FAO ร่วมฉลอง 2 เหตุการณ์สำคัญ “สัปดาห์ให้ความรู้เรื่องยาปฏิชีวนะโลก” และเปิดศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังและติดตามการดื้อยาปฏิชีวนะระดับภูมิภาคเป็นแห่งแรก (FAO AMR)


เพิ่มเพื่อน    

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ร่วมกับ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน “สัปดาห์ให้ความรู้เรื่องยาปฏิชีวนะโลก” ปี 2562 พร้อมทั้งเปิดศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังและติดตามการดื้อยาปฏิชีวนะระดับภูมิภาคเป็นแห่งแรก (FAO AMR) อีกทั้งยังเผยแพร่ความรู้แนวทางการติดตามและเฝ้าระวังการต้านยาจุลชีพฉบับแรก จากทั้งหมด 5 ฉบับอีกด้วย

 

 

ดร.คาทิงก้า เดอ บาล็อค เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านอนามัยสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ องค์การอาหารและเกษตรสหประชาชาติ สำนักงานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (FAO RAP) เปิดเผยว่า สัปดาห์ให้ความรู้เรื่องยาปฏิชีวนะโลกในปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-24 พฤศจิกายน 2562 โดย FAO, องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE), องค์การอนามัยโลก (WHO) และโครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (UN Environment) ได้เรียกร้องให้มีการมุ่งเน้นเรื่องแผนปฏิบัติการระดับโลก ด้านการต่อต้านยาต้านจุลชีพ (AMR) ในขณะที่โลกกำลังต่อสู้กับผลกระทบของโรคสัตว์ข้ามแดนที่เกิดใหม่ (TAD) ความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ  แสดงให้เห็นถึงการจัดการกับการต่อต้านยาต้านจุลชีพ จะช่วยควบคุมและป้องกันโรคสัตว์ระบาดข้ามแดน รวมถึงโรคอหิวาในสุกรอัฟริกันได้

 

“สำหรับการการดื้อยาปฏิชีวนะ คือ ความสามารถของแบคทีเรียในการปรับตัวให้ทนต่อฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อนั้นๆ ดังนั้น Antimicrobial Reristance เป็นคำทั่วไปสำหรับการดื้อยาในจุลชีพเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่การใช้ยาต้านจุลชีพในทางที่ผิดนั้นมีส่วนช่วยให้เกิดการแพร่กระจายของการดื้อยาต้านจุลชีพได้เร็วมากขึ้น การปฏิบัติอย่างถูกสุขลักษณะในกระบวนการผลิต เช่น การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อเป็นประจำ ความปลอดภัยทางชีวภาพขั้นพื้นฐาน และสุขอนามัยส่วยบุคคล จะช่วยในการป้องกันโรคและความต้องการใช้ยาต้านจุลชีพได้”

 

“การก่อตั้งศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังและติดตามการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างเป็นทางการในประเทศไทยให้เป็นศูนย์ข้อมูล เฝ้าระวังและติดตามการดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) มีความพยายามในการพัฒนาขีดความสามารถในการติดตามและเฝ้าระวังการดื้อยาปฏิชีวนะในภูมิภาค โดยทาง FAO

 

ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) ได้ทำงานร่วมกับคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการประสานงานกับประเทศต่างๆในเอเชียแปซิฟิก พร้อมการสนับสนุนทางเทคนิค และคำแนะนำจาก FAO เพื่อสร้างความสามารถให้กับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติในเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการทดสอบการแพ้ยาต้านจุลชีพ (AST)”

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"