“รมว.ศธ.” มอบ นโยบาย ผู้บริหาร สอศ.ต้องทำหน้าที่สร้างทักษะฝีมือแรงงาน ตอบโจทย์ 7ประการ


เพิ่มเพื่อน    

22พ.ย.62-ที่วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี - สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดการประชุมสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สอศ. เพื่อขับเคลื่อนการอาชีวศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 โดยมีนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธาน พร้อมมอบนโยบาย เรื่อง “การอาชีวศึกษากับการพัฒนาประเทศ” ตอนหนึ่งว่า ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้ความสำคัญกับอาชีวศึกษามากกว่าหน่วยงานอื่นๆ เพราะ อาชีวศึกษาเป็นการศึกษาที่เชื่อมต่อกับการทำงาน ซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นวิกฤต เพราะรัฐบาลวางนโยบายชัดเจนว่าจะผลักดันประเทศอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อที่ไทยจะเป็นหนึ่งผู้เล่นสำคัญในเวทีโลก และมีโอกาสสร้างการลงทุนในประเทศให้เพิ่มขึ้น แต่ปัจจุบันเราไม่แรงงานฝีมือที่จะตอบโจทย์ความต้องการของประเทศได้ ดังนั้น สอศ.จะต้องทำหน้าที่สร้างทักษะฝีมือแรงงานของประเทศ เพราะตอนนี้ต้องขอพูดตรงๆ ว่า การเตรียมผลิตบุคลากรของแต่ละหน่วยงาน ยังไม่เพียงพอ ซึ่งเรายังพอมีเวลาเตรียมในช่วง 2-3 ปีนี้ โดยสิ่งที่สำคัญคือ การเปลี่ยนวิธีการทำงาน วิธีการคิดใหม่ ทุกอย่างที่ผู้บริหารวิทยาลัยจะพูด จะคิด หรือจะลงมือทำอะไร ตนขอให้คิดถึงเด็กอาชีวะเป็นที่ตั้ง

นายณัฏฐพล กล่าวต่อว่าในเรื่องของการพัฒนาอาชีวศึกษาให้ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน ใน 7 ประเด็นหลัก คือ 1. ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)  2. คุณภาพการจัดการเรียนการสอนภายใต้ความร่วมมือกับสถานประกอบการ ยกระดับการจัดการศึกษาในระบบทวิภาคี 3.เร่งยกระดับความสามารถทางภาษา พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบเข้มข้น 4.ส่งเสริมการเรียนรู้ การใช้ดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5.ความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อยกระดับอาชีวะมาตรฐานสากล อาทิ เยอรมัน ออสเตรีย จีน เกาหลี ญี่ปุ่น 6.การผลิตและพัฒนากำลังคนให้เพียงพอต่อความต้องการของสถานประกอบการ และต่อยอดทักษะอาชีพ หรือเสริมทักษะอาชีพ ในสาขาขาดแคลน และ 7.การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง สำหรับสิ่งที่สำคัญในการพลิกการเรียนอาชีวศึกษาไทย สิ่งแรกตนมองว่า ต้องสร้างความร่วมมือระหว่าง สอศ.และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อให้เห็นแนวทางที่ชัดเจนว่า อาชีวศึกษาเป็นทางเลือกที่สำคัญของประเทศไทย เพราะด้วยการเจริญเติบโตของประเทศความต้องการผู้ที่จบในสายอาชีพก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และจะต้องมีคุณภาพที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลกด้วย ดังนั้นการพลิกประเทศไทยได้ เราจำเป็นต้องยกระดับอาชีวะทั้งประเทศ

“สำหรับศูนย์การเรียนรู้ หรือ Excellent Center เป็นการนำทรัพยากรมาวางในพื้นที่ที่สามารถลงทุนตามกลุ่มธุรกิจต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม เพราะศูนย์นี้จะฝึกทักษะทางอาชีพจริงด้วย ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเวลาสอนงานเด็กอาชีวะใหม่ทั้งหมด โดยเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับการปรับการเรียนการสอน ว่า เมื่อเด็กได้มีการฝึกในศูนย์ Excellent Center หลักสูตรในวิทยาลัยจะสอนเรื่องอะไร ทั้งนี้หากเราสามารถบริหารจัดการต้องนี้ได้ สอศ.จะสามารถครอบคลุมกลุ่มธุรกิจทุกธุรกิจที่จะมาเป็นหลักในการขับเคลื่อนประเทศได้ โดยบางธุรกิจยังไม่มีการจัดการเรียนการสอนด้วย เช่น ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น ผมมั่นใจว่าอาชีวะสามารถตอบสนองความต้องการของทุกตลาดและทุกธุรกิจได้”รมว.ศธ.กล่าว
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"