ม.มหิดล เปิดตัวห้องปฏิบัติการไฮเทค แห่งแรกของอาเซียน


เพิ่มเพื่อน    

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา –   รองศาสตราจารย์ นพ.ธันย์  สุภัทรพันธุ์  รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เป็นประธานในพิธีเปิด “หน่วยปฏิบัติการชีววิทยาศาสตร์ระบบดิจิทัล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” ณ อาคารวิทยาศาสตร์ 3 ห้องปฏิบัติการกลาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา เวลา 14.00 น. ในงานดังกล่าว ได้มีการเปิดตัวและสาธิตห้องปฏิบัติการที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย สามารถเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพสำหรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งด้านชีววิทยา จุลชีววิทยา ชีวเคมี และวิทยาศาสตร์การแพทย์แขนงต่างๆ

โดยที่รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หน่วยปฏิบัติการชีววิทยาศาสตร์ระบบดิจิทัลฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงบประมาณร่วมกับเงินอุดหนุนของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีงบประมาณในการปรับปรุงทั้งกล้องระบบดิจิทัลและชุดโมเดลมีมูลค่ารวมกว่า 50 ล้านบาท ประกอบด้วยห้องเรียนและระบบปฏิบัติการแบบดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย เพื่อยกระดับศักยภาพของห้องปฏิบัติการทางชีววิทยาเดิม โดยปรับปรุงเทคโนโลยีด้านกล้องจุลทรรศน์และเลนส์ประกอบ ที่สามารถต่อกับกล้องดิจิทัลความละเอียดสูง สามารถแสดงภาพขึ้นสู่จอโทรทัศน์ขนาด 40 นิ้วที่ติดตั้งสำหรับผู้เรียนทุกกลุ่มย่อยได้อย่างเจาะจง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังได้ออกแบบและจัดหาห้องควบคุมที่สามารถให้ผู้เรียนและผู้สอนสื่อสารกันได้แบบสองทิศทาง สามารถนำเสนอผลการศึกษาและภาพจากห้องเรียนหนึ่งไปสู่อีกห้องเรียนผ่านระบบ

 

เพื่อช่วยให้เกิดแลกเปลี่ยนกันระหว่างผู้เรียนแบบ real-time ระบบดังกล่าวยังได้จัดอุปกรณ์สนับสนุน ได้แก่ แทปเลต ให้นักศึกษาทุกกลุ่มย่อย สามารถทำการบันทึกภาพ วิเคราะห์ และประมวลข้อมูลผลการทดลองได้อย่างรวดเร็ว คณะฯ ยังได้ทำการเพิ่มจุดสัญญาณอินเตอร์เน็ตภายในห้องเรียน ทำให้นักศึกษาสามารถใช้อุปกรณ์สื่อสารของตนเองดาวน์โหลดข้อมูลจากผลปฏิบัติการ ทำการทดสอบบทเรียน ส่งงาน และค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้อย่างอิสระกว้างขวาง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการส่งเสริมศักยภาพและทักษะการเรียนรู้อย่างไร้ขีดจำกัด

 การเปิดตัวของหน่วยปฏิบัติการชีววิทยาศาสตร์ระบบดิจิทัลฯ ในครั้งนี้ เป็นการแสดงความสำเร็จในเฟสแรกของโครงการ ที่ออกแบบระบบห้องปฏิบัติการ 2 ห้องให้สามารถรองรับการเรียนได้พร้อมกัน 40 กลุ่ม ทำให้เรียนสามารถเรียนพร้อมกันได้จำนวน 250 คน ทั้งนี้ เมื่อเสร็จสมบูรณ์ทั้ง 6 ห้อง ในปี 2563 จะสามารถรองรับผู้เรียนได้พร้อมกันได้กว่า 800 คน เป็นระบบที่มีศักยภาพทันสมัยในระดับแนวหน้าของอาเซียน

ทั้งนี้  รองศาสตราจารย์ นพ.ธันย์  สุภัทรพันธุ์  ประธานในพิธีเปิดฯ ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า หน่วยปฏิบัติการชีววิทยาศาสตร์ระบบดิจิทัล ของคณะวิทยาศาสตร์ เป็นระบบปฏิบัติการที่มีศักยภาพความพร้อมในการรองรับทั้งงานวิจัย การเรียนการสอน และการจัดอบรมเพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ กับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชนและองค์กรอิสระ เพื่อเป้าหมายในการยกระดับการเรียนการสอนชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทยให้ทันสมัยได้มาตรฐานระดับโลกและเหมาะสมกับผู้เรียนในทุกระดับ อันจะเป็นประโยชน์ที่เกิดกับการศึกษาวิทยาศาสตร์ของประเทศในวงกว้างต่อไป และในงานนี้ทางมหาวิทยาลัยมหิดล ก็ได้เรียนเชิญผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้แทนจากโรงเรียนเครือข่ายทั่วประเทศของคณะวิทยาศาสตร์ ให้เกียรติมาร่วมชมการเปิดตัวหน่วยปฏิบัติการชีววิทยาศาสตร์ระบบดิจิทัล ครั้งนี้ด้วย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"