"ครูตั้น"ลงพื้นที่ติดตามโรงเรียนควบรวม


เพิ่มเพื่อน    


11พ.ย.62-ที่โรงเรียนวัดกร่างทองราษฎร์บูรณะ  จ.กาญจนบุรี - นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวภายหลังลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ว่า ตนได้ประชุมติดตามการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งโรงเรียนวัดกร่างทองราษฎร์บูรณะแห่งนี้  มีการบริหารจัดการในการควบรวมกับโรงเรียนบ้านห้วยนาคราชได้ดี ซึ่งปัจจุบันมีนักเรียนทั้งหมด 413 คน ตั้งแต่ประถมศึกษาไปจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 เริ่มดำเนินการควบรวมมาตั้งแต่ปี 2560 โดยความร่วมมือของชุมชน 


สำหรับโรงเรียนที่ถูกยุบไปแล้วและเป็นสถานที่ที่ไม่ใช้งานตนอยากให้นำมาปรับปรุงเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน เป็นพื้นที่สร้างวิสาหกิจชุมชน เป็นศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุ หรือปรับปรุงอาคารเรียนที่มีอยู่เป็นบ้านพักครูก็ได้เพราะไม่อยากให้สถานที่ถูกทิ้งร้างโดยเปล่าประโยชน์  โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้ยังไม่อยากพูดถึงการยุบหรือควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก แต่อยากให้มองภาพรวมของปัญหาการศึกษาต่างๆ ว่า มีเรื่องใดบ้างและนำปัญหามาพูดคุยกันเพื่อนำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษา ดังนั้น หน้าที่ของ ศธ.คือผลักดันให้โรงเรียนทุกแห่งมีคุณภาพเท่าเทียมกันเพราะหากเราสร้างความเชื่อมั่นว่ายกระดับคุณภาพการศึกษาได้ทุกโรงเรียนแล้วจะส่งผลให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วยสนับสนุนงบประมาณการศึกษาได้มากขึ้นด้วย ทั้งนี้ตนไม่อยากให้มาพูดถึงกันอีกว่าการปรับโครงสร้าง ศธ.จะมีการยุบหรือไม่ยุบหน่วยงานไหน เพราะเมื่อมีการปรับโครงสร้างเกิดขึ้น ภาพรวมของการขับเคลื่อนงานนั่นคือไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน 

“ผมต้องการย้ำนโยบายของ ศธ.ที่ได้วางแผนขับเคลื่อนไว้ไม่ว่าจะเป็นการให้โรงเรียนทุกแห่งทั่วประเทศมีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในปีการศึกษา 2563 การดำเนินการโรงเรียนสองภาษา รวมถึงปัญหาครู ซึ่งผมมองว่าครูมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการยกระดับการศึกษา แต่ขณะนี้เรากลับพบว่าครูมีปัญหารุมเร้าต่างๆ มากมายทั้งหนี้สินครู และภาระงานครูที่มากกว่าการจัดการเรียนการสอน ดังนั้นผมจะมาช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตครูให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอน เรื่องวิทยฐานะ หรือแม้แต่ปัญหาหนี้สินครู ที่ถือเป็นเรื่องที่บั่นทอนจิตใจครูมาก ซึ่งผมมองว่าอาจจะต้องมีหน่วยงานระดับจังหวัดขึ้นมาดูแลบริหารจัดการหนี้สินครูเป็นการเฉพาะ เพราะเราคงปล่อยให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) เข้ามาจัดการเรื่องนี้เพียงลำพังคงไม่ได้แล้ว"
นายณัฏฐพล กล่าวอีกว่า  ขณะเดียวกันครูเองก็จะต้องเพิ่มทักษะการเรียนรู้ในโลกศตวรรษที่21 ด้วย โดยช่วงเดือนที่ผ่านมาสัมผัสได้ว่าเด็กระดับมัธยมศึกษายังขาดทักษะเทคโนโลยี  จึงมีความกังวลเรื่องครูที่มีทักษะความสามารถด้านการสอนคอมพิวเตอร์ นวัตกรรม และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ดังนั้นในอนาคตเราจะวางแผนเพิ่มอัตราครูในด้านนี้ได้อย่างไรบ้าง    เพราะเป็นเรื่องสำคัญหากเราไม่มีครูที่เชี่ยวชาญด้านนี้จะไม่สามารถกระจายความรู้เรื่องเทคโนโลยีให้เด็กได้ จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องผลิตครูด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้มากขึ้น นอกจากนี้  ตนยังพบว่าเด็กไทยไม่กล้าแสดงออก  ไม่มีความเป็นผู้นำเท่าที่ควร จึงขอให้ สพฐ.ไปคิดหลักสูตรใหม่ที่จะทำอย่างไรให้ดึงศักยภาพเด็กไทยให้มีความกล้ามากขึ้น
 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"