17 พ.ย. 2562 นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง แก้รัฐธรรมนูญ กับ แก้นิสัย ส.ส. กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่าน “เสียงประชาชนในโลกโซเชียล” (Social Media Voice) ด้วยระบบ Net Super Poll จำนวน 4,551 ตัวอย่าง และ “เสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิม” (Traditional Voice) จำนวน 1,189 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10 – 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.5 ไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญมาตรา 144 ในขณะที่เพียงร้อยละ 7.5 เคยอ่าน และเมื่อถามความเห็นว่า นักการเมืองแก้รัฐธรรมนูญเพื่ออะไรระหว่าง แก้เพื่อเปิดช่องคดโกงได้ กับ แก้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.8 คิดว่านักการเมืองจะแก้เพื่อเปิดช่องคดโกงได้ ในขณะที่ร้อยละ 15.2 คิดว่าจะแก้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ
ที่น่าสนใจ คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.5 คิดว่าควรแก้นิสัย ส.ส.ก่อนแก้รัฐธรรมนูญ เพราะ ส.ส.ยังมีภาพลักษณ์แย่ ๆ เหมือนเดิม ชอบขู่ วางอำนาจ ท้าตีท้าต่อย ก่อความขัดแย้งในสังคม ทำตัวอดอยากหิวโหยมาหลายปี วิ่งเต้นเบื้องหลัง เป็นอีแอบ ล็อบบี้ ส่อคดโกง หาผลประโยชน์ มุ่งมาเอาทุนคืน ในขณะที่ร้อยละ 13.5 คิดว่าควรแก้รัฐธรรมนูญก่อน เพราะอยากได้รัฐธรรมนูญแบบปี 40 และต้องการเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เป็นต้น
ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.7 คิดว่าปมการแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงบานปลายในสังคมได้โดยพบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 54.9 เชื่อว่าจะนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย ร้อยละ 42.8 ระบุอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย ในขณะที่ ร้อยละ 2.3 ไม่เชื่อ
นายนพดล กล่าวด้วยว่า ผลการสำรวจ “เสียงประชาชนในโลกโซเชียล” (Social Media Voice) ผ่านระบบ Net Super Poll พบว่า ปมแก้ไขรัฐธรรมนูญกำลังเข้าถึงคนทั้งหมดประมาณ 7,811,252 คน หรือ เจ็ดล้านกว่าคน แต่เป็นจำนวนที่น้อยกว่าประมาณสามเท่าของจำนวนคนที่ มาตรการ ชิมช้อปใช้ เข้าถึง คือ 21,898,746 หรือ ยี่สิบกว่าล้านคน ในโลกโซเชียล และเสียงตอบรับต่อการแก้รัฐธรรมนูญเป็นเสียงตอบรับเชิงลบร้อยละ 55.9 ในขณะที่เสียงตอบรับเชิงบวกมีร้อยละ 44.1
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลสำรวจ “เสียงประชาชนในโลกโซเชียล” และ “เสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิม” ครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ากระแสการแก้รัฐธรรมนูญถูกจุดขึ้นจากฝ่ายการเมืองมากกว่าฝ่ายประชาสังคมและยังไม่ตอบโจทย์ไม่ตรงเป้าความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่กำลังตอบรับมาตรการชิมช้อปใช้มากกว่าและประชาชนยังกังวลว่าปมแก้รัฐธรรมนูญจะนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงบานปลายในสังคมจนอาจเกิดเหตุจลาจลขึ้นเหมือนบางประเทศในเวลานี้ ยิ่งไปกว่านั้นประชาชนยังเคลือบแคลงสงสัยด้วยว่า ส.ส.จะทำเพื่อเปิดช่องโกงหาผลประโยชน์ให้ตนเองและพวกพ้องมากกว่าเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติส่วนรวม
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |