สสส.หนุนพัฒนา“สื่อใจวัยรุ่น”EMPOWERING Deaf Women


เพิ่มเพื่อน    

EMPOWERING Deaf  Women สสส. หนุนพัฒนา “สื่อใจวัยรุ่น” จัดทำ 4 คลิปวิดีโอภาษามือ “พี่น้ำหวาน” พรีเซนเตอร์ล่ามหูหนวก สร้างความรู้สุขภาวะทางเพศเด็กหญิงหูหนวก สำรวจพบความเชื่อผิดๆ กินยาคุมมากจะเป็นบ้า มีเซ็กซ์กับเพศเดียวกันไม่ติดโรค ส่งผลมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ปลอดภัย เสี่ยงถูกเอาเปรียบ ถูกล่วงละเมิดทางเพศ พิธีมอบโล่เกียรติคุณแก่หน่วยงาน สถาบันการศึกษาที่เป็นต้นแบบช่วยเหลือผู้หญิงพิการ วัชรินทร์ ชาลี (พี่ต้น) พิธีกรชายหูพิการสถานีช่อง 10 รัฐสภา ขวัญใจสื่อใจวัยรุ่น มีส่วนร่วมเริ่มต้นโครงการ  

               

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ บริษัท อินคลูซีฟ คอมมูนิเคชัน จำกัด ตัวแทนจากสำนักงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โรงเรียน วิทยาลัยอาชีวะเอกชน ร่วมเวทีสรุปบทเรียนโครงการพัฒนารูปแบบและกระบวนการในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาวะทางเพศสำหรับผู้หญิงพิการ ภายในงานมีพิธีมอบโล่เกียรติคุณแก่หน่วยงานและสถาบันการศึกษาต้นแบบด้านการพัฒนาสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาวะทางเพศสำหรับผู้หญิงพิการ

               

โครงการพัฒนารูปแบบและกระบวนการในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาวะทางเพศสำหรับผู้หญิงพิการ เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ต้นปี 2561-ต.ค.2562 โดยการสนับสนุนจากสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการโดย บ.อินคลูซีฟ คอมมูนิเคชัน จำกัด มีประสบการณ์ทำสื่อสำหรับคนหูหนวก ในสถานีโทรทัศน์หลายสถานีชื่อ Thaideaf TV เพื่อบ่มเพาะแกนนำเด็กหญิงหูหนวก แกนนำผู้ใหญ่ ครู ล่ามภาษามือที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาวะทางเพศ เกิดเครือข่ายการทำงาน และผลิตสื่อให้ความรู้เรื่องสุขภาพทางเพศด้วยภาษามือเต็มจอ พร้อมคู่มือการใช้งานเพื่อนำไปขยายผลต่อยอดและเผยแพร่ให้เด็กพิการหูหนวกทั่วประเทศ

               

สถิติผู้หญิงพิการทางการได้ยินจำนวน 187,662 คน ในฐานะที่เป็นผู้หญิงมีความซับซ้อน ขาดโอกาส มีความเปราะบางที่จะถูกล่วงละเมิดทางเพศ ปัญหาล่ามภาษามือที่จะสื่อสารให้กับกลุ่มผู้หญิงพิการทางการได้ยินและอยู่ไกลถึงชายขอบมีจำนวนน้อย ดังนั้นจำเป็นต้องมีการสื่อสาร “สื่อใจวัยรุ่น” มีพี่น้ำหวานเป็นพรีเซนเตอร์ ผลิตสื่อดิจิทัลทีวีโดย DPU มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เพื่อความเข้าใจอย่างง่ายๆ

 

               

ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. กล่าวว่า การถอดบทเรียนสุขภาวะผู้หญิงพิการ สสส.พร้อมหนุนเสริมเพื่อให้การผลิตสื่อเข้าถึงคนพิการเรียนรู้ เพื่อหญิงพิการจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี 1.บริการเข้าถึงสุขภาพ นวัตกรรมการเข้าถึงคนพิการ 2.การมีงานทำ มุ่งเน้นการทำงานกับชุมชนในทุกมิติ ทั้งกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ 3.การศึกษา 4.การมีส่วนร่วมทางสังคม ทันตกรรมสำหรับหญิงพิการทางการได้ยิน

การทำงานกับคนพิการเป็นเรื่องยาก การจ้างงานคนพิการในสถานประกอบการ พนักงาน 100 คนจะต้องมีคนพิการ 1 คน สถานประกอบการบางแห่งเลือกที่จะส่งเงินเข้ากองทุนฯ โดยไม่จ้างคนพิการ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดวัตถุประสงค์ เพราะการที่ให้จ้างผู้พิการเป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สสส.เห็นข้อจำกัดถ้าคนพิการทำงานได้ไม่เต็มที่ ต้องพึ่งพิงคนอื่น เป็นการลดศักดิ์ศรีของตัวเอง จึงต้องมีการส่งเสริมมาตรการทางสังคม ให้คนพิการได้ทำงานใกล้บ้านทั่วทั้งประเทศ ขณะเดียวกันก็ต้องเตรียมความพร้อมคนพิการในการเข้าทำงาน เติมเต็มช่องว่างเพื่อให้คนพิการได้ทำงาน ลดจำนวนเงินที่จะส่งเข้ากองทุนฯ เพื่อคนพิการมีงานทำ

               

“สสส.หนุนฟันเฟืององค์กรใหญ่ๆ มีส่วนร่วมในสังคม สร้างพื้นที่ให้คนพิการได้อยู่ร่วมกัน มีพื้นฐานการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การผูกเชือกรองเท้าให้กับคนพิการได้เรียนรู้ของจริงมากกว่าในตำรา เพื่อจะได้เรียนรู้และเป็นเพื่อนกัน การช่วยเหลือคนตาบอดทำอาหารได้อร่อย ส่งเสริมให้เขามีทักษะและมีประสบการณ์อย่างมืออาชีพด้วย นวัตกรรมการดูหนังผ่าน App ทำให้ทุกคนมีความสุขได้ แม้แต่คนตาบอดก็ใช้จินตนาการจากการฟังเสียง มีข้าวโพดป๊อปคอร์น เป็นการปรับสภาพแวดล้อมให้กับทุกคน”

               

จากการสำรวจความคิดเห็นเรื่องเพศของนักเรียนหญิงหูหนวกมัธยมปลาย รร.โสตศึกษาชลบุรี โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ แบบ focus group จำนวน 24 คน และกระบวนการอบรมแกนนำนักเรียนจาก 4 สถาบันการศึกษา รร.โสตศึกษาชลบุรี วิทยาลัยเทคนิคบางแสน โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ วิทยาลัยดอนบอสโก พบว่าเด็กหูหนวกกว่าครึ่งมีมุมมองต่อตนเองที่ไม่ค่อยดี รู้สึกอับอายที่ต้องใช้ภาษามือสื่อสาร กลัวคนอื่นจะมองหรือพูดถึงตนเองในทางที่ไม่ดี กลุ่มเสี่ยงทั้งหญิงชายที่เป็นใบ้จะถูกละเมิดสิทธิ์ทางเพศในกรุงเทพฯ ชลบุรี จัดได้ว่ามีปัญหาความเสี่ยงสูง เพราะเมื่อเกิดเรื่องขึ้นมาจะไปโวยวายฟ้องร้องใครก็ไม่ได้

 

               

เรื่องของสุขภาวะทางเพศ กรอบความคิดเรื่องเพศของเด็กหูหนวกมีข้อจำกัด มองว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องน่าอาย เด็กหูหนวกมีความรู้เรื่องเพศอยู่บ้าง แต่เป็นความรู้แบบรู้ไม่ครบ รู้คลาดเคลื่อน เชื่อว่าหากรับประทานยาคุมกำเนิดมากจนเกินไปจะทำให้เป็นบ้า หรือเชื่อว่านั่งติดกับคนมีเชื้อ HIV เอดส์ จะทำให้ติดเอดส์ได้ เชื่อว่าการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันจะไม่ทำให้ติดโรคเอดส์ อีกทั้งยังมีข้อจำกัดทางการได้ยิน ทำให้เด็กหูหนวกเข้าไม่ถึงแหล่งข้อมูลเรื่องเพศเชิงบวก ขาดประสบการณ์และข้อมูลเรื่องเพศที่ถูกต้อง เข้าไม่ถึงบริการสุขภาพทางเพศ เสี่ยงต่อการถูกเอาเปรียบและล่วงละเมิดทางเพศ

               

