นักวิชาการนิด้าไขข้อข้องใจทำไม'วีลัค-มีเดีย'เป็นบริษัทสื่อ


เพิ่มเพื่อน    

21 พ.ย.62-  ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์การ  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)  NIDA โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Warat Karuchit ว่า

"บริษัทสื่อ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ควรมีลักษณะเช่นใด" ในความเห็นของนักวิชาการสื่อ

สิ่งหนึ่งจากคดีถือหุ้นสื่อ ที่ผมเห็นว่าสมควรแก้ไข ก็คือการตีความว่า "บริษัทสื่อ" คืออะไร ควรต้องนิยามให้ชัดเจนถึงองค์ประกอบว่าต้องมีลักษณะอย่างไรบ้าง เช่นเดียวกับที่กำหนดลักษณะต้องห้ามของ สส. /รมต.

ในความเห็นผมคือ ต้องมีการทำธุรกิจ (คือมีรายได้หรือมีธุรกรรม) ในการสื่อสารไปสู่สาธารณะ และ/หรือ มีการจดทะเบียนเพื่อจุดประสงค์ในการทำสื่อเป็นหลักกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นการพิมพ์ การทำโทรทัศน์ สื่อดิจิทัลต่างๆ

ถ้าเป็นบริษัทที่เป็นสื่อจริงๆ เช่นไทยรัฐ เดลินิวส์ ช่อง 3 อะไรแบบนี้ ตีความไม่ยาก แต่หลายครั้งในการสื่อสารต่อสาธารณะนั้น ไม่ได้มาจากบริษัทนั้นโดยตรง บางทีมีสายการผลิตด้วย เอาง่ายๆเป็นสามส่วน คือตัวบริษัทลูกค้า บริษัทคนกลาง (เช่นเอเยนซี่) และบริษัทที่ผลิต (เช่นโปรดักชั่นเฮาส์หรือโรงพิมพ์) เช่นในกรณีธนาธร อ้างว่าผลิตนิตยสารให้ผู้ว่าจ้างอีกที จึงไม่ถือเป็นสื่อ

ผู้ว่าจ้างนั้นตัดออกไปอยู่แล้ว (ไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของ รธน. และใครๆก็ว่าจ้างได้ ถ้านับผู้สมัครคงมีหุ้นในบริษัทอะไรไม่ได้เลย เพราะแทบจะไม่มีบริษัทไหนไม่เคยว่าจ้างทำการสื่อสาร) แต่ส่วนที่ 2 กับ 3 นี่สิ ควรจะนับมั้ย

ในความเห็นของผมคือ ถ้ารับผลิตอย่างเดียว โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างเนื้อหา เช่นโรงพิมพ์รับงานพิมพ์ตามงานที่ส่งมา แบบนี้ไม่ควรจะนับว่าเป็นบริษัทสื่อ แต่ถ้าบริษัทนี้มีส่วนในการคิดเนื้อหา เช่นมีนักเขียน มีกองบก. แม้จะประจำหรือไม่ประจำก็ตาม หรือในการให้โจทย์บริษัทผู้ผลิตไปผลิตมาจากการได้รับการว่าจ้างจากบริษัทอื่น ย่อมถือว่ามีโอกาสในการมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้รับสาร

สรุปว่า ในความคิดเห็นของผม บริษัทสื่อ ตามเจตนารมณ์ของรธน. ที่ป้องกันไม่ให้มีการครอบงำทางความคิดอย่างไม่เป็นธรรม คือ
1. มีรายได้/ธุรกรรมในการสื่อสารต่อสาธารณะ หรือ มีการจดทะเบียนเพื่อจุดประสงค์ในการทำสื่อเป็นหลัก (ถ้าจดแล้วก็เป็นแล้ว แม้ยังไม่เกิดธุรกรรม)
2. มีส่วนในการสร้างเนื้อหาที่สื่อสารต่อสาธารณะ (ไม่ว่าจะทำเองหรือจ้างผู้ผลิตอีกต่อหนึ่ง)

ในกรณีของวีลัค มีทั้งทำนิตยสารของตัวเอง ทั้งการสร้างเนื้อหาให้กับบริษัทผู้ว่าจ้าง และยังไม่ได้แจ้งปิดกิจการ จึงถือว่าเป็นบริษัทสื่ออย่างแน่นอน

แต่ในกรณีของ สส.รายอื่นที่รอการพิจารณา บางบริษัทนั้นหากพิจารณาด้วยเกณฑ์นี้ ไม่ควรจะนับว่าเป็นบริษัทสื่อ โดยไม่ต้องยึดกับการจดทะเบียนกับกรมธุรกิจการค้าด้วยแบบฟอร์มสำเร็จรูปที่มีคำว่าทำสื่ออยู่ด้วย เนื่องจากไม่ได้ตั้งใจจะทำสื่อ และไม่เคยมีธุรกรรมทางการสื่อสาร และไม่มีการสร้างเนื้อหาด้วยตนเองเลย.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"