เมตตาให้อาหารนกพิราบ ภัยเงียบสว.กันไว้ดีกว่าแก้


เพิ่มเพื่อน    


    เป็นภาพที่พบเห็นโดยปกติทั่วไปเลยทีเดียว สำหรับการที่ผู้สูงวัยถือถุงอาหารนั่งอยู่ตามสถานที่ต่างๆ หรือสวนสาธารณะ เพื่อรอให้อาหารกับบรรดานกพิราบทั้งหลาย ด้วยใจเมตตา หรือไม่ก็เห็นว่านกเป็นสัตว์โลกที่น่ารักไม่มีพิษมีภัย บางคนก็ถือเป็นงานอดิเรกแก้เหงาอย่างหนึ่งเวลาออกเดินเล่นทุกเช้าหรือทุกเย็น
    นอกจากนั้นบางสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่ผู้คนต่างนิยมชมชอบมาให้อาหารนก จนมันอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่ จึงเป็นที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยวให้มาแวะเวียนถ่ายรูปกับเจ้านกพิราบแสนรู้ ซึ่งนอกจากความน่ารักและดูเป็นมิตรกับผู้คน     
    แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ในด้านดีๆ ยังมีด้านร้ายแฝงอยู่ คือยังมีโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจอีกมากมาย รวมไปถึงไข้หวัดนกที่มีสาเหตุเริ่มต้นมาจากนกอีกด้วย ดังนั้นผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำอย่างเด็กตัวเล็กตัวน้อยและผู้สูงวัยนั้น ควรจะหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อดังกล่าว และรู้จักป้องกันตัวเอง เช่น สวมผ้าปิดปากและจมูก และควรงดให้อาหารนกพิราบในที่สาธารณะ เพื่อป้องกันการแพร่พันธุ์และแพร่ระบาดของเชื้อโรค    


    แพทย์ประจำโรงพยาบาลลานนนา จังหวัดเชียงใหม่ ที่เห็นคนแก่คนเฒ่าและนักท่องเที่ยวเที่ยวไปให้อาหารนกบริเวณประตูท่าแพ ระบุว่า เชื้อโรคจากนกพิราบที่เรามองไม่เห็นนั้นจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเดินหายใจ สูดดมเอาเชื้อโรคเข้าไป ซึ่งอาจพบได้ในมูลของนกพิราบที่จะมีเชื้อราอยู่ชนิดหนึ่ง ที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ อาจจะหายใจเอาละอองมูลแห้งเข้าไป หรือมืออาจจะสัมผัสโดนมูลนกพิราบแล้วไม่ได้ทำความสะอาดมือ หยิบจับอาหารเข้าปาก เราก็ติดเชื้อผ่านทางเดินอาหารได้เช่นกัน อาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบก็คือ ผู้ป่วยจะ มีไข้ ปวดศีรษะ มีอาการตึงๆ ที่ลำคอ อาจจะมีอาการตาสู้แสงจ้าไม่ได้ หากติดเชื้อจากแบคทีเรีย อาการอาจรุนแรงมาก อาจมีอาการชักเกร็ง หมดสติ พิการ เช่น อัมพาต หูหนวก ปากเบี้ยว สมองพิการ หรือเสียชีวิตได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว
    โรคคริปโตค็อกโคสิสเป็นโรคในสัตว์ที่เกิดจากการติดเชื้อรา Cryptococcus neoformans แต่คนก็สามารถติดโรคนี้ได้เช่นกัน หากเป็นคนที่ภูมิต้านทานต่ำอาจหายใจเอาเชื้อราจากดินรอบๆ ที่เลี้ยงสัตว์ หรือจากมูลสัตว์อย่างนกพิราบเข้าไปในทางเดินหายใจ ทำให้เป็นไข้ ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก มีปัญหาทางด้านการมองเห็น มึนงง หากมีอาการติดเชื้อที่ปอด หรือสมอง อาจมีอาการสับสน หรือมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ เชื้อราประเภทนี้ยังสามารถพบได้ในมูลของนกพิราบ และนกอื่นๆ เช่น นกคานารี นกหงส์หยก นกแก้ว นกกระตั้ว นกแขกเต้า ไก่ นกกระจอก นกเอี้ยง นกเขา ซึ่งนกเหล่านี้จะไม่แสดงอาการป่วยออกมา    


    เชื้อราชนิดเดียวกันนี้ (เชื้อรา Cryptococcus neoformans) หากสูดดมเอาละอองสปอร์ หรือเชื้อราชนิดนี้เข้าไปในปอด ก็อาจทำให้ปอดอักเสบได้ เริ่มจากอาการปอดติดเชื้อก่อน แล้วอาจค่อยๆ ลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย มีไข้ ปวดศีรษะเป็นพักๆ หน้ามืด วิงเวียน ปวดขมับ เบ้าตา หรืออาจถึงขั้นอาเจียน ไอแล้วเสมหะมีเลือดปน อาจมีหลอดลมอักเสบร่วมด้วย และที่สำคัญอาจติดเชื้อในกระแสเลือดจนเสียชีวิตได้ การก่อตัวของโรคจะเกิดขึ้นช้าๆ เด็ก คนแก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ต้องระวังเป็นพิเศษ!!!    
    ในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ควรดูแลตัวเองเป็นพิเศษ หากมีอาการอาจอันตราย และรักษาได้ยากกว่าคนทั่วไป ฉะนั้นหากครั้งต่อไปอยากเลี้ยงนก ก็คิดให้ถี่ถ้วน หรือไม่ก็หาเครื่องป้องกันระบบการหายใจ และอย่าลืมที่จะล้างมือทันทีเมื่อเสร็จสิ้นจากภารกิจการสนุกสนานกับนกพิราบทั้งหลาย. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"