มีที่ดินทำากินและที่อยู่อาศัย และจัดทำาแผนปฏิบัติการการจัดที่ดิน ฯลฯ หลังจากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ จะเป็นผู้ขออนุญาตให้มีการเข้าทำาประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตพื้นที่ป่าชายเลน หรือป่าชายเลนอนุรักษ์ดังกล่าวต่อทางอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (โดยการอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ทำาให้ประชาชนที่อยู่อาศัยในที่ดินป่าชายเลนมาก่อนปี 2534 สามารถอยู่อาศัยได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ต้องกลัวว่าจะโดนขับไล่หรือถูกจับกุมดำาเนินคดีอีกต่อไปบ้านมั่นคงในที่ดินป่าชายเลนขณะเดียวกัน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ ซึ่งมีบทบาทในการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยทั่วประเทศ ตาม ‘แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี’ (พ.ศ.2560-2579) ได้สนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในชุมชนป่าชายเลนต่างๆ ทั่วประเทศด้วย

 ปฏิภาณ จุมผา ผู้อำานวยการสำานักงานภาคใต้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ เล่าว่า ชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตป่าชายเลน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นชุมชนประมงพื้นบ้านดั้งเดิมที่ปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยกันมานานตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ บางชุมชนมีอายุมากกว่า 100 ปี สภาพบ้านเรือนส่วนใหญ่ทรุดโทรมผุพังเพราะปลูกสร้างมานาน แต่ไม่ได้ซ่อมแซมหรือปรับปรุงบ้านเรือนให้มั่นคงแข็งแรง เพราะติดขัดข้อกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากทางราชการถือว่าเป็นชุมชนบุกรุก จึงห้ามไม่ให้ปรับปรุงซ่อมแซมต่อเติมบ้านเพราะกลัวว่าจะมีการขยายพื้นที่บุกรุกเพิ่มเติม“เมื่อคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) มีนโยบายให้ชุมชนในพื้นที่ป่าชายเลนซึ่งเป็นชุมชนดั้งเดิมอยู่อาศัยมาก่อนปี 2534 ได้ขออนุญาตอยู่อาศัยได้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ จึงมีโครงการสนับสนุนการซ่อมสร้างบ้านเรือนในพื้นที่ป่าชายเลนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชุมชนชาวประมงพื้นบ้านให้มีความมั่นคงแข็งแรง มีความปลอดภัยในการอยู่อาศัย รวมทั้งจะส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต และส่งเสริมให้ชุมชนได้ร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำาและชายฝั่งด้วย” ปฏิภาณบอกถึงบทบาทของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯทั้งนี้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ พอช. เริ่มสนับสนุนการซ่อมสร้างบ้านเรือนชุมชนชาวประมงพื้นบ้านตั้งแต่ปี 2561 ที่ผ่านมา ตามโครงการ ‘บ้านมั่นคงชนบท’ โดยในพื้นที่ภาคใต้ขณะนี้ดำาเนินโครงการบ้านมั่นคงชนบทแล้ว รวม 56 ชุมชน จำานวน 6,445 ครัวเรือน ในพื้นที่ 9 จังหวัด คือ สตูล ตรัง กระบี่ พังงา ระนอง ภูเก็ต นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และปัตตานี นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ภาคกลางและตะวันตก บริเวณพื้นที่อ่าว ก ไก่ คือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร จำานวน 616 ครัวเรือน โดย พอช.จะสนับสนุนงบประมาณการซ่อมสร้างบ้านครัวเรือนหนึ่งไม่เกิน 40,000 บาท งบสาธารณูปโภคส่วนกลาง เช่น ถนน ทางเดินเท้า ระบบประปา ไฟฟ้า ฯลฯ และงบบริหารจัดการ รวมครัวเรือนละ 22,000 บาท ส่วนการซ่อมแซมหรือปรับปรุงบ้านชุมชนจะร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อดำาเนินการเอง โดยชาวบ้านจะช่วยกันลงแรง นอกจากนี้ยังมีช่างชุมชนจิตอาสาจากจังหวัดต่างๆ มาช่วยซ่อมสร้าง ทำาให้ประหยัดงบประมาณด้านช่างและแรงงานไปได้ไม่น้อย และทำาให้การซ่อมสร้างรวดเร็วขึ้น จนมีคำาพูดในหมู่ชาวบ้านว่า