การสำรวจน้องๆ ที่หูหนวกยังขาดความรู้เท่าทันสื่อ โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ ทำให้มีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ปลอดภัย เด็กเกือบทุกคนมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน บางครั้งมีเพศสัมพันธ์แบบไม่พร้อม การหลั่งภายนอก ไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย ด้วยเหตุผลเพราะมีความเชื่อใจคนรัก หรือบางครั้งไม่ได้เตรียมไว้ หรือคนรักไม่ชอบใส่ถุงยางอนามัย ช่องทางการสื่อสารสร้างความรอบรู้ที่มีประสิทธิภาพที่เด็กหูหนวกให้ความสนใจ ไม่ใช่เป็นเรื่องของหนังสือ แผ่นพับ หรือคู่มือ แต่เป็นสื่อวิดีโอภาษามือ รองลงมาคือเพื่อนหูหนวก พ่อแม่ และคนหูดีที่ให้คำปรึกษาได้

               

สสส.จึงสนับสนุนการดำเนินงานโครงการพัฒนารูปแบบและกระบวนการในการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาวะทางเพศสำหรับผู้หญิงพิการ เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการสร้างความรอบรู้ในการส่งเสริมสุขภาวะทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ให้เด็กหญิงหูหนวก โดยการมีส่วนร่วมของแกนนำนักเรียน แกนนำผู้ปกครอง ล่ามภาษามือ และสถานศึกษาต่างๆ

               

ข้อมูลที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับวัยรุ่นตั้งครรภ์ 1 ล้านคนในช่วง 10 ปี เป็นตัวเลขสูงมาก ครอบครัววัยรุ่นจะเป็นอย่างไรหลังการคลอด มีปัญหาที่จะต้องเยียวยา แก้ไข พฤติกรรมการติดเชื้อทางเพศ ยิ่งมีข้อจำกัดพิเศษที่เป็นผู้หญิงพิการ การใช้ข้อมูลสื่อสารทำความเข้าใจเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ความเสี่ยงที่จะถูกกระทำรุนแรง สิ่งเหล่านี้เป็นบทเรียนสำคัญที่ สสส.เรียนรู้และพัฒนางานต่อยอดเป็นเครือข่ายที่เป็นมิตรต่อผู้หญิงพิการด้วย

               

“เด็กกลุ่มนี้มีข้อจำกัดในการสื่อสาร การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เมื่อมีการสัมผัสกันเป็นเหตุให้มีเพศสัมพันธ์ จะต้องมีการให้คำแนะนำว่าต้องควบคุมอารมณ์ มีการยับยั้งชั่งใจ รู้จักการปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์เมื่อไม่พร้อม หรือถ้าจะมีเพศสัมพันธ์ต้องป้องกันไม่ให้ท้อง การใช้ถุงยางอนามัย หรือการกินยาคุมกำเนิด เพราะถ้าท้องในวัยเรียนยังมีปัญหาอีกมากมาย การทำงานเชิงลึกออกแบบเพื่อตอบโจทย์ มีการวัดผล การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยจะเป็นอย่างไร การคุมกำเนิดที่เข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสาร จึงต้องทำหน้าที่ไขข้อข้องใจ มีความเชื่อที่ถูกต้อง โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่ามีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันจะไม่ติดเชื้อ HIV เอดส์”

               

เด็กทั่วไปอยากรู้เรื่องเพศก็จะค้นหาข้อมูลในกูเกิล หรือซักถามจากเพื่อนฝูง ครูก็ไม่กล้าพูด ต่างก็เขินอายทั้งครูและนักเรียน พ่อแม่ที่มีลูกพิการทางการได้ยินก็ใช้วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยการพาลูกไปทำหมัน เพราะยิ่งเด็กผู้หญิงพิการทางการได้ยิน โอกาสถูกหลอกง่ายกว่าเด็กผู้หญิงปกติ เมื่อเกิดเรื่องคุกคามทางเพศเด็กผู้หญิงที่เป็นใบ้ก็ไม่สามารถแจ้งความได้ เด็กกลุ่มนี้ถูกละเมิดสิทธิมากมาย โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงที่เป็นใบ้ โอกาสที่จะถูกละเมิดสิทธิในหลายๆ เรื่อง

               

วัชรินทร์ ชาลี (พี่ต้น) พิธีกรชายหูพิการสถานีช่อง 10 รัฐสภา ขวัญใจสื่อใจวัยรุ่น ทำหน้าที่ล่ามภาษามือบนเวที นำเชิญตัวแทนหน่วยงาน คณาธิป ไพรพิบูลยกิจ (ครูเก้า) รร.โสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ กชพร คงสุข ครูวิทยาลัยเทคนิคบางแสน ตัวแทนครูโรงเรียนโสตศึกษาชลบุรี ตัวแทนครูวิทยาลัยดอนบอสโก.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"