ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัล ที่มีบทบาทสำคัญต่อทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เรียกว่าเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องในการดำรงชีวิตของคนเราตลอดเวลา และท่ามกลางการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ก็ได้ส่งผลให้เกิด Disruptive Technology หรือเทคโนโลยีที่สร้างมูลค่าให้กับตัวผลิตภัณฑ์ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง และอาจทำให้ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีแบบเดิมๆ ล้มหายตายจากไปนั่นเอง
ด้วยกระแสของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดังกล่าวรัฐบาลปัจจุบันจึงมุ่งเน้นแผนงานในการตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ว่าด้วยไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจแบบเดิมๆ ไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม หรือการผลักดันภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ภาคเกษตรก็ต้องเปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยีหรือสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farming)
เช่นเดียวกับวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) แบบเดิมก็จะเปลี่ยนไปสู่การเป็นองค์กรอัฉริยะ และสตาร์ทอัพ เพื่อการตอบโจทย์สิ่งเหล่านี้นั่นคือ “พลังงาน” ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และต้องยอมรับว่า การพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานเป็นไปอย่างก้าวกระโดด และเข้าถึงชุมชนมากขึ้น ทั้งด้านพลังงานแสงอาทิตย์ แบตเตอรี่
และกระทั่งการพัฒนาบุคลากรก็ได้มีการส่งเสริมเยาวชนให้มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม อย่าง โครงการ “GPSC Young Social Innovator 2019“ จาก บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ หรือ GPSC บริษัทผลิตไฟฟ้าในกลุ่ม บมจ.ปตท. ได้ส่งเสริมเยาวชนให้มีการพัฒนาความคิดในด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบโจทย์การแก้ปัญหาในสังคมของตนเอง
อย่างไรก็ตาม โครงการ GPSC Young Social Innovator 2019 เป็นการเปิดโอกาสให้กับเยาวชนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบโครงงานและใช้องค์ความรู้ในด้านต่างๆ มาพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์ หรือวิธีการ กระบวนการที่มุ่งแก้ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน ที่จะสามารถนำไปสู่การพัฒนาต้นแบบ และมีโอกาสนำไปใช้ในพื้นที่ที่มีปัญหาได้จริง รวมถึงสามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการออกสู่ท้องตลาดในเชิงพาณิชย์
ล่าสุดพบว่า 5 โครงงานสิ่งประดิษฐ์เยาวชนที่ผ่านเข้ารอบในเวทีประกวดครั้งนี้ น่าสนใจเป็นอย่างมาก เริ่มจาก โครงงานแรก “แคปซูลเก็บน้ำใต้ดิน” ของทีมต้นกล้าเปลี่ยนโลก จากโรงเรียนปราจีนกัลยาณี จ.ปราจีนบุรี ที่นำตัวแคปซูลที่เป็นวัสดุเหลือใช้จากในท้องถิ่นมาใช้ปลูกพืช เพียงขุดหลุมแล้วนำต้นกล้าวางเหนือแคปซูล รดน้ำเพียงครั้งเดียวไม่ต้องกลับไปรดอีก เพราะแคปซูลจะดูแลความชุ่มชื้นจนต้นกล้าเติบโต
โครงงานที่สอง Better life battery โรงเรียนกำเนิดวิทย์ จ.ระยอง ผลงานการเปลี่ยนข้าวเหนียวเป็นพลังงานไฟฟ้า ด้วยการนำเมล็ดข้าวเหนียวดิบมาบด อบในอุณหภูมิผ่านรังสีด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีอายุใช้งานกว่าแบตเตอรี่ทั่วไป 3-4 เท่า
โครงงานที่ 3 “เซลล์ไฟฟ้าแบคทีเรียเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าจากน้ำเสีย” จากโรงเรียนกำเนิดวิทย์ จ.ระยอง ที่มุ่งให้ชุมชนผลิตกระแสไฟฟ้าได้เองจากน้ำเสีย โดยสร้างขั้วไฟฟ้าแบบใหม่ที่เรียกว่า L-cysteine บนอนุภาคนาโนเหล็กยึดติดกับกราฟีนออกไซด์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจับแบคทีเรียในน้ำเสีย
โครงงานที่ 4 “ปลอกเทียมห่อผลไม้” โรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา" จ.ฉะเชิงเทรา ที่คิดค้นวิธีป้องกันแมลงกัดกินผลไม้ และลดการใช้กระดาษที่ย่อยสลายไม่ได้ในการหุ้มผลไม้ด้วยการนำเส้นใยจากหญ้ามาปั่นแล้วตากแห้ง จากนั้นตัดให้เป็นรูปทรงตามวัตถุที่ใช้งานพร้อมกับชุบน้ำมันหอมระเหย เพื่อป้องกันแมลงแล้วเคลือบน้ำยางนำเส้นกล้วยมาติดกับปลอกเพื่อเป็นหูหิ้ว
โครงงานที่ 5 “การพัฒนาไฮโดรเจลจากไคโตซานและพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ สำหรับอนุบาลเมล็ดข้าวพันธุ์ จาก โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยมุกดาหาร จ.มุกดาหาร เพื่อช่วยให้ชาวนาที่ไม่สามารถนำข้าวเก่ามาเพาะปลูกได้ ด้วยวิธีการหาอัตราส่วนที่เหมาะสมด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ จากนั้นนำสารผสมมาขึ้นรูปเป็นไฮโดรเจล ต่อจากนั้นนำมาอนุบาลข้าวเก่าตั้งระยะเมล็ดจนถึงดึงเยาวชนคิดค้นหนุนเศรษฐกิจการเป็นต้นกล้า
อย่างไรก็ตาม การคิดค้น วิจัยและพัฒนาเหนือสิ่งอื่นใดคือผลงานต้องไม่ถูกทิ้งไว้บนหิ้ง จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมกันต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์และการบริการที่เกิดขึ้นจริงเพื่อให้ไทยนั้นสามารถนำนวัตกรรมมาพลิกฟื้นเศรษฐกิจระดับฐานรากเพื่อตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0 สร้างความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนให้กับคนไทยอย่างแท้จริง.
บุญช่วย ค้ายาดี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |