ประธานศาลฎีการับชาวบ้านมองศาลถูกการเมืองแทรก! ทั้งที่คดีละเมิดกฎหมายอาญาโดยตรง แต่ประชาชนแยกไม่ออก จี้ต้องเร่งพีอาร์ “ช่อ” ท่องคาถาไม่มียุบส้มหวานแน่ แผ่นเสียงตกร่องหากมีจริงเพราะอภินิหารทางกฎหมาย
นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา ได้กล่าวแถลงนโยบายตอนหนึ่งเกี่ยวกับการสำรวจความคิดเห็นในการทำนโยบายประธานศาลฎีกา ในประเด็นด้านการสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อศาลยุติธรรมของประชาชน เมื่อวันที่ 7 พ.ย. ที่โรงแรมวอลดอร์ฟ แอสโทเรีย ว่าน่าดีใจมาก ข้าราชการของเราให้ข้อคิดเห็นมาว่าศาลควรให้ความสำคัญเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมมากที่สุด ให้ประชาชนสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นได้ โดยเฉพาะแบบสำรวจออนไลน์มีการรับฟังความคิดเห็นมากขึ้น แต่ให้กระทำด้วยความระมัดระวัง ซึ่งคิดว่าเราเดินถูกทางแล้วในการเปิดเวทีให้บุคคลที่มีส่วนได้เสียในกระบวนการยุติธรรมทั้งหมดมีส่วนในการรับฟังความคิดเห็นด้วย และเชื่อว่าผู้บริหารทุกท่านใช้วิธีคิดนี้ เราจะรู้เห็นปัญหาล่วงหน้า แล้วเราจะรู้ว่าภัยอะไรจะเกิดขึ้น
นายไสลเกษกล่าวอีกว่า ประชาชนทั่วไปให้ความเห็นเพิ่มเติมมาว่า ศาลควรให้ความสำคัญกับความเป็นอิสระหรือความเป็นกลางของผู้พิพากษา โดยเฉพาะความรู้สึกของประชาชนส่วนมากเห็นว่าศาลใช้กฎหมายตอบสนองความต้องการทางการเมือง ตรงนี้เราไม่แน่ใจว่าการสื่อสารนี้หมายถึงอะไร เราตัดสินคดีเสื้อเหลือง เสื้อแดง พรรคการเมือง หรือความขัดแย้งทางการเมือง หรือศาลไหนกันแน่ที่ตัดสิน เนื่องจากยุคปัจจุบันนี้มีถึง 3 ศาล ไม่นับศาลทหารบทค่อนข้างน้อย ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลยุติธรรม ศาลไหนประชาชนอาจเกิดความสับสนได้ ว่าคดีที่ตัดสินเกี่ยวกับการเมือง แล้วก็ใช้ตอบสนองความต้องการทางการเมือง ตอบสนองใคร ตอบสนองผู้มีอำนาจรัฐทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมา จะมีประเด็นข้อนี้เสมอ เราจะแก้ปัญหาอันนี้อย่างไร
“ในเบื้องต้นงานของเราแทบไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นความขัดแย้งทางการเมือง จะมีก็คดีอาญาที่เกี่ยวพันกับการที่ละเมิดกฎหมายอาญาโดยตรง เช่น บุกรุก เผา ทำลาย อะไรทำนองนี้ ทำให้เสียทรัพย์อะไรพวกนี้เกี่ยวข้อง จริงๆ ในเนื้อหาของมันตรงไปตรงมาไม่ได้มีอะไรยาก แต่ประชาชนแยกไม่ออกว่ากลุ่มนี้โดน กลุ่มนี้ทำไมไม่โดน แล้วโดนด้วยศาลอะไร จุดนี้ก็เป็นจุดอ่อนที่เราอาจต้องใช้งานประชาสัมพันธ์ในการดูแลความเข้าใจว่าศาลเราถูกแทรกแซงทางการเมือง แล้วก็เรื่องล่าสุดชัดเจนก็มีคนพยายามโยงที่ยะลาใช่ไหมครับ มีคนพยายามโยงว่าโดยที่เขาจินตนาการโดยแท้จริงเลย พอเกิดเรื่องปั๊บพูดไปได้เป็นวรรคเป็นเวรว่าเราต้องตัดสินคดีให้สอดคล้องกับความมั่นคง เป็นเรื่องทางการเมืองไป ซึ่งมันไม่ได้มีอะไรโยงใยเลย” ประธานศาลฎีกากล่าว
วันเดียวกัน น.ส.พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) ทวีตข้อความว่า #อนาคตใหม่ ว่าไม่มีพรรคสำรอง เรายังคงเดินหน้าทำงานทั้งในและนอกสภา คดีความต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นคดีการเมืองไม่มีทางจะยุบพรรคอนาคตใหม่ได้ เราเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของเรา ถ้าจะยุบอนาคตใหม่ก็เพราะเราขวางทางผู้มีอำนาจ จนต้องอาศัยอภินิหารทางกฎหมายกำจัดเราโดยไม่สนใจหลักนิติรัฐอีกแล้ว
ขณะที่ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ อยู่ไม่เป็นก็ไม่ต้องอยู่ ว่าบ้านเมืองเรามีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีจารีต วัฒนธรรมประเพณีที่ดี การไหว้ครู พวกคุณก็ไม่เอา, มีศาสนาที่หลากหลายเปิดโอกาสให้ประชาชนนับถืออย่างเสรี พวกคุณก็ไม่เอา, มีความเป็นพี่เป็นน้อง ลุงป้าน้าอา มีรอยยิ้ม พวกคุณก็ไม่เอา, เรามีสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ไม่เคยทำร้ายประชาชน มีแต่คอยช่วยเหลือ รวมทั้งยึดเหนี่ยวแผ่นดินไทยให้เป็นปึกแผ่น พวกคุณก็ไม่เอา, มีปัญหาภายในประเทศ พวกคุณก็ชอบเอาไปประจานให้ต่างชาติมายุ่ง คุณชอบอ้างประชาธิปไตย และความเท่าเทียม แต่ก็ถูกคนของพวกคุณบอกว่ามีแต่เผด็จการ ชนชั้นสูงกับขยะ และพวกสนิม ปลุกกระแสคนที่อ่อนประสบการณ์ให้ดูถูกคนที่มีอายุมากกว่า ว่าเป็นคนรุ่นเก่า และดูถูกประเทศชาติตนเอง ที่สำคัญคือเมื่อพวกคุณทำผิด คุณแก้ต่างไม่ได้ พวกคุณก็ต่อรองศาล เหยียบคนที่คุณจะรื้อคดีให้ และตอบศาลได้คำเดียวว่าจำไม่ได้
“เมื่อคิดว่าตัวเองไปไม่รอดแน่ พวกคุณก็ออกมาโวยวายว่าถูกกลั่นแกล้ง และพยายามปลุกระดมว่า อยู่ไม่เป็น ผมเชื่อว่าคนไทยจำนวนมากเริ่มจะเอือมระอา อยู่ไม่เป็นก็ไม่ต้องอยู่” นพ.วรงค์โพสต์ทิ้งท้าย.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |