โดนัลด์ ทรัมป์ได้นำจดหมายฝากที่ปรึกษาด้านความมั่นคง โรเบิร์ต โอไบรอัน (Robert O’Brien) มาให้ผู้นำอาเซียนระหว่างการประชุมสุดยอดเมื่อต้นเดือนนี้
เป็นจดหมายที่มีเนื้อหาน่าสนใจ เพราะสะท้อนว่าสหรัฐฯ ภายใต้ทรัมป์จะเอายังไงกับเอเชียและอาเซียนกันแน่
จดหมายฉบับนั้นอ่านได้ความว่าอย่างนี้ :
"ท่านผู้นำอาเซียนที่นับถือทุกท่าน ผมเขียนจดหมายฉบับนี้เพื่อขอแสดงความยินดีอย่างยิ่งต่อการประสบความสำเร็จของการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมขอแสดงความนับถืออย่างสูงต่อท่านนายกรัฐมนตรีของไทย พลเอก ประยุทธ์ ที่ได้แสดงให้คนไทยทั้งประเทศเห็นถึงการเป็นผู้นำในการทำหน้าที่ประธานอาเซียนตลอดปี 2019 ผมเชื่อว่าผู้เข้าร่วมประชุมทุกรายจะจดจำการต้อนรับอย่างสมเกียรติและอบอุ่นของไทยและชาวไทย"
สหรัฐฯ ยังคงยึดมั่นในการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับอาเซียน และสนับสนุนอาเซียนในการมีบทบาทหลักในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ทั้งด้านความมั่นคงทางการเมือง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสวัสดิการสังคม
เอกสารมุมมองของอาเซียนต่อแนวคิดอินโด-แปซิฟิกมีความชัดเจนถึงการมีวิสัยทัศน์ร่วมต่ออนาคตของภูมิภาคที่พลวัตแห่งนี้ บนพื้นฐานของการให้เคารพอำนาจอธิปไตย ยึดมั่นต่อหลักการปกครอง
ผมยังมีความทรงจำที่ดีต่อการประชุมสุดยอดสหรัฐฯ-อาเซียน และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก แต่ผมไม่สามารถเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ได้ จึงได้มอบหมายให้นายโรเบิร์ต โอไบรอัน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา หัวหน้าคณะผู้แทนสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมสุดยอดสหรัฐฯ-อาเซียน และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก นายโรเบิร์ตเป็นผู้แทนที่มีสิทธิ์มีเสียงของสหรัฐฯ เพื่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯ และประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ
ผมขอถือโอกาสนี้เชิญผู้นำอาเซียนทุกท่านเข้าร่วมประชุมกับผมในการประชุมสุดยอดครั้งพิเศษที่สหรัฐฯ ในช่วงไตรมาสแรกปี 2020 ซึ่งจะเป็นโอกาสอันดีของเราในการขยายความร่วมมือของทั้งสองประเทศ ที่มีประชากรจากสหรัฐฯ และประเทศอาเซียนรวมกันจำนวนร่วม 1 พันล้านคน
ผมและประชาชนอเมริกาหวังว่าจะได้ต้อนรับทุกท่านที่สหรัฐฯ ในเร็วๆ นี้"
และหลังจากอ่านจดหมายเสร็จ ที่ปรึกษาคนนี้คงจะไม่แน่ใจว่าผู้นำอาเซียนจะเชื่อ "คำยืนยัน" ของทรัมป์แค่ไหน จึงได้กล่าวต่อที่ประชุมตอกย้ำความเป็นหุ้นส่วนที่ยาวนานมาถึง 42 ปีระหว่างสหรัฐฯ กับอาเซียนที่ยังคงอยู่ เข้มแข็ง น่าชื่นชม
แกพูดต่อว่า
"ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้กลายเป็นผู้นำด้านบทบาทความเป็นธรรม โปร่งใส เคารพในอำนาจอธิปไตย ตลาดเสรี ในอินโด-แปซิฟิก เราเชื่อว่าบทบาทนี้จะนำไปใช้อย่างเท่าเทียมกันในประเทศอื่นไม่ว่าประเทศเล็กหรือประเทศใหญ่ ซึ่งเป็นแนวทางหลักของเราในการบริหารความสัมพันธ์กับอินโด-แปซิฟิก
