เปิดอินไซต์เดลิเวอรี่


เพิ่มเพื่อน    

                 ในช่วงที่ผ่านมาต้องยอมว่าการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของไทยมีการเติบโตต่อเนื่องจริงๆ ซึ่งก็มาจากหลายปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงของเทคโนโลยีและสมาร์ทโฟนที่ง่ายกว่าในอดีต และการที่มีผู้ให้บริการเปิดตัวแอปพลิเคชันเพื่อใช้สั่งอาหารหลายราย จึงทำให้เกิดความสะดวกสบาย อยากสั่งเมนูไหน ก็จัดได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว ไม่จำเป็นต้องเดินทางด้วยตัวเองไปที่ร้านอาหารอีกต่อไป โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจของ GET พบว่ากลุ่มลูกค้าหลักยังคงเป็นคนในกลุ่มมิลเลนเนียม หรือคนที่เป็นกลุ่มระหว่าง GEN Z และ GEN Y ที่อยู่ในช่วงอายุ 23-38 ปี และเป็นคนกลุ่มที่เติบโตมาในช่วงของการพัฒนาทางเทคโนโลยี

                วงศ์ทิพพา วิเศษเกษม ผู้อำนวยการฝ่ายแพลตฟอร์มโอเปอเรชั่น GET กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้มีการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้ของลูกค้ามาวิเคราะห์โดยตลอด เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาช่วยให้ร้านค้าสามารถพัฒนาสินค้าและบริการได้ตรงใจคนสั่งอาหาร คนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการสั่งอาหารแบบ Order for One หรือสั่งรับประทานคนเดียว โดยจะสั่งแค่ 1 หรือ 2 เมนูต่อหนึ่งออเดอร์ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่คนโสดเพิ่มมากขึ้น และครอบครัวเดี่ยวมีจำนวนมากขึ้น ในขณะเดียวกันผู้หญิงชอบสั่งอาหารเดลิเวอรีมากกว่าผู้ชาย โดยมื้ออาหารที่คนนิยมสั่งมากที่สุดคือมื้อเย็น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ร้านอาหารสามารถนำไปปรับใช้เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ได้มากขึ้น

                นอกจากนี้ ยังพบว่าในหนึ่งเดือน GET มียอดสั่งชานมไข่มุกกว่า 3 แสนแก้ว ซึ่งตอกย้ำกระแสชานมไข่มุกที่ยังแรงไม่ตก และนอกจากอาหารมื้อหลักและเครื่องดื่มแล้ว คนกรุงเทพฯ ยังมีพฤติกรรมการสั่งอาหารตลอดทั้งวัน โดยมีการสั่งอาหารว่างทั้งมื้อเช้า มื้อบ่าย และมื้อดึก คิดเป็นยอดประมาณ 28% ของยอดสั่งตลอดวัน เช่น ขนมปังไส้ต่างๆ ที่เป็นของกินเล่นนั้น มียอดขายต่อเดือนกว่า 190,000 ชิ้นในเดือนอีกด้วย

                มาดูกันว่าเทรนด์ร้านอาหารในยุค 4.0 เช่นนี้ มีประเภทไหนน่าสนใจและประสบความสำเร็จจากการขายผ่านช่องทางเดลิเวอรีกันบ้าง โดย ณปภัสสร ต่อเทียนชัย อายุ 26 ปี  จากร้าน Veganerie ได้ให้ข้อมูลว่า เริ่มธุรกิจจากการเปิดป๊อปอัพสโตร์ที่ฟาร์มเมอร์มาร์เก็ต และเป็นร้านจริงจังสาขาแรกที่เมอร์คิวรี่วิลล์ และตอนนี้ก็มี 5 สาขาแล้ว ตอนนี้เทรนด์อาหารสุขภาพได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ บวกกับการที่มีธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรีเข้ามาก็ช่วยตอบโจทย์คนเมืองได้ ทำให้คนสามารถสั่งอาหารได้ตลอด ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ไหน ซึ่งทำให้มีลูกค้าที่มากขึ้น

                ส่วน อรรณพ จันทร์น้อย อายุ 28 ปี จากร้านวัวล้วนๆ  ไม่มีควายผสม กล่าวว่า มีสาขาแรกที่เกษตร เดือนแรกก็ไม่ได้ขายดี แต่ทำการตลาดกันเยอะกับกลุ่มนักศึกษา จนตอนนี้มี 22 สาขา มีแผนว่าจะเปิดเพิ่มอีก 4 สาขา มองว่าฟู้ดเดลิเวอรีช่วยเพิ่มยอดขายได้มาก โดยเฉพาะสาขาในเมือง และที่สำคัญบางเมนูที่ปกติคนไม่นิยม แต่หากอยากให้คนได้ลองสั่ง ก็จัดโปรโมชั่น จะสามารถเพิ่มยอดขายได้เป็น 10 เท่าเลยทีเดียว

                ขณะที่ พรภวิศย์ อบสุวรรณ อายุ 29 ปี จากร้านปังเด็ด ก็บอกว่าจากสาขาแรกที่สีลมเมื่อ 4 ปีก่อน ตอนนี้ปังเด็ดมี 4 สาขา ซึ่งโชคดีที่ช่วงที่เริ่มธุรกิจก็มีบริการฟู้ดเดลิเวอรีเข้ามา ทำให้ร้านเล็กๆ ของมียอดขายมากขึ้นเพิ่มจากหน้าร้าน นับว่าสอดคล้องกับผู้ประกอบการอีกรายอย่าง ธีรนัย จินดานุภาจิตต์ อายุ 26 ปี จากร้านติดลมหมูทอดปลาร้า ซึ่งจบทางด้านการทำอาหารมา เคยเปิดร้านข้าวต้มแต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไร ตอนที่เห็นเทรนด์ของฟู้ดเดลิเวอรีกำลังโต เลยตั้งใจที่จะเปิดร้านเพื่อเจาะตลาดกลุ่มนี้โดยเฉพาะ เริ่มจากเลือกโลเกชั่นที่แรกที่ค่าเช่าไม่แพง ร้านอาหารน้อย แถวเกษตร จนตอนนี้ร้านมีที่ดูแลเอง 5 สาขา และเป็นแฟรนไชส์อีก 8 สาขา โดยยอดส่วนใหญ่ก็ยังมาจากบริการเดลิเวอรี

                ผู้บริโภคในกลุ่มมิลเลนเนียมเป็นกลุ่มที่อยู่ในวัยทำงานและมีกำลังซื้อ ในขณะเดียวกันก็มีไลฟ์สไตล์ที่ใช้เวลากับการออนไลน์มากขึ้น ดังนั้น การสั่งฟู้ดเดลิเวอรีจึงเข้ามาตอบโจทย์ของคนกลุ่มนี้เป็นหลัก แต่ในขณะเดียวกันก็มีคนในกลุ่มวัยอื่นที่ถือเป็น Early Adopter ที่หันมาใช้บริการนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน จึงถือเป็นsโอกาสของผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจที่จะหันมาใช้ประโยชน์จากการเติบโตของธุรกิจนี้ในการช่วยเพิ่มยอดขายของตนเอง.

 

รุ่งนภา สารพิน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"