19พ.ย.62-ว่าที่ รต.ธนุ วงษ์จินดา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ผช.เลขาฯ กพฐ.) กล่าวภายหลังการประชุมชี้แจงการดำเนินงานจัดทำข้อมูลระบบการคัดกรองนักเรียนยากจนและนักเรียนยากจนพิเศษ (นักเรียนทุนเสมอภาค) ประจำภาคเรียนที่ 2/2562 ให้แก่เขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 255 เขต ทั่วประเทศ ผ่านระบบวีดีโอทางไกล ว่า ตามที่ สพฐ.ได้ดำเนินการโครงการเงินอุดหนุนช่วยเหลือนักเรียนยากจนพิเศษอย่างมีเงื่อนไข หรือ CCT ของโรงเรียนสังกัด สพฐ. ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ในปีการศึกษา 2562 มีนักเรียนยากจนพิเศษระดับชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้น ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการสถานศึกษาจำนวนทั้งหมด 723,604 คน ได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไขหรือทุนเสมอภาคจาก กสศ. จำนวนทั้งสิ้น 699,737 คนใน 27,512 สถานศึกษาสังกัด สพฐ. ทั่วประเทศ หรือร้อยละ 98.5 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามร่วมมือจากสถานศึกษาและเขตพื้นที่ที่ช่วยกันกรอกข้อมูลเข้ามาได้ทันเวลาเกือบ 100% อย่างไรก็ตาม สพฐ.พบว่าในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ยังมีสถานศึกษาที่บันทึกข้อมูลเลขบัญชีธนาคารไม่ถูกต้องจำนวน 309 สถานศึกษา ส่งผลให้นักเรียนที่อยู่ในเกณฑ์นักเรียนยากจนพิเศษเสียโอกาส ไม่ได้รับเงินอุดหนุนสร้างโอกาสทางการศึกษานี้ไป ดังนั้นในภาคเรียนที่ 2/2562 นี้ จึงขอความร่วมมือให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 225 เขต ติดตามกำชับให้สถานศึกษา และคุณครู ร่วมกันกรอกข้อมูลในขั้นตอนต่างๆ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ กสศ.ช่วยพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อเป็นเครื่องมือให้ทั้ง 225 เขตพื้นที่การศึกษาซึ่งเป็นหน่วยกำกับติดตาม สามารถติดตามการคัดกรอง การจัดสรรเงินทุนเสมอภาคของทุกโรงเรียนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์แบบเรียลไทม์
ด้านนายไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า ในภาคเรียนที่ 2/2562 กสศ.ได้ปรับระบบการคัดกรองให้ครูสามารถเลือกความด้อยโอกาสได้หลายประเภท เช่น นักเรียนที่พิการและยังยากจนด้วย จะช่วยให้ กสศ. สามารถช่วยเหลือนักเรียนที่มีความด้อยโอกาสซ้ำซ้อนได้มากขึ้นกว่านี้และไม่มีตกหล่น ดังนั้นคุณครูสามารถคัดกรองและบันทึกข้อมูลนักเรียนกลุ่มเข้าใหม่และนักเรียนที่ประสงค์ขอรับทุนเสมอภาคเพิ่มเติมได้ระหว่างวันที่ 1-20 ธันวาคม 2562 นี้นอกจากนี้ ในปีการศึกษา 2563 กสศ.ยังได้เตรียมขยายฐานการช่วยเหลือไปถึงเด็กอนุบาลยากจนพิเศษราวประมาณ 1.5 แสนคน เพื่อตอบโจทย์เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 54 ที่กำหนดให้รัฐมีหน้าที่จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนวัยเรียนจนถึงการศึกษาภาคบังคับโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายด้วย รวมถึงจะมีการตรวจสอบข้อมูลของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการศ นอกจากการกรอกข้อมูลขาดลามาสายแล้ว ยังจะเพิ่มข้อมูลน้ำหนัก, ส่วนสูง เพื่อที่จะนำข้อมูลตรงนี้มาติดตามและแก้ปัญหาให้กับเด็กเป็นรายบุคคลด้วย ทั้งนี้ สพฐ.และ กสศ. ได้ร่วมกันพัฒนาระบบการคัดกรองให้ดีขึ้น เพื่อลดขั้นตอนเวลาและภาระการบันทึกข้อมูลของครูและสถานศึกษา รวมถึงการปรับหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้มีความเหมาะสม เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงานให้กับครูและสถานศึกษา เพราะถือเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มที่ยากจนที่สุด
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |