เครือข่ายเยาวชน จี้สธ.เอาผิดป้ายโฆษณาเบียร์ลีโอ ตึก“เปรมชัย” พร้อมมอบหลักฐานป้ายโฆษณาน้ำเมาผิดกฎหมายสารพัดยี่ห้อ เกลื่อนพื้นที่กทม.
14 มี.ค.-)ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นายธีรภัทร์ คหะวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ พร้อมด้วย นายวันชัย พูลช่วย เลขานุการเครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจสุรา และกลุ่มเยาวชน กว่า 20 คน นำหลักฐานการกระทำผิดกฎหมายของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยื่นถึง ศ. คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยมี นพ.กิตติศักดิ์ กลับดี ที่ปรึกษารมว.สธ. เป็นผู้รับมอบแทน โดยทางเครือข่ายฯ ได้นำหลักฐานเป็นป้ายโฆษณา ทั้งในรูปแบบของป้ายบิลบอร์ดขนาดใหญ่ ป้ายติดบนผนังตึก อาคารสูง ตามสถานที่ต่างๆในกทม. เช่นกรณี ป้ายบนตึกอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) ที่มีนายเปรมชัย กรรณสูต เป็นประธานบริหารบริษัท
นายธีรภัทร์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เครือข่ายฯเยาวชนได้เข้าร้องเรียนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กรณีป้ายโฆษณาบนตึกสูงที่ผิดกฎหมาย ป้ายโฆษราบนตึกอิตาเลียไทยฯ รวมไปถึงป้ายโฆษณาตู้ไฟ ตามร้านเหล้าผับบาร์ต่างๆ ที่มีการใช้ตราสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ ยังเห้นมีการติดเกลื่อนเมืองและยังไม่ได้รับคำตอบใดๆจาก กทม. จึงได้นำหลักฐานต่างๆมามอบให้กับ สธ.เพื่อให้เอาผิดตามพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 32 ทั้งนี้หากดำเนินคดีถึงที่สุดแล้วเราขอให้สธ. นำเงินสินบนนำจับที่ได้จากค่าปรับ ซึ่งคิด 30 % จากจำนวนค่าปรับทั้งหมด มอบเข้ากองทุนที่ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำเมา
ขณะที่ นายวันชัย กล่าวถึงข้อเสนอต่อสธ. ในฐานะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบกฎหมายฉบับนี้โดยตรง ดังนี้ 1. ขอให้ตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายกับผู้ดำเนินการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในทุกพื้นที่ ซึ่งขัดพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 32 และกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแสดงภาพสัญลักษณ์เพื่อประกอบการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในรูปของป้ายบิลบอร์ดขนาดใหญ่ ป้ายโฆษณาที่ติดบนผนังตึก อาคารสูง รวมไปถึงป้ายโฆษณาเบียร์ลีโอบนตึกอิตาเลียนไทยฯ ตลอดจนป้ายโฆษณาที่มีสัญลักษณ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามตู้ไฟ ตามร้านเหล้าผับบาร์ต่างๆ รวมไปถึงตราสัญลักษณ์ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งพบว่ามีป้ายการโฆษณาดังกล่าวจำนวนมาก 2. ขอให้กระทรวงสาธารณสุขหาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการโฆษณาของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ใช้ตราสัญลักษณ์ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาทิเช่น น้ำดื่ม น้ำโซดา ฯลฯ อย่างเป็นรูปธรรมโดยด่วน ตลอดจนปัญหาการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านสื่อออนไลน์ ที่กำลังระบาดอย่างรุนแรง และ 3. ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2561 เครือข่ายขอเรียกร้องไปยังผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้เคารพกฎหมายและหยุดหาช่องเพื่อโฆษณาหลบเลี่ยงกฎหมาย ทำการตลาดที่ไร้ซึ่งความรับผิดชอบ
นพ.กิตติศักดิ์ กลับดี ที่ปรึกษา รมว.สธ. กล่าวว่า จะนำเรื่องเสนอต่อ รมว.สธ.เพื่อพิจารณาต่อไป เพราะตราสัญลักษณ์ที่คล้ายคลึงกัน ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดซึ่ง อาจจะต้องมีการปรับปรุงกฎหมาย เพราะเครื่องดื่มแอลกอออล์เป็นสาเหตุขอการบาดเจ็บและเสียชีวิต ดังนั้นหากใครพบเห็นการติดป้ายในลักษณะเช่นนี้อีกก็สามารถแจ้งมาได้ จะเป็นผลดีแก่พี่น้องประชาชน
นพ.นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผอ.สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า สธ.ไม่ได้มีอำนาจที่จะปลดป้ายลง โดยเบื้องต้นอาจจะเข้าข่ายความผิดในมาตรา 32 เจ้าหน้าที่ของพื้นที่สามารถดำเนินการได้เลย แต่อาจจะกำกึ่งว่าจะมีความผิดหรือไม่เพราะตราดังกล่าวเป็นตราของโซดาที่จดทะเบียนอยู่ในหมวดพรบ.ของอาหาร ตัวหนังสือเป็นสีแดง พื้นเป็นสีขาว อาจจะต้องใช้คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้ามาช่วยดู ซึ่งหากคณะกรรมการจังหวัดของกทม.เห็นว่ามีความผิดก็ลงโทษได้เลย หากไม่สามารถตัดสินได้ก็ส่งเรื่องขึ้นมาที่คณะกรรมการแห่งชาติอีกครั้ง ในส่วนของการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยใช้ตราสัญลักษณ์ ข้อความหรือภาพนั้น หากเป็นความผิดตรงๆ จะเข้าข่ายโทษตามมาตรา 32 มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะถูกปรับอีกวันละ 50,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง ซึ่งปัญหาการตราสัญญาลักษณ์ที่ก่ำกึ่งนั้นอนุกรรมการพิจารณาความผิดไม่ได้นิ่งนอนใจ ซึ่งอาจจะต้องมีการแก้กฎหมายต่อไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |