การเมืองหลังเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร? เมื่อกองทัพปรับสมดุลย์ในรอบทศวรรษ


เพิ่มเพื่อน    

แฟ้มภาพ

15 มี.ค.61- จากกรณี เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ 260 ตำแหน่ง ซึ่งพบว่า สาย "วงศ์เทวัญ" ขยับคุมกำลังในตำแหน่งหลักยกแผง หากย้อนหลังไปนับแต่หลังการรัฐประหาร  กันยายน 2549  โค่นรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร แล้ว ขั้วอำนาจในกองทัพถูกเปลี่ยนผ่านจากกลุ่มเตรียมทหาร 10 (ตท.10) มาสู่กลุ่ม "บูรพาพยัคฆ์" (กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์) และกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ทหารเสือราชินี) ที่มีฐานอยู่ภาคตะวันออกมากกว่า 

ในกองทัพมีการแบ่งสายแบ่งรุ่นไม่ได้เพิ่งเกิดในปัจจุบัน หากย้อนกลับไปในอดีต พบว่า นายทหารจรป.5 กับจปร.7 สร้างประวัติศาสตร์ทางการเมือง เป็นที่จดจำมาจนถึงปัจจุบันนี้  โดยเฉพาะเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ระหว่างพล.อ.สุจินดา คราประยูร กับพล.ต.จำลอง ศรีเมือง และยุคหลังเป็นยุคของวงศ์เทวัญ และ บูรพาพยัคฆ์ แต่มิได้ต่อสู้กันดุเดือดเท่า รุ่นพี่

จปร.5 (โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 5) สมาชิกในกลุ่มนี้อาทิ พลโท สุจินดา คราประยูร พลโท อิสระพงศ์ หนุนภักดี พลอากาศโท เกษตร โรจนนิล และ พลเรือโท ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการปราบ กบฏทหารนอกราชการ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2528 ต่อมานายทหารกลุ่มนี้เป็นแกนนำสำคัญในการรัฐประหารรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ในนาม คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. ต่อมา พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในฐานะรองประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทำให้ประชาชนไม่พอใจจนกลายเป็น พฤษภาทมิฬ ในเวลาต่อมา ปัจจุบันนายทหารกลุ่ม จปร.5 ได้ยุติบทบาททางการเมืองไปแล้วภายหลังเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ

จปร.7 หรือ กลุ่มยังเติร์ก (โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 7) ซึ่งเป็นกลุ่มนายทหารหนุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการเมืองสมัยรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ โดยสนับสนุนให้เขาดำรงตำแหน่งในปี 2520 แต่ในปี 2523 กดดันให้เขาลาออก จนสนับสนุนพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา สมาชิกในกลุ่ม อาทิ พลตรี มนูญกฤต รูปขจร อดีตประธานวุฒิสภาและอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์, พลเอก พัลลภ ปิ่นมณี อดีตรองผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) รวมถึงพลตรี จำลอง ศรีเมือง อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นต้น

กลุ่มนี้พยายามรัฐประหาร 2 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จทั้ง 2 ครั้ง คือ กบฏเมษาฮาวาย ในปี 2524 และ กบฏ 9 กันยา ในปี 2528 ด้วยในช่วงเวลานั้นหลายคนมีตำแหน่งคุมกำลังพล และหลายคนได้ผ่านสงครามครั้งสำคัญ ๆ มามาก เช่น สงครามเกาหลี, สงครามเวียดนาม, สงครามลับ

ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พล.ต.จำลอง เป็นแกนนหลักของ จปร.7  มีกลุ่มเพื่อนรัก เพื่อนตาย  พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี   เสธ.หมึก พลโทพิรัช สวามิวัศดุ์ ช่วยสนับสนุนอยู้ข้างหลัง พบว่าทั้งจปร.5 จปร. 7 เดินเกมทั้งใต้ดินบนดิน จนนำไปสู่การสังหารประชาชน ในวันที่ 17-24 พฤษภาคม 2535 

เตรียมทหาร 10 (ตท.10, โรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 10) รุ่นเดียวกับทักษิณ ชินวัตร (เดิมยศ พันตำรวจโท) นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 บุคคลสำคัญอื่นในรุ่นนี้ เช่น พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและอดีตผู้บัญชาการทหารบก, พลเอก พฤณท์ สุวรรณทัต อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม, พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลเรือเอก กำธร พุ่มหิรัญ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ

วงศ์เทวัญ ใช้เรียกทหารบกที่รับราชการในกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล. 1 รอ.) ซึ่งมีฐานอำนาจที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งต่อมาจะได้เป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยระดับคุมกำลังพลที่มีผลต่อความมั่นคงของชาติ

บูรพาพยัคฆ์ ใช้เรียกกลุ่มทหารกองทัพบกที่รับราชการในกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2557 รวมทั้งยังถือเป็นขั้วอำนาจสำคัญทางฝ่ายทหารที่มีอิทธิพลต่อรัฐบาลในระหว่างการรัฐประหารทั้งสองครั้งดังกล่าว บุคคลสำคัญของกลุ่มที่มีสื่อมวลชนมักกล่าวถึงในช่วงความขัดแย้งทางการเมืองต่อมาถึงรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ได้แก่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา, พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

อย่างไรก็ตามจากการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารครั้งล่าสุดนี้ เริ่มมองเห็นว่า กองทัพกลับมาเป็นกลุ่มก้อนเดียวกันมากที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา จึงเป็นที่น่าจับตาว่า การเลือกตั้ง และการเมือง หลังจากนั้นจะมีความมั่งคงขนาดไหน ในขณะที่ความขัดแย้งในกองทัพถูกปรับสมดุลย์จนมีความมั่นคงมากที่สุด อย่างน้อยก็ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"