“3 วันเสร็จ 7 วัน (เข้า) อยู่” ชาวแหลมสักรวมพลังซ่อมสร้างบ้าน “3 วันเสร็จ 7 วันอยู่”ชุมชนชาวประมงพื้นบ้านในเขตเทศบาลตำาบลแหลมสัก อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ มี 3 ชุมชน คือ ชุมชนทรายทอง ชุมชนแหลมทอง และชุมชนทับตะวัน เข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคงชนบทที่สนับสนุนโดย พอช. หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ หรือ คทช. มีนโยบายแก้ไขปัญหาที่ดินทำากิน-ที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนที่มีความเดือดร้อนทั่วประเทศ โดย พอช.เข้ามาสนับสนุนให้ชาวชุมชนรวมกลุ่มกันแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยตั้งแต่ปี 2559 มีการแต่งตั้งคณะทำางานที่มาจากชาวบ้าน เริ่มจากการสำารวจข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ในชุมชนจากการสำารวจข้อมูลพบว่า มีผู้เดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยทั้งหมด 427 ครัวเรือน แยกเป็น อยู่ในเขตที่ดินป่าชายเลน 358 ครัวเรือน อยู่ในเขตที่ดินของกรมเจ้าท่า 65 ครัวเรือน และอยู่ในที่ดินเอกชน 4 ครัวเรือน ที่อยู่อาศัยมีสภาพแออัด ชำารุดทรุดโทรม นอกจากนั้นยังมีสภาพปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม ปัญหาขยะ น้ำาเสีย ไม่มีระบบการบำาบัดจากครัวเรือน ปัญหาเรื่องสาธารณูปโภค เช่น ถนน สะพานชำารุด ฯลฯ ก้อเฉม ดีเดช ผู้นำาชุมชนแหลมทอง บอกว่า ครอบครัวของตนอยู่อาศัยที่นี่มาตั้งแต่รุ่นปู่ มีอาชีพทำาประมงพื้นบ้านมาตลอด ตัวเองก็เกิดที่นี่ ตอนนี้อายุ 60 ปีแล้ว หากนับถึงรุ่นปู่ครอบครัวของตนคงจะอยู่กันมานานไม่ต่ำากว่า 100 ปี บ้านเรือนก็ผุพังทรุดโทรม บางครอบครัวมีลูกมีหลานจะขยายต่อเติมบ้านใหม่ก็ไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่บอกว่าผิดกฎหมาย เป็นที่ดินบุกรุก แต่เมื่อทางรัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัย ทำาให้ชาวบ้านมีความสบายใจ เพราะจะได้อยู่อย่างถูกต้อง ชาวบ้านสามารถซ่อมแซมบ้าน หรือสร้างบ้านใหม่ได้ จึงเข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคงชนบทของ พอช. โดย พอช.สนับสนุนงบประมาณหลังละ 40,000 บาท ไม่รวมงบสาธารณูปโภค หากเกินงบประมาณครอบครัวก็จะต้องออกเงินเอง

 นอกจากนี้เงินที่ พอช.สนับสนุนครัวเรือนละ 40,000 บาท ชาวชุมชนตกลงกันว่า จะให้ครอบครัวที่ได้รับการช่วยเหลือชำาระเงินคืนเพื่อนำาเงินมาเข้ากองทุนที่อยู่อาศัย เพื่อให้กองทุนเกิดความยั่งยืน สามารถช่วยเหลือคนที่เดือดร้อนรายอื่นได้ โดยให้ชำาระคืนเดือนละ 100 บาทต่อจำานวนเงิน 10,000 บาท เช่น หากได้รับการสนับสนุน 40,000 บาท จะต้องคืนเงินเข้ากองทุนเดือนละ 400 บาท จนกว่าจะครบตามจำานวนเงินที่ได้รับการสนับสนุน

 “ส่วนการซ่อมสร้างบ้านนั้น ชาวบ้านจะใช้วิธีการลงแรงช่วยกัน หลังหนึ่งจะมีคนมาช่วยกัน 6-7 คน ถ้าซ่อมบ้าน เช่น เปลี่ยนไม้ปูพื้น ซ่อมฝาบ้าน หรือซ่อมหลังคา จะใช้เวลาไม่เกิน 3 วันก็เสร็จ ถ้าบ้านผุพังแล้วก็ต้องรื้อเพื่อสร้างใหม่ ใช้เสาคอนกรีตสำาเร็จรูปเพื่อให้สร้างได้ไว คนที่เป็นช่างก่อสร้างก็จะมาช่วยสร้าง หรือคิดค่าแรงถูกๆ คนอื่นๆ ก็ช่วยกัน บางคนทำาอะไรไม่เป็นก็มาช่วยแบกไม้ แบกของ เจ้าของบ้านก็จะเอาน้ำา เอาข้าวมาเลี้ยง นอกจากนี้ยังมีช่างอาสาที่เป็นช่างชุมชนจากจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ที่หมุนเวียนมาช่วยกันสร้างบ้านประมาณ 50 คน ทำาให้สร้างบ้านได้ไว ไม่เกิน 7 วัน หรือ 10 วันก็เสร็จ เข้าอยู่ได้” ผู้นำาชุมชนแหลมทองบอกถึงกระบวนการซ่อมสร้างบ้านและที่มาของคำาว่า “3 วันเสร็จ 7 วันอยู่”

 อย่างไรก็ตาม นอกจากการสนับสนุนงบประมาณของ พอช.แล้ว ชาวชุมชนที่เข้าร่วมโครงการยังได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์และจัดตั้งกองทุนที่อยู่อาศัยขึ้นมาด้วย เริ่มในเดือนเมษายน 2561 โดยชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการจะต้องออมเงินเข้ากลุ่มออมทรัพย์เดือนละ 170 บาท แยกเป็น ออมเพื่อสวัสดิการช่วยเหลือสมาชิก (เกิด เจ็บป่วย ตาย หรือตามข้อตกลง) เดือนละ 30 บาท ออมสัจจะ 30 บาท ออมเข้ากองทุนรักษาดินรักษาบ้าน (ช่วยเหลือสมาชิกที่มีภาระในการผ่อนชำาระ ไม่มีรายได้ เสียชีวิต ฯลฯ) เดือนละ 20 บาท และออมเพื่อที่อยู่อาศัยเดือนละ 90 บาท

 ปัจจุบัน (พฤศจิกายน 2562) พอช.ได้สนับสนุนการซ่อมสร้างบ้านในชุมชนชาวประมงแหลมสัก 3 ชุมชน รวม 390 ครัวเรือน งบประมาณรวม 16 ล้านบาทเศษ ซ่อมสร้างบ้านเสร็จแล้วจำานวน 183 ครัวเรือน อยู่ระหว่างดำาเนินการ 34 ครัวเรือน ขณะที่ชาวชุมชนที่รวมกลุ่มกันจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์และกองทุนเพื่อที่อยู่อาศัยมีเงินออมรวมกัน (3 ชุมชน) ประมาณ 443,000 บาท

 นอกจากนี้ชาวชุมชนยังร่วมกันสร้างบ้านให้ผู้ด้อยโอกาสในชุมชน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ไม่มีรายได้ ไม่มีลูกหลานดูแล งบประมาณสร้างบ้านหลังละ 40,000-60,000 บาท โดยชาวชุมชนจะช่วยกันลงแรงก่อสร้างบ้าน ใช้งบประมาณจากโครงการบ้านมั่นคงชนบทที่ พอช.สนับสนุน ขณะนี้สร้างบ้านให้ผู้ด้อยโอกาสในชุมชนแล้ว 6 หลัง

 จัดงานมหกรรม ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ ภาคใต้ที่แหลมสัก ขยายผลแก้ไขปัญหาที่ดินป่าชายเลน-กรมเจ้าท่าทั่วประเทศ

 องค์การสหประชาชาติกำาหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันที่อยู่อาศัยโลกเพื่อให้ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำาคัญกับการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของประชาชน โดยในปีนี้วันที่อยู่อาศัยโลกตรงกับวันที่ 7 ตุลาคม สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ ‘พอช.’ ร่วมกับเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนทั่วประเทศจัดกิจกรรมเนื่องในวันที่อยู่อาศัยโลกขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ตลอดเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้ เพื่อรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนให้ความสำาคัญกับการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของประชาชนที่มีรายได้น้อย และร่วมกันแก้ไขปัญหา โดยจัดกิจกรรมที่กรุงเทพฯ ขอนแก่น เชียงราย เพชรบุรี สระแก้ว และภาคใต้ที่จังหวัดกระบี

 

 ปฏิภาณ จุมผา ผู้อำานวยการสำานักงานภาคใต้ พอช. บอกว่า จากการแก้ไขปัญหาที่ดินและที่อยู่อาศัยของพี่น้องชุมชนชาวประมงแหลมสักในขณะนี้ รวมทั้งในพื้นที่อื่นๆ ในภาคใต้ 9 จังหวัด รวม 56 ชุมชน ทำาให้เกิดพื้นที่รูปธรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัยในพื้นที่ป่าชายเลนและพื้นที่ของกรมเจ้าท่า ขบวนเครือข่ายองค์กรชุมชนในภาคใต้จึงร่วมกับ พอช.จัดงาน ‘มหกรรมวันที่อยู่อาศัยโลกภาคใต้ ปี 2562’ ในวันที่ 25 พฤศจิกายนนี้ ที่ชุมชนทับตะวัน เทศบาลตำาบลแหลมสัก อ.อ่าวลึก จ.กระบ

 

 

 โดยจะมีรองนายกรัฐมนตรี จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติเป็นประธานพิธีในงานดังกล่าว โดยรองนายกฯ จะมอบงบประมาณโครงการบ้านมั่นคงชนบท เทศบาลตำาบลแหลมสัก จำานวน 390 ครัวเรือน งบประมาณ 16 ล้านบาทเศษ และมอบบ้านพอเพียงชนบทภาคใต้ ปี 2562 จำานวน 2,203 ครัวเรือน

 

 นอกจากนี้ภายในงานจะมีกิจกรรมต่างๆ เช่น  นิทรรศการกระบวนการทำางานของเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดกระบี่ ปฏิบัติการลงมือ “สร้างบ้าน สร้างชุมชน 3 วันเสร็จ 7 วันอยู่” เวทีเสวนา “สร้างบ้าน สร้างชุมชน โดยทุกคนร่วมกันสร้าง” ตลาดนัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจำาหน่ายและจัดแสดงผลิตภัณฑ์สินค้าจากชุมชน ฯลฯ

 ทั้งนี้การจัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกที่ชุมชนชาวประมงแหลมสักในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อเปิดพื้นที่ต่อสาธารณะ และแสดงรูปธรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัยของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ป่าชายเลนและกรมเจ้าท่า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหา และสร้างความมั่นคงในเรื่องที่ดินที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนตามนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำาของรัฐบาล โดยมีเป้าหมาย ‘การจัดที่ดินให้ผู้ด้อยโอกาสอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม’

 “การแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัยที่ชุมชนประมงแหลมสักจะเป็นตัวอย่างของความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนหน่วยงานในท้องถิ่น ทั้งระดับจังหวัดและเทศบาล รวมทั้งบทบาทของ พอช. และขบวนองค์กรชุมชน ที่ได้ร่วมกันสร้างความมั่นคงในที่ดินทำากินและการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการดูแลอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของรัฐบาลที่จะทำาให้คนไทยทุกคนมีที่อยู่อาศัยถ้วนทั่วและมีคุณภาพชีวิตที่ดีภายในปี 2579 โดย พอช.จะร่วมกับหน่วยงานต่างๆ และพี่น้องขบวนองค์กรชุมชนขยายผลไปสู่การแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศต่อไป” ผู้อำานวยการสำานักงานใต้ พอช.กล่าวทิ้งท้าย 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"