กฟผ. ลุยพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้า-ระบบกักเก็บพลังงาน สร้างความมั่นคงระบบไฟฟ้า


เพิ่มเพื่อน    


กฟผ. นำคณะสื่อมวลชนตามติดนวัตกรรมระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า และเยี่ยมชมศูนย์ควบคุมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ณ ประเทศสเปนและโปรตุเกส ถอดบทเรียนสู่การจัดตั้งศูนย์ควบคุมพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงานรองรับพลังงานหมุนเวียน สร้างความมั่นคงระบบไฟฟ้า 

18 พ.ย. 62 -  นายพัฒนา แสงศรีโรจน์ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้อมด้วยนายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน กฟผ. นายจรรยง วงศ์จันทร์พงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการปฏิบัติการควบคุมระบบ กฟผ. นำคณะสื่อมวลชนจำนวน 20 คน เยี่ยมชมศูนย์ควบคุมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและนวัตกรรมระบบกักเก็บพลังงาน ระหว่างวันที่ 16 – 24 พฤศจิกายน 2562 ณ ราชอาณาจักรสเปนและสาธารณรัฐโปรตุเกส 

นายพัฒนา แสงศรีโรจน์ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟผ. เปิดเผยว่า กฟผ. ให้ความสำคัญการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ทั้งการผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานระหว่างพลังงานหมุนเวียนกับเชื้อเพลิงฟอสซิล การพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน ตลอดจนการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัย (Grid Modernization) เพื่อให้สามารถนำพลังงานหมุนเวียนมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบผลิตไฟฟ้าในภาพรวม สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี  และนโยบาย Energy for all ของกระทรวงพลังงาน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งพลังงานได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ ราคามีความเหมาะสม รวมถึงการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านพลังงานมาปรับใช้อย่างสอดรับกับทิศทางการพัฒนาด้านพลังงานของโลกในอนาคต

สำหรับการศึกษาดูงานในราชอาณาจักรสเปนจะศึกษาดูงานเกี่ยวนวัตกรรมระบบกักเก็บพลังงานที่ Valle 1 and Valle 2 Concentrated Solar Power Plants ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ โดยนำกระจกรูปทรงพาราโบล่าสะท้อนรังสีความร้อนจากแสงอาทิตย์ จากนั้นความร้อนจะถูกเก็บสะสมไว้ในเกลือ ซึ่งสามารถกักเก็บพลังงานได้ถึง 7.5 ชั่วโมง ผลิตไฟฟ้าได้ 320 ล้านหน่วยต่อปี  โดย กฟผ. ได้นำร่องระบบกักเก็บพลังงานที่ผลิตได้จากกังหันลมมาเก็บไว้ในรูปแบบไฮโดรเจน (Wind Hydrogen Hybrid) เมื่อมีความต้องการใช้ไฟฟ้าจะนำก๊าซไฮโดรเจนไปผ่านเซลล์เชื้อเพลิงผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ในศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคอง จ.นครราชสีมา 

ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคอง จ.นครราชสีมา 

 

Wind Hydrogen Hybrid

 

รวมถึงการติดตั้งแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน (Battery Energy Storage System) ที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงบำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ ขนาด 16 เมกะวัตต์-ชั่วโมง และสถานีไฟฟ้าแรงสูงชัยบาดาล จ.ลพบุรี ขนาด 21 เมกะวัตต์-ชั่วโมง เนื่องจากสถานีไฟฟ้าแรงสูงทั้งสองแห่งนี้อยู่ในพื้นที่ที่มีพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์เชื่อมต่อเข้าระบบไฟฟ้าปริมาณมาก เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เตรียมพร้อมให้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าทันสมัยมากขึ้น (Grid Modernization) มีความมั่นคง เชื่อถือได้ โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563

ส่วนที่สาธารณรัฐโปรตุเกสจะศึกษาดูงานศูนย์ควบคุมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (EDP Renewable Dispatch Center) ของบริษัทผลิตไฟฟ้าแห่งโปรตุเกส (Energias de Portugal : EDP) มีหน้าที่บริหารจัดการควบคุมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศโปรตุเกสแบบเรียลไทม์ให้เหมาะสมกับความต้องการใช้ไฟฟ้า และศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนชนิดต่าง ๆ ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่ง กฟผ. อยู่ระหว่างการศึกษาและพัฒนาศูนย์ควบคุมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (RE Control Center) โดยปัจจุบัน กฟผ. ได้เริ่มศึกษาการพยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (RE Forecast) จากข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์ความเข้มของแสง อุณหภูมิ ตำแหน่งของโรงไฟฟ้า ข้อมูลความเร็วลม ทิศทางลม และข้อมูลสถิติในอดีต โดยในปี 2561 – 2562 ได้นำร่องศึกษากับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็ก (SPP) 

นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ Frades II ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ประโยชน์จากเขื่อนที่มีอยู่ในประเทศโปรตุเกส โดยติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบสูบกลับที่สามารถปรับความเร็วได้ (Variable-speed reversible units) ขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป ทำให้ EDP สามารถเดินเครื่องโรงไฟฟ้าให้ตอบสนองกับความต้องการของระบบที่เปลี่ยนแปลง โดยการสูบน้ำจากเขื่อนด้านล่างขึ้นไปไว้ที่เขื่อนด้านบนในช่วงเวลาที่พลังงานหมุนเวียนผลิตไฟฟ้ามากกว่าความต้องการของระบบ ในทางตรงกันข้ามเมื่อพลังงานหมุนเวียนไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ก็สามารถปล่อยน้ำจากเขื่อนลงมาผลิตไฟฟ้า ช่วยบริหารจัดการความผันผวนของพลังงานหมุนเวียนและสร้างเสถียรภาพให้กับระบบ โดยปัจจุบันประเทศไทยมีโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับที่โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา จ.นครราชสีมา กำลังผลิต 500 เมกะวัตต์ และอยู่ระหว่างดำเนินการอีก 500 เมกะวัตต์ ซึ่งคาดว่าจะสามารถจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ได้ภายในเดือนธันวาคม 2562 นี้ 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"