เราเห็นหลักการนี้แพร่หลายอย่างกว้างขวางและเข้มแข็ง โดยในเดือนมิถุนายนอาเซียนได้ออกแถลงการณ์ที่หนักแน่น ด้วยการออกเอกสารมุมมองของอาเซียนต่อแนวคิดอินโด-แปซิฟิก ที่มีจุดยืนร่วมกันในประเด็นที่มีความสำคัญ ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, เกาหลีใต้, อินเดีย, นิวซีแลนด์ ก็ให้การสนับสนุนหลักการนี้ของภูมิภาค
การนำหลักการนี้มาใช้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นหลักการร่วมที่จะรักษาความสงบ การผลักดันความรุ่งเรืองในอินโด-แปซิฟิกไป 7 ทศวรรษ แต่สิ่งที่จะมีผลต่อความสำเร็จของภูมิภาคก็คือ จะต้องยึดมั่นในหลักการนี้ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นและไม่ว่าจะสูญเสียมากแค่ไหน
การมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ ในอาเซียนนับได้ว่าแข็งแกร่งและเข้มแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง การลงทุนของสหรัฐฯ ในอาเซียนมีมูลค่ามหาศาลถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ คนมักตั้งคำถามว่าเสาหลักทางเศรษฐกิจของอินโด-แปซิฟิกคืออะไร ซึ่งคำตอบก็เห็นได้จากประเทศไทยในวันนี้
บริษัทสหรัฐฯ ชั้นนำได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมการประชุมอินโด-แปซิฟิกในวันนี้ และการประชุมวันนี้ซึ่งเป็นปีที่สองก็มีขนาดใหญ่ขึ้นสองเท่า มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,000 คนจากทั่วภูมิภาค ซึ่งนายวิลเบอร์ รอสส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ก็ได้เข้าร่วม นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานด้านเศรษฐกิจอื่นที่เข้าร่วมด้วย เช่น บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (International Finance Corporation หรือ IFC), ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกสหรัฐฯ
เรานำตัวแทนเหล่านี้มาที่ประเทศไทย เพราะทั้งหมดยึดมั่นในการสนับสนุนการพัฒนาเพื่อการเจริญก้าวหน้าระยะยาวของประเทศในภูมิภาคนี้
การค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศอาเซียนมีมูลค่า 334 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งสามารถขยายได้มากขึ้น เราได้เปิดการหารือเกี่ยวกับระเบียบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ single window และภายใต้การเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับอาเซียน สหรัฐฯ ได้ช่วยเหลืออาเซียนในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาปรับปรุงเรื่องน้ำ การขนส่ง และความปลอดภัยไซเบอร์เพื่อประชาชนอาเซียน นอกจากนี้ยังมีโครงการนำร่องอีกจำนวนมากที่จะเริ่มดำเนินการในเดือนต่อๆ ไป"
นายโอไบรอันบอกด้วยว่า อเมริกาได้ขยายบทบาทการช่วยเหลือในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งเป็นชีวิตกว่าครึ่งของประเทศสมาชิก 10 ประเทศ โดยที่ปีนี้เป็นปีแห่งการครบรอบ 10 ปีของกรอบความริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Initiative หรือ LMI) ได้ให้การสนับสนุนเป็นเงิน 45 ล้านดอลลาร์ และมีญี่ปุ่นเข้ามาเป็นพันธมิตร เพื่อพัฒนาตลาดพลังงานหมุนเวียนข้ามประเทศที่ยั่งยืน รวมทั้งการปราบปรามอาชญากรรมและการลักลอบค้ามนุษย์ข้ามประเทศที่มีออสเตรเลียเข้ามาร่วมดำเนินการ.
(พรุ่งนี้: เราเชื่อในคำยืนยันของทรัมป์ได้แค่ไหน?)
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |