20 พ.ย.2562 นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยถึงความคืบหน้าการศึกษาการจัดเก็บภาษีความเค็ม ว่า เมื่อเดือนต.ค.ที่ผ่านมากรมได้หารือกับกระทรวงสาธารณสุข ถึงแนวทางการจัดเก็บภาษีดังกล่าวแล้ว ซึ่งในเบื้องต้นจะมีการพิจารณาระดับความเค็มในชนิดสินค้าอาหารที่เหมาะสมของทั้ง 2 หน่วยงานก่อนนำมาคำนวณเป็นอัตราภาษี โดยจะต้องรอการปรับปริมาณที่แนะนำต่อวัน(Thai RDI) ของโซเดียมขององค์การอนามัยโลก(WHO) ที่จะประกาศใหม่อย่างเป็นทางในเร็วๆ นี้ก่อน เพื่อนำมาอ้างอิงกับปริมาณแนะนำต่อวันของโซเดียมของไทย เพื่อคำนวณอัตราภาษีที่จะจัดเก็บต่อไป ซึ่งในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขของไทย ได้กำหนดปริมาณโซเดียมต่อวันไว้ที่ 2,000 มิลลิกรัม ขณะที่ WHO กำหนดไว้ที่ 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน“ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่เท่าที่คุยกันเมื่อเดือนต.ค. เราเห็นตรงกันว่าต้องมีการจัดเก็บภาษีนี้ เพื่อควบคุมปริมาณการรับประทานต่อวันของประชาชน ถ้าควบคุมความเค็มได้ ก็จะทำให้กระทรวงสาธารณสุขลดงบประมาณ
การรักษาพยาบาลในส่วนนี้ลงได้ แต่เรื่องนี้ไม่ต้องรีบมาก ยังไม่จำเป็นต้องบังคับใช้ในเร็วๆ นี้ได้ จึงค่อยๆ พิจารณาให้ละเอียดรอบคอบที่สุดก่อน” นายพชร กล่าว
อย่างไรก็ตาม ทางกรมสรรพสามิตได้หารือกับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีดังกล่าวแล้ว ซึ่งผู้ประกอบการยืนยันพร้อมให้ความร่วมมือ และปรับสูตรอาหารที่จะลดปริมาณโซเดียมลงแน่นอน แต่กรมก็จะให้เวลาผู้ประกอบการในการปรับตัวเช่นเดียวกับการจัดเก็บภาษีน้ำหวาน โดยจะให้ข้อมูลและขอความร่วมมือในการปรับสูตรกับผู้ประกอบการล่วงหน้าอย่างน้อย 2 ปี ก่อนจัดเก็บภาษีจริง
สำหรับอัตราภาษีดังกล่าว จะมุ่งเป้าหมายจัดเก็บในสินค้าที่ใช้ปริมาณโซเดียมสูงและมีผลต่อการบริโภคของประชาชน โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป และเครื่องปรุงต่างๆ แต่ยืนยันจะไม่จัดเก็บขนมขบเคี้ยว เพราะเป็นอาหารที่ไม่ได้จำเป็นต่อร่างกายที่ต้องรับประทานทุกวัน และที่ผ่านมาองค์การอาหารและยา ได้ควบคุมการผลิตสินค้าเหล่านี้อย่างเข้มงวดอยู่แล้ว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |