นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยว่า คาดการณ์ผู้โดยสารในปีนี้จะเติบโตที่ 1.7% ได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบด้านการท่องเที่ยว ส่วนปี 2563 คาดการณ์ว่าตัวเลขผู้โดยสารจะกลับมาเติบโตที่ 6% เช่นเดียวกับรายได้ที่ราว 5-6% และตัวเลขกำไรที่ยังคงเติบโตได้แม้ในปีหน้าจะมีการลงทุนจำนวนมาก โดยได้อานิสงค์จากตัวเลขนักท่องเที่ยวชาวจีนและอินเดียที่จะกลับเข้ามาท่องเที่ยวไทยอีกครั้ง
อย่างไรก็ตามขณะที่คาดการณ์การเติบโตของธุรกิจในอนาคตคาดว่าจะมียอดกำไรเติบโตแตะ 4-5 หมื่นล้านบาท ในปี 2564 ที่รับรู้รายได้จากดิวตี้ฟรีเต็มจำนวน แบ่งเป็นกำไรกิจการด้านการบินเฉลี่ยปีละ 2.5 หมื่นล้านบาท กำไรจากดิวตี้ฟรี 1.4 หมื่นล้านบาท และกำไรจากการดำเนินธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นๆ ดังนั้นในปี 2564 จะมีการทำยอดนิวไฮของกำไรเป็นประวัติศาสตร์ขยายตัวเกือบ 100% จากสถิติเดิมในปี 2561 อยู่ที่ราว 2.6 หมื่นล้านบาท
นายนิตินัยกล่าวต่อว่า ขณะที่การลงทุนในช่วงปี 2562-2568 นั้นทอท.เตรียมเงินลงทุนไว้ราว 3 แสนล้านบาท ทั้งการขยายสนามบินหลักอย่างสุวรรณภูมิ อาทิ รันเวย์ใหม่ เทอร์มินอลใหม่ สนามบินดอนเมืองจะมีการลงทุนเฟส 3 ตลอดจนการลงทุนก่อสร้างสนามบินใหม่สองแห่งในจังหวัดเชียงใหม่กับภูเก็ตแห่งที่สอง ตลอดจนการลงทุนสนามบินเกี่ยวเนื่องเป็นต้น
นายนิตินัย กล่าวอีกว่า ในส่วนของเมืองการบิน (Airport City) โดยการพัฒนาที่ดินแปลง 37 ภายในสนามบินสุวรรณภูมินั้น ในขณะนี้ ทอท. ได้หารือในหลักการร่วมกับกรมธนารักษ์ เพื่อแก้ไขระยะเวลาโดยขยายเวลาสิ้นสุดออกไปเป็นปี 2595 จากเดิมที่จะสิ้นสุดในปี 2575 ขณะเดียวกัน ในส่วนของที่ดิน 723 ไร่ ที่อยู่ใกล้สนามบินสุวรรณภูมินั้น ตอนนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาขยายอายุเวลา รวมถึงการปรับผังเมืองจากสีเขียวเข้มมาเป็นสีน้ำเงิน หลังจากที่ผ่านมาคณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์การลงทุนของ ทอท. มาพิจารณาโครงการต่างๆ ที่มีเอกชนเสนอเข้ามาแล้วกว่า 40 ราย อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีการลงนามสัญญาได้ภายในปีนี้ ก่อนที่จะจัดผู้ประกอบการลงพื้นที่ช่วง ม.ค. 2563
นายนิตินัย แถลงข่าวถึงความจำเป็นในการดำเนินโครงการส่วนต่อขยายทางด้านทิศเหนือ (North Expan Sion)ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หลังจากเมื่อวานนี้นักวิชาการจากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) จัดเสวนา โดยระบุว่าการทำส่วนต่อขยายทิศเหนือเป็นโครงการลักษณะตัดแปะ และทอท.ไม่ได้ทำตามแผนแม่บทเดิมที่มีของสนามบิน
นายนิตินัย กล่าวว่าแผนแม่บทสนามบินที่มีมา 16 ปี และได้มีการแก้ไขมาแล้ว 4 ฉบับ การแก้ไขทุกครั้งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ถูกกำหนดโดยองค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือไอเคโอ้ เนื่องจากสาเหตุสำคัญที่ต้องปรับแผนแม่บททุกครั้ง ก็ให้เป็นไปตามความสอดคล้องกับสถานการณ์และความจำเป็นแต่ละช่วงเวลาของท่าอากาศยานแต่ละแห่ง โดยในส่วนของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตามที่ทุกคนทราบว่าปัจจุบันปริมาณผู้โดยสารโดยเฉพาะระหว่างประเทศเติบโตอย่างรวดเร็วส่งผลให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิต้องรองรับผู้โดยสารสูงถึง 65 ล้านคนต่อปี ทั้งที่มีความจุในการก่อสร้างเมื่อเริ่มต้นใช้ 45 ล้านคนต่อปี ขณะที่แผนการเร่งขยายสนามบินของไทยประสบปัญหาความล่าช้ามาอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ยืนยันว่าหากพิจารณาตามแผนแม่บทการพัฒนาสนามบินที่มีอยู่เดิมนั้น ทอท.ได้มีการพัฒนาสนามบินครบทุกเฟสที่เคยระบุไว้ตามแผน เพียงแต่มีการแทรกการพัฒนาเฟสที่ 3 รวมถึงการขยายสนามบินด้านทิศเหนือแก้ปัญหาแออัดปัจจุบัน ยืนยันว่าหลังจากมีการก่อสร้างส่วนต่อขยายทิศเหนือเสร็จอาคารส่วนนี้จะสามารถรองรับผู้โดยสารเพิ่มอีก 40 ล้านคนต่อปี และเมื่อรวมความจุผู้โดยสารที่จะเติบโตมากขึ้น เมื่อถึงกำหนดการเสร็จของโครงการประมาณการว่าจะใช้เวลาสร้าง 3-4 ปี หรือปี 2566 หรืออย่างช้าไม่เกินปี 2567 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะสามารถรองรับผู้โดยสาร 85 ล้านคนในปีนั้น แต่จะมีผู้โดยสารใช้บริการจริง 75 ล้านคน ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีศักยภาพรองรับผู้โดยสารมากกว่าปริมาณผู้โดยสารที่ใช้งานจริง
นายนิตินัย ยืนยันว่า ทอท.จำเป็นต้องเร่งขยายสุวรรณภูมิตามแผนงานดังกล่าว เพื่อลดความแออัดที่ขณะนี้อยู่ในขั้นวิกฤติ เนื่องจากความแออัดภายในอาคารผู้โดยสารส่งผลให้ท่าอากาศยานไม่สามารถเพิ่มสล็อตการบิน หรือกำหนดวันและเวลาที่ผู้ประกอบการเดินอากาศหรือสายการบินได้รับอนุญาตหรือได้รับการจัดสรรไว้ล่วงหน้า เพื่อใช้ในการนำอากาศยานเข้าและออกท่าอากาศยาน จากสายการบินได้ ส่งผลให้การเติบโตทางด้านท่องเที่ยวหรือผู้โดยสารที่จะเดินทางมาประเทศไทยไม่สามารถเติบโตได้ตามเป้าหมาย
สำหรับการผลักดันการก่อสร้างส่วนต่อขยายทิศเหนือนี้ ฝ่ายบริหาร ทอท.จะนำเสนอที่ประชุมบอร์ด ทอท.เพื่อพิจารณาอนุมัติเดินหน้าโครงการ หลังจากก่อนหน้านี้เปิดรับฟังความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งผู้ประกอบการ สายการบิน และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยบอร์ด ทอท.จะพิจารณาวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ หลังจากนั้นจะเสนอโครงการไปยังกระทรวงคมนาคมก่อนนำเสนอให้สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสุดท้ายขอความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรี(ครม.)หลังจากนั้นจะก่อสร้างภายใต้กรอบวงเงินที่เคยกำหนดไว้กว่า 40,000 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 3-4 ปี (ปี66-67)คาดเสร็จใกล้เคียงกับการก่อสร้างรันเวย์ที่ 3 หรืออย่างช้าจะเสร็จหลังรันเวย์ที่ 3 ไม่เกิน 1 ปี ซึ่งทั้ง 2 ส่วนจะเป็นการลดปัญหาความแออัดทั้งอาคารผู้โดยสารและรันเวย์ได้เป็นรูปธรรม.
ด้านนายสุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าการบินไทยประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 3 มุ่งเน้นลดค่าใช้จ่ายอย่างเข้มข้นควบคู่การเพิ่มรายได้
45,016 ล้านบาท ต่ำกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อน 2,937 ล้านบาท หรือ 6.1% อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลประกอบการยังเป็นลบ แต่ในไตรมาสนี้บริษัทฯ มีการควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น โดยมีค่าใช้จ่ายรวม 47,858 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 4,029 ล้านบาท หรือลดลง 7.8% ส่งผลให้มียอดขาดทุนสุทธิในไตรมาสนี้ 4,680 ล้านบาท เมื่อรวมกับยอดขาดทุนสุทธิในช่วงเดือน ม.ค.-มิ. ย. ส่งผลให้ยอดขาดทุนรวมในช่วง 9 เดือนแรกอยู่ที่ราว 10,907 ล้านบาท โดยในไตรมาสสุดท้ายคาดว่าจะขาดทุนต่ำกว่า 3,000 ล้านบาทเพราะเป็นช่วงไฮซีซั่น อย่างไรก็ตามตั้งเป้าว่าปีหน้าการบินไทยจะกลับมามีกำไร
นายสุเมธกล่าวต่อว่าสำหรับการขาดทุนดังกล่าวนั้นถือเป็นเรื่องปกติในสภาพตลาดที่แข่งขันรุนแรงและมีการดัมซ์ราคาดึงลูกค้า พบว่าปีนี้สายการบินในไทยต่างมียอดขาดทุน ขณะที่สายการบินทั่วโลกนั้นมีบริษัทที่ล้มละลายต้องปิดตัวไปแล้วมากกว่า 20 สายการบินทั่วโลก ซึ่งรวมถึงสายการบินยักษ์ใหญ่ด้วย ส่วนในปีก่อนมีสายการบินที่ปิดตัวลง 18 สายการบิน นอกจากปัจจัยด้านการแข่งขันแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นอย่าง ภาวะเศรษฐกิจโลก เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เกิดขึ้นในหลายภูมิภาคของโลก ตลอดจนปัญหาความล่าช้าของการซ่อมเครื่องยนต์ของบริษัทผู้ผลิต ทำให้ผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2562 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) ลดลง 3.7% ส่วนปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) ลดลง 0.6% อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 80.0% สูงกว่าปีก่อนซึ่งเฉลี่ยที่ 77.5% โดยมีจำนวนผู้โดยสารที่ทำการขนส่งรวมทั้งสิ้น 6.06 ล้านคน สูงกว่าปีก่อน 0.8%
นายสุเมธกล่าวอีกว่าการบินไทยเตรียมเข้าร่วมกับแคมเปญกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยในการลงทะเบียนชิมช็อปใช้เฟส 4 ประชาขนสามารถนำไปซื้อตั๋วเครื่องบินของการบินไทยได้ด้วย ขณะนี้กำลังหารือกันอยู่จะมีแนวทางชัดเจนในเร็ววันนี้ นอกจากนี้ยังจับมือกับธนาคารของรัฐบาลจีน คือ ICBC เพื่อต่อยอดการชิงลูกค้าชาวจีน เพราะคนจีนจำนวนมากมีเงินจึงต้องการใช้บริการสายการบินฟูลเซอร์วิสที่ไม่ใช่สายการบินโลว์คอสต์ จึงเป็นอีกช่องทางในการทำตลาด นอกจากนี้ยังเตรียมผลักดันให้สายการบินไทยสมายล์ เข้าเป็นสมาชิก Star Alliance เพื่อเดินหน้าธุรกิจการเชื่อมโยงการบินกับสายการบินพันธมิตรทั่วโลก โดยจะเริ่มในปีหน้าเป็นต้นไป
ส่วนการจัดซื้อเครื่องบินใหม่ 38 ลำ วงเงิน 156,000 ล้านบาทนั้นจะเร่งสรุปแผนยุทธศาสตร์กำหนดเส้นทางการทำตลาดให้เสร็จภายใน 1 เดือนก่อนจะเริ่มจัดทำแผนกำหนดประเภทเครื่องบินให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ดังกล่าวต่อไป ยังควอยู่ในกรอบเวลา 6 เดือนเพื่อสรุปข้อมูลทั้งหมด อย่างไรก็ตามยืนยันว่าการซื้อหรือเช่าเครื่ิองบินใหม่นั้นไม่ยาก เพราะมีสายการบินปิดตัวลงเยอะมากส่งผลให้มีเครื่องบินที่ไม่สามารถส่งมอบได้ ทำให้ร่คาเครื่องบินใหม่ลดลงไปมาก
ทั้งนี้บริษัทฯ ได้ออกมาตรการลดค่าใช้จ่ายภายในบริษัทฯ โดยกำหนดแนวทางปฏิบัติอย่างจริงจัง อาทิ ชะลอการลงทุนที่ไม่จำเป็น ปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Reprocess) เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ปรับลดสวัสดิการและค่าตอบแทนของฝ่ายบริหารและพนักงาน รวมทั้งสร้างความตระหนักรู้ และรณรงค์ให้พนักงานทุกคนให้ความร่วมมือเพื่อกอบกู้สถานการณ์ ด้านการเพิ่มรายได้ บริษัทฯ ดำเนินกลยุทธ์เจาะกลุ่มลูกค้าแบบ Personalize มุ่งเน้นการสร้างรายได้เสริม (Ancillary Revenue) ซึ่งช่วง 9 เดือนของปี 2562 (มกราคม-กันยายน) มีรายได้เสริมรวม 4,604.17 ล้านบาท เร่งดำเนินงานด้าน Digital Marketing โดยใช้ Big Data และ Data Analytic ในการวิเคราะห์ตลาด เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มการขายทาง Online ให้มากขึ้น อีกทั้งบริษัทฯ มีแผนเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 โดยทำการบิน 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ซึ่งขณะนี้มียอดสำรองที่นั่งล่วงหน้าถึงเดือนมีนาคม 2563 สูงถึง 80%
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |