กทม.ประกาศเตรียมพร้อม รองรับสังคมสูงอายุเต็มร้อย


เพิ่มเพื่อน    


    
    จากสถานการณ์ของผู้สูงอายุไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดย พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ระบุว่า ในปี 2564 สังคมไทยจะเข้าสู่ "สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์" ขณะที่ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุอายุคาดเฉลี่ยภาวะสุขภาพดีคนไทยในปี 2558 มีค่าเท่ากับ 66.8 ปี สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก และมีแนวโน้มเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
    นายชวินทร์ ศิรินาค ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กทม. เปิดเผยว่า สำนักอนามัยได้เตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุ เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2564 โดยดำเนินการผ่านแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การบูรณาการระดับสำนักงานและระดับเขต ขณะเดียวกันได้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร พร้อมวางแนวทางการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนก่อนวัยสูงอายุและเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ดังนี้ 
    1) ส่งเสริมสุขภาพประชาชนในวัยทำงานในสถานประกอบการทั้งภาครัฐและภาคเอกชนผ่านภาคีเครือข่ายสุขภาพ 2) คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อค้นหาภาวะสุขภาพปกติ เสี่ยง และป่วยเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงจากโรคพฤติกรรมสุขภาพ โรคติดต่อไม่เรื้อรัง 3) ดำเนินโครงการ PLC ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเชิงป้องกันระยะยาว 4) ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ (SRC) เป็นศูนย์ต้นแบบในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านให้ติดสังคม โดยดูแลผู้สูงอายุแบบเช้าไปเย็นกลับ 5) จัดให้มีชมรมผู้สูงอายุครอบคลุมทุกพื้นที่ 6) ศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุ เพื่อดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ โดยกำหนดหลักสูตรแกนกลางศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุ ได้แก่ ความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการ การออกกำลังกาย และการจัดสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัยที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ


    นายสุขสันต์ กิตติศุภกร รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กทม. กล่าวว่า ในส่วนของสำนักการแพทย์ได้จัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ โดยมีทีมสหสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาลทำการประเมินสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม ส่งผลให้ผู้สูงอายุกลับเข้าสู่สังคมได้ รวมถึงการตรวจคัดกรองเพื่อวางแผนการดูแลรักษาผู้สูงอายุ ขณะเดียวกันได้มีการประเมินการใช้ชีวิตประจำวัน (ADL) ค้นหาผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ที่มีความจำเป็นต้องเข้าดูแลถึงบ้าน ตามโครงการ กทม.ใส่ใจผู้สูงวัย หัวใจแกร่ง เป็นโครงการลงพื้นที่เยี่ยมผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงโดยทีมสำนักการแพทย์ สำนักอนามัย และสำนักงานเขต ร่วมกันขยายการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงในชุมชน 
    นอกจากนั้น โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ยังให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังกับผู้สูงอายุที่มารับบริการในโรงพยาบาล รวมถึงให้ข้อมูลสุขภาพผ่านสื่อออนไลน์ของโรงพยาบาล อีกทั้งปัจจุบันโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ได้จัดตั้งหอผู้ป่วยชีวาภิบาล ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่อยู่ในระยะกึ่งกลาง (Intermediate care : IMC) ที่พ้นจากระยะวิกฤติ เพื่อฟื้นฟูร่างกายของผู้สูงอายุให้กลับคืนสู่สภาวะปกติก่อนกลับบ้านอีกด้วย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"