ในอีก4-5 ปีข้างหน้ารถไฟฟ้าสายสีแดงวิ่งด้วยความเร็ว160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงที่ประกอบไปด้วยสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต) ระยะทาง8.84 กม.และสายสีแดงอ่อน(ศาลายา-ตลิ่งชัน-ศิริราช) ระยะทาง14.8 กม. จะเกิดขึ้นเพื่อเชื่อมต่อระบบการเดินทางจากเมืองสู่ชานเมืองที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นการผลักดันระบบรางดังกล่าวจำเป็นต้องตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีทั้งสถานีศาลายาและสถานีธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิตให้มีประสิทธิภาพด้านคมนาคมขนสูงสุดตลอดจนบรรเทาปัญหาด้านการจราจรตัวการก่อฝุ่นจิ๋วPM 2.5 ภัยเงียบที่ทำลายสุขภาพอย่างรุนแรง
โมเดลการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน(ทีโอดี) ถูกหยิบยกมาใช้พัฒนาพื้นที่รอบสถานีศาลายาและธรรรมศาสตร์จุดเด่นเป็นรูปแบบการพัฒนาที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสานทั้งที่พักอาศัยอาคารพาณิชย์สำนักงานและการใช้ประโยชน์ที่ออกแบบมารองรับความต้องการของผู้ใช้รถไฟฟ้าสีแดงเป็นหลักสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเดินเท้าและใช้จักรยานจากสถานี มีพื้นที่เชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนที่หลากหลายลดพึ่งพาการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลที่ปล่อยมลพิษ
ล่าสุด ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลนำโดย ผศ.ดร.วศพร เตชะพีรพานิช รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ในฐานะหัวหน้าแผนงานวิจัยเพื่อการศึกษาแนวทางพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนรางสายสีแดงอ่อน และ รศ.ดร.ภาวิณี เอี่ยมตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์แห่งความเห็นเลิศทางวิชาการด้านวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการขนส่งเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เผยแผนงานที่ทำการศึกษาแล้วเสร็จ เพื่อผลักดันสู่การปฏิบัติ งานวิจัยดังกล่าวได้ทุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
นคร จันทศร ที่ปรึกษา สวทช. กล่าวว่าการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงถ้าทำทีโอดีได้ดีจะเกิดผลดีและคุ้มค่า กับการลงทุนทั้งสองโครงการ ที่มีมูลค่ากว่า16,772 ล้านบาท ในระดับสากลก็ใช้แนวคิดทีโอดีในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้า เช่น กรณีประเทศญี่ปุ่น คนเดินทางในโตเกียว100 คนจะใช้ระบบราง70 คน เพราะมีการจัดการที่ดี คนเข้าถึงระบบได้ง่ายไม่มีปัญหาการจราจรติดขัด เพราะห้ามรถยนต์เข้าใกล้สถานีไม่มีการจัดลานจอดติดสถานี เน้นใช้ระบบขนส่งสาธาธารณะจริงๆ จึงเห็น"ทีโอดี"ที่พัฒนาเรียงรายสองข้างทางรถไฟฟ้า ซึ่งหลักใหญ่ของการพัฒนา ก็คือ การทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนได้ด้วยการเดินเท้าภายในเวลา5 นาที ถัดมาเป็นการใช้จักรยานและรถยนต์ส่วนตัว ส่งผลให้ภาพรวมของประเทศญี่ปุ่นดีขึ้นตามลำดับเกิดการใช้ที่ดินในการพัฒนาเมือง
“ หันกลับมาดูบ้านเรา เมืองรุกชนบทรุกพื้นที่สีเขียว รุกพื้นที่เกษตรกรรมขึ้นเรื่่อยๆ นี่คือปัญหาใหญ่ของไทย เราไม่สามารถรักษาชนบทไว้ได้ ญี่ปุ่นใช้พลังงานในภาคขนส่งน้อยมาก ต่างจากไทยใช้ภาคขนส่งอันดับหนึ่งร้อยละ40 เผาน้ำมันทิ้งไปทุกๆวันสร้างมลพิษทางอากาศระยะหลังเริ่มมาตระหนักและพบว่าเสียค่าใช้จ่ายไปกับการขนส่งมากกว่าร้อยละ30 ถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องปรับวิธีคิด“ นครกล่าว
ที่ปรึกษา สวทช. กล่าวต่อว่าไทยเผชิญปัญหางูกินหาง ในการขนส่งทางถนนเพราะที่ผ่านมาเราบริหารจัดการ การขนรถ พอรถติดก็ขยายถนน แต่รถกลับติดมากขึ้น เพราะคนใช้รถเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผ่านมา20 ปีเราก็ยังไม่ออกจากวงจรนี้ ทางออกของปัญหา คือ ต้องเปลี่ยนเป็นบริหารจัดการขนคน ส่วนเหตุที่ควรใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพราะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดิน รถหนึ่งคันกินพื้นที่บนถนน 8-10 เมตร ขนคนได้1-2 คนเท่านั้น ด้วยพื้นที่เท่ากันรถไฟขนคนได้40 คนขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ระะบบขนส่งทุกประเภทมีข้อเด่นและข้อด้อย ระบบรางต้องบริหารการเข้าถึงให้มีประสิทธิภาพที่สุดและเวลาที่ใช้ในระบบขนส่งมวลชนต้องไม่เกิน1.5 ชั่วโมง ต้องลดเวลาที่ใช้การรอด้วย
นคร ชี้ว่าไทยหยุดพัฒนารถไฟมา60 ปีทำให้เกิดเมืองตามถนนจากข้อมูลปี61 อำเภอ เมืองมีความหนาแน่นของประชากร600 คนต่อตารางกิโลเมตร แต่สำหรับ อำเภอเทพารักษ์ มีคนหนาแน่นมาก จำนวน 5,000 กว่าคนต่อตารางกิโลเมตร แสดงถึงการเติบโตแบบไร้ทิศทาง และขาดผังเมืองควบคุม หากเราต้องทำการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง จะต้องตอบโจทย์แหล่งงา นแหล่งที่อยู่อาศัย และแหล่งที่พักผ่อนหย่อนใจภาพรวมเป็นบ้านที่อยู่แล้วสบายใจ หากทำสถานีศาลายา เป็นตัอย่างนำร่องจะมีการขยายผลพัฒนาพื้นที่รอบสถานีอื่นๆต่อไป
“ เมืองที่ปล่อยให้เติบโตโดยไม่ได้มีการบริหาร ปราศจากผังเมืองที่ดี เป็นเมืองที่เติบโตด้วยการชี้นำจากโครงสร้างถนน แต่สำหรับเมืองที่จะโตด้วยการเกิดโครงการรถไฟฟ้า การพัฒนารอบสถานี ไม่ใช่การพัฒนาที่ดินให้มีราคาแพง แต่วัตถุประสงค์จริงๆ คือ เราต้องสร้างความตระหนักของการพัฒนา ตามอย่างประเทศพื้นที่เล็กแต่มีพลเมืองมากอย่างญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง แต่สำหรับ ไทยคิดว่ามีพื้นที่มากสร้างอะไรก็ได้ แต่วัตถุประสงค์การมีระบบขนส่งสาธารณะของเรา คือความต้องการจะเพิ่มสัดส่วนการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ และลดสัดส่วนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล และการทำให้เกิดความสะดวกในการเขาถึงระบบขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะการเดินเท้าในการเชื่อมต่อระบบ ต้องมีความสะดวก เป็นไปอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับการใช้รถส่วนตัว นอกจากนี้ ยังต้องประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะอนาคตอยู่ในเมืองเราและต้องใช้เวลาในการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน“ นคร กล่าว
ตามแผนการสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน สถานีศาลายา จะอยู่ห่างมหาวิทยาลัยไม่ถึง200 เมตร ผศ.ดร.วศพร เตชะพีรพานิช หัวหน้าแผนงานฯ เสนอแนวความคิด"ทีโอดี"ของสถานีศาลายาว่า จากรั้วมหาวิทยาลัยเดินไปสถานีศาลา มีระยะทางแค่ 200 เมตร หรือถ้าเดินจากสถานีไปคลองมหาสวัสดิ์ใกล้นิดเดียว ซึ่งระยะทางดังกล่าว ควรมีการพัฒนาเชื่อมระบบขนส่งมวชน ล้อรางและเรือได้ สำหรับสภาพปัญหาปัจจุบัน พบว่าพื้นที่ ที่ศึกษามีปัญหาจราจรติดขัด และมีความเสื่อมโทรมตรงบริเวณทางเดินข้ามไปสถานี มีความไม่ปลอดภัย ซึ่งหากปล่อยไปตามยถากรรม จะไม่มีโครงข่ายทางเดินเท้าถึงสถานี เพราะกลางคืนก็มืดเปลี่ยว มีกรณีตัวอย่างจากพื้นที่รอบสถานีแอร์พอรต์ลิ้ง ที่มีเส้นทางอ้อม ไม่สะดวกเดินทาง
ดร.วศพร เสนออีกว่า อย่างไรก็ตาม เจ้าของพื้นที่โดยรอบสถานีศาลายา มีการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) สำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ราชพัสดุ ม.มหิดลทางหลวงชนบท ทางหลวงแผ่นดิน และถนนเทศบาล หัวหน้าแผนฯระบุชุดการพัฒนาต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ครบถ้วน
ผลวิจัยทีโอดี ที่ควรจะเป็นยังสะท้อนศักยภาพในพื้นที่ศาลายา ผศ.ดร.วศพร นำเสนอว่าศาลายามีที่ดินผืนใหญ่จำนวนมาก ภายในรัศมี500 เมตร จากสถานีศาลายา มีตลาด วัด โรงเรียน มหาวิทยาลัยและในรัศมี 2 กิโลเมตร มีโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ประกอบกับ ยังมีคนใช้บริการรถไฟ หากรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนมาและเชื่อมต่อระบบเดินทางให้ดี จะเสริมศักยภาพการพัฒนาพื้นที่ขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม ตัวแบบของสถานีศาลายาใหม่ ก็พบปัญหาการตัดกันของสะพานข้ามทางรถไฟ กับทางรถไฟยกระดับ และพื้นที่ด้านล่างทางรถไฟฟ้ายกระดับจะทำอะไรใช้ประโยชน์อย่างไรแนวคิดทีโอดีหลักๆจะทำทางเดินทางจักรยานการเชื่อมต่อและการขนส่ง
“ มีการวาดอนาคตพื้นที่สถานีศาลายา เราทำการศึกษาตั้งแต่ปี2560 ส่งข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เทศบาลทำเส้นทางเดินริมคลองมหาสวัสดิ์ วันเสาร์-อาทิตย์ ทำให้เป็นเส้นทางจักรยาน นอกจากนี้ ควรผลักดันกรมโยธาธิการฯ จัดให้เป็นพื้นที่พาณิชกรรมทั้งผืน ปรับเป็นผังสีแดง ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางรายได้ให้กับพื้นที่และชุมชน “ ผศ.ดร.วศพร กล่าว
ผลศึกษายังได้เสนอแนะการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีศาลายา ใน2 ระยะ หัวหน้าแผนฯกล่าวเพิ่มเติมว่าระยะที่1 ม.มหิดล อยากชวน ทำทางเดินเท้าและทางจักรยานขึ้นใหม่ เชื่อมจากมหาวิทยาลัยมายังสถานีศาลายาระยะทาง200 เมตร ส่งเสริมการเดินในเชิงพื้นที่ คนทุกวัยสามารถเดินได้สะดวกเพราะทุกปีจะมีนักศึกษาใหม่กว่า5,000 คน ที่สามารถจะมาใช้บริการรถไฟฟ้าสีแดง ร วมถึง คนพื้นถิ่นด้วย นอกจากนี้ ศาลายามีประวัติความเป็นมา มีแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ และวัฒนธรรมที่โดดเด่น ระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพจะสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรม
" ในเฟสแรกยังรวมถึงปรับปรุงทางเท้าและทางจักรยานริมคลองมหาสวัสดิ์และรวมจุดเชื่อมต่อรถโดยสารสาธารณะให้อยู่บริเวณด้านหน้าสถานีและปรับปรุงป้ายรถเมล์จัดทำจุดจอดรับ-ส่งผู้โดยสารรถตู้สาธารณะด้วย"นักวิชาการายนี้กล่าว
ส่วนในระยะที่2 เน้นปรับปรุงโครงข่ายถนนซึ่งต้องได้รับความสนับสนุนจากรฟท. ทล.และกทม. นอกจากนี้จัดทำทางกลับรถใหม่2 จุด เพื่อจัดการจราจรให้สามารถเลี้ยวเข้าสู่ถนนเลียบทางรถไฟเพื่อความคล่องตัวในการจราจร ปรับปรุงพื้นที่สถานีเป็นพื้นที่สีเขียวมีลานกิจกรรมพื้นที่เชิงพาณิชย์ รวมถงปรับปรุงทางเข้าหลักสถานีรถไฟให้เป็นทางเดินและทางจักรยาน โดยสำนักทรัพย์สินฯปรับปรุงการใช้พื้นที่ให้เป็นพื้นที่พาณิชยกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจ นอกจากพัฒนาพื้นที่แล้ว ต้องทำให้ผู้ใช้เห็นว่าระบบขนส่งสาธารณะ เป็นทางเลือกที่ดีกว่ามีค่าใช้จ่ายถูกกว่ารถส่วนตัว แต่ก็ต้องเพิ่มความถี่เดินรถจัดให้มีตารางที่แน่นอนด้วย
(จากซ้ายไปขวา )นคร จันทศร ที่ปรึกษา สวทช. ,รศ.ดร.ภาวิณี เอี่ยมตระกูล จากม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และดร.วศพร เตชะพีรพานิช จากม.มหิดล
ฝั่งสถานีธรรมศาสตร์ ก็นำเสนอน่าสนใจ รศ.ดร.ภาวิณี เอี่ยมตระกูล หัวหน้าแผนงานฯ กล่าวว่า สถานีธรรมศาสตร์(ศูนย์รังสิต) รองรับรถไฟฟ้าสายสีแดง ขณะนี้ภาคเอกชนกว้านซื้อที่ดินในพื้นที่รองรับการเติบโตดังกล่าว รัฐบาลลงทุนระบบรางมหาศาลลงในพื้นที่ธรรมศาสตร์ซึ่งมีกลุ่มคนที่ใช้พื้นที่มีความหลากหลายที่ชัดเจนมีพื้นที่ที่ยังพัฒนาอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพมีทรัพยากรที่เอื้อต่อการพัฒนาที่หลากหลายและศักยภาพของการพัฒนาพื้นที่ไม่ใช่คิดแค่ขนคน2-3 หมื่นคนต่อวันหรือจัดทำจุดจอดรถหากพัฒนาพื้นที่แบบเข้มข้นทำได้จริง จะลดมลพิษอากาศลดฝุ่นละอองขนาดเล็กPM 2.5 การพัฒนาต้องนำเรื่องความยั่งยืนเข้าไปใส่แนวคิดนี้นำมาสู่การศึกษาวจัยหาแนวทางการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชนระบบรางที่เอื้อต่อการใช้ระบบขนส่งสาธารณะสถานีธรรมศาสตร์
“ หากจะผลักดันให้การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีเข้าใกล้ความสำเร็จต้องมีแผนพัฒนาเอื้อต่อการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อพัฒนาที่ยั่งยืนส่งเสริมการเชื่อมต่อการใช้ระบบขนส่งมวลชนระบบรางของคนทุกกลุ่มรวมถึงมีกลยุทธ์การวางแผนเมืองและออกแบบสิ่งแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อการพัฒนาบริเวณรอบสถานี สร้างความเป็นย่านศูนย์กลางธุรกิจและการค้า นี่คือการสร้างสภาพแวดล้อมสรรสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินคนเกิดสภาวะความสบายภายนอกอาคารมากที่สุดนอกจากนี้รอบธรรมศาสตร์ผู้มีรายได้น้อยสามารถอาศัยอยู่ใกล้สถานีรถไฟในรัศมี500-800 เมตร“ รศ.ดร.ภาวิณี กล่าวและเสริมว่า รัฐและประชาชนในพื้นที่ต้องร่วมคิดร่วมออกแบบเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
มุมมองผู้บริหารกับแผนพัฒนาพื้นที่รอบธรรมศาสตร์ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต มธ. กล่าวว่าการขนส่งและการผลิตทุกครั้งปล่อยก๊าซเรือนกระจกเวลานี้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นต่อเนื่องแตะระดับ415 PPM ถือว่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์ก๊าซเรือนกระจกห่อหุ้มโลกก่อให้เกิดสภาพความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ กรีนแลนด์ธารน้ำแข็ง700 ปีละลายหมดแล้วระดับน้ำทะเลสูงขึ้นปริมาณน้ำที่มากกวาเดิมส่งผลต่อความแปรปรวนของสภาพอากาศพายุรุนแรงหิมะตกในทะเลทรายซาฮาร่าติดต่อกัน3 ปีขั้วโลกใต้อุณภูมิสูง48 องศาไฟป่าเกิดถี่ขึ้นเกิดง่ายและลุกลามเร็วทุกครั้งที่เกิดไฟป่าทำลายต้นไม้ที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนปล่อยก๊าซออกซิเจนให้มนุษย์หายใจเป็นวัฏจักรเร่งให้เกิดหายนะปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อนดินดินถล่มเกิดถี่ขึ้นแต่ดูเหมือนความตื่นตัวของคนไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลดลงเราตัดไม้ทำลายป่าไปแล้ว2 ใน3 และยังไม่หยุดใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย
“ โลกร้อนขึ้นจากก๊าซคาร์บอนจากกิจกรรมมนุษย์นำมาสู่ประเทศต่างๆตกลงกันพัฒนาอย่างยั่งยืนและโลกไม่ร้อนเกิน2 องศาแต่มีข่าวร้ายล่าสุดโลกเรารับมือไม่ได้เกิน1.5 องศาถ้าเกินกว่านี้แก้ไม่ได้แล้วยังไม่รวมก๊าซมีเทนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าคาร์บอน25-30 เท่าข่าวดียูเอ็นบอกมีโอกาสแก้ไขได้67% ซึ่งทุกคนต้องช่วยกัน“ ผศ.ดร.ปริญญา กล่าว
เดินหน้าลดใช้พลังงานรองอธิการบดีฯกล่าวในประเด็นนี้ว่าม.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิตทำเรื่องพลังงานอย่างจริงจังเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์งบ600 ล้านบาทบนอาคาร50 อาคารใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผ่านอุปสรรคเรื่องเงินด้วยให้เอกชนมาร่วมลงทุน นอกจากนี้ทำเรื่องระบบขนส่งแต่เมื่อรถยนต์อีวีของไทยภาครัฐไม่สนับสนุนเราจึงทำโซลาร์บัสและมอเตอร์ไซด์รับจ้างอวีวีแล้วยังมีโปรเจ็ครถยนต์อีวีแชร์ลิ่ง4 คันนำร่องเราลงมือทำแผนในกระดาษยุทธศาสตร์ชาติมีมากมายแต่ใครลงมือทำอีกทั้งความผิดพลาดคือวัดความเจริญเติบโตด้วยผลิตภัณฑ์แต่โลกมีทรัพยากรจำกัดโลกร้อนขึ้นทุกที
“ แผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีตามแนวคิดทีโอดี จะมีอาคารหนาแน่นปานกลางเน้นการเดินเท้าและการใช้จักรยานสร้างพื้นที่สาธารณะและพื้นทีสีเขียวระหว่างกลุ่มอาคารนอกจากนี้รถไฟสายสีแดงจะทำให้พื้นที่เติบโตขึ้นคนเพิ่มขึ้นปริมาณขยะจะมากขึ้นฉะนั้นต้องวางแผนจัดการขยะโรงไฟฟ้าจากขยะเป็นทางออกแต่ต้องทำควบคู่กับการลดขยะที่ต้นทางและจะส่งเสริมการใช้พื้นที่ในมหาวิทยาลัยเช่นหลังคาอาคารป๋วย100 ปี ปลูกผักออร์แกนิคและทำนาขั้นบันไดและอีกแปลง5 ไร่ทำฟาร์มออร์แกนิคผลผลิตนำมาบริโภคและจำหน่ายการวางแผนพัฒนาพื้นที่ต่างคนต่างทำไม่สำเร็จจะต้องมีเป้าหมายร่วมกันคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนการศึกษาต้องตอบโจทย์ไม่ใช่ทำลายสิ่งแวดล้อมให้แย่ลงผลักสู่เหวแห่งหายนะ รถไฟสายสีแดงจะช่วยให้คนใช้รถส่วนตัวน้อยลงเรื่องระบบการขนส่งคนจากสถานีรถไฟไปจุดหมายปลายทาง ธรรมศาสตร์อาจจะกู้เงินมาลงทุนหรือคัดเลือกบริษัทมาร่วมทำต้องพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสมต่อไป “ผศ.ดร.ปริญญา กล่าวถึงแผนพัฒนาในท้าย
หากแผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟทั้งสองพื้นที่มีการส่งเสริมและได้รับการตอบรับนำไปทำจริงจะถือเป็นโมเดลแรกในประเทศไทยที่สะท้อนการพัฒนาพื้นทีที่ไม่ละเลยวิถีวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมทำให้เติบโตอย่างเข้มแข็ง