เมื่อวานนี้ผมได้เขียนถึง "อาชีพอนาคต" ที่คนไทยควรจะต้องฝึกฝนสำหรับอนาคตที่กำลังปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วและหนักหน่วง
ผมอ้างถึงบทวิเคราะห์ที่อ่านเจอเมื่อเร็วๆ นี้ที่น่าสนใจของ ดร.รัฐกร พูลทรัพย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ แห่งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และเป็นหัวหน้าโครงการฝึกอบรม Digital Transformation ด้วย
ท่านได้อ้างถึงอาชีพยอดนิยม 10 อันดับในประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2016 จัดทำโดยเว็บไซต์ในประเทศสหรัฐอเมริกาชื่อ Careercast.com โดยได้มีการจัดอันดับสายอาชีพยอดนิยม ดังนี้
เมื่อวานได้พูดถึง 5 อาชีพแรก วันนี้มาอ่านต่อครับ
6.Mathematician (นักคณิตศาสตร์) เป็นสายอาชีพดั้งเดิมที่ยังคงสร้างรายได้ดี และมีความต้องการสูงในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันนักคณิตศาสตร์ถูกจ้างงานน้อยมาก อัตราการขยายตัวและความต้องการในตลาดแรงงานด้านนักวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์จะเพิ่มมากขึ้นในช่วง 10 ปีที่จะถึงนี้ ความต้องการส่วนใหญ่จะอยู่ในภาควิชาการจนถึงในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งสายอาชีพนี้จะมีรายได้ประมาณ 3.5 ล้านบาทต่อปี
7.Software Engineer (นักพัฒนาซอฟต์แวร์) เป็นสายอาชีพที่ติดอันดับหนึ่งมาหลายปี และเป็นที่แน่นอนว่าคนที่เรียนสาขานี้จะมีงานเข้ามาให้ทำจนล้นมือเลยทีเดียว สายอาชีพมีความต้องการในตลาดแรงงานสูง เนื่องจากต่อไประบบซอฟต์แวร์จะครองโลก หมายความว่าอุปกรณ์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์เครื่องกล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะใช้ซอฟต์แวร์เป็นตัวควบคุมการทำงานและรายงานสถานะให้อุปกรณ์ตัวอื่นๆ ทราบเพื่อประสานการทำงานกันอย่างลงตัว อย่างในปัจจุบันได้มีการสร้าง Smart City ซึ่งเป็นรูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัล หรือข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารในการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของบริการชุมชน เพื่อช่วยลดต้นทุนและลดการบริโภคของประชากร
โดยยังคงเพิ่มประสิทธิภาพให้ประชาชนสามารถอยู่อาศัยในคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ เช่น ข้อมูลการจราจรและขนส่งแบบ Real-Time สายอาชีพดังกล่าวเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาระบบต่างๆ เพราะถือว่าเป็นแกนกลางในการพัฒนาระบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศและผลลัพธ์ที่ถูกต้อง สามารถนำไปใช้งานได้รวดเร็วตรงตามวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ยังมีศาสตร์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย เช่น Augmented Reality เป็นเทคโนโลยีที่สร้างภาพเสมือนผสมผสานภาพจริง ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ
ในอนาคตอันใกล้เราอาจจะใส่แว่นตาเล่นเกมคอมพิวเตอร์อยู่สถานที่ใดก็ได้ในโลก จากนโยบายของภาครัฐในประเทศไทยเรื่อง Thailand 4.0 จะมุ่งเน้นให้ประเทศไทยพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลลงไปยังภาครัฐและเอกชน ให้ดำเนินกิจการสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นสาขานี้จะเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยมีรายได้ประมาณ 3.5 ล้านบาทต่อปีในประเทศสหรัฐอเมริกา และมีอัตราการขยายตัวประมาณ 17%
8.Computer System Analyst (นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์) สายอาชีพนี้ก็เช่นกัน มีความต้องการในตลาดแรงงานสูงต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานับสิบปี ลักษณะงานก็คือเข้าไปศึกษาระบบการทำงานของหน่วยงานหรือองค์กร เพื่อแสวงหาแนวทางในการปรับปรุงการทำงานหรือการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพสูงสุด บุคลากรที่จะเรียนในสายอาชีพนี้จะต้องมีทักษะในด้านการสื่อสารและการวิเคราะห์เป็นอย่างดี สามารถนำเอาเทคโนโลยีในปัจจุบันมาประยุกต์ใช้ในการทำงานให้เกิดประสิทธิผล นอกจากนี้ยังต้องมีความสามารถในการออกแบบโปรแกรมและประสานงานกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อผลิตผลงานที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับการทำงานของธุรกิจ สายอาชีพนี้มีรายได้ประมาณ 2.8 ล้านบาทต่อปี และมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 21%
9.Speech Pathologist (นักแก้ไขการพูด) คือสายอาชีพสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวินิจฉัย การบำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางภาษาและการพูด เช่น พูดไม่ได้ พูดไม่ชัด เสียงผิดปกติ สายอาชีพนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีรายได้ประมาณ 2.5 ล้านบาทต่อปี และมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 21% เช่นกัน
10.Actuary (นักคณิตศาสตร์ประกันภัย) สายอาชีพนี้ได้อธิบายรายละเอียดไว้ข้างต้นบทความนี้แล้วว่าลักษณะงานเป็นอย่างไร ในยุคนี้ก็ยังคงเป็นหนึ่งในสายอาชีพที่มีความต้องการสูงอยู่ โดยมีรายได้ประมาณ 2.5 ล้านบาทต่อปี และมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 21% เช่นกัน
ทั้งหมดนี้เป็นวิชาที่สถาบันการศึกษาของไทยเรายังไม่มีความพร้อมพอที่จะทุ่มเทสร้าง "มนุษย์พันธุ์ใหม่" ของไทยเราได้เท่าที่ควร
อีกทั้งเราคงจะต้องวิจัย "อาชีพอนาคต" ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยและคนไทยด้วยตนเอง เพื่อจะได้มีแผน "สร้างคน" อย่างเป็นรูปธรรมของเราเองอีกด้วย
ตื่นเถิดชาวไทย!
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |