ส.ส.อภิปรายงบฯ"กสศ."ได้งบฯน้อยเกินไป เมื่อเทียบกับภารกิจลดเหลื่อมล้ำ


เพิ่มเพื่อน    

 

8พ.ย.62-ส.ส. อภิปราย งบฯ กสศ. รับงบประมาณน้อย เมื่อเทียบกับภารกิจงาน ด้าน “หมอสุภกร” เผย งบฯ เป็นคำตอบแค่ครึ่งเดียว ไม่สำคัญเท่ากับเงินจำนวนนี้ไปเติมที่จุดไหน ย้ำ บอร์ด กสศ. ไม่ได้คิดเรียกร้องเงินจำนวนมาก แต่ต้องหาวิธีการใช้งบฯ ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ชี้ โครงการแต่ละอย่างต้องตกผลึกและทำได้จริง ไม่เป็นสเกลใหญ่

จากที่การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้มีวาระรับทราบรายงานประจำปี 2561 ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ซึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายประเด็นที่ กสศ.ได้รับการจัดสรรงบประมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับภารกิจงานที่แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ เช่น การจัดสรรให้นักเรียนยากจนพิเศษ 5 แสนราย เงินอุดหนุน 1,600 บาทต่อปี หรือวันละ 4.50 บาท เงินจำนวนเท่านี้จะสามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ไหม หรือ กสศ. ได้รับงบประมาณน้อย ทั้งที่เป็นกองทุนที่ดีมาก อยากให้ช่วยจัดสรรงบให้เพียงพอตามที่กองทุนนี้ต้องการ เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่แค่กองทุนบรรลุเป้าหมาย แต่การลดความเหลื่อมล้ำยังช่วยเติมความฝันเด็กนักเรียนในประเทศไทย เป็นต้น

นพ.สุภภร บัวสาย ผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า กสศ. เป็นข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการศึกษา ที่เห็นว่าจุดอ่อนมากที่สุด เรื่อง หนึ่งของประเทศ คือ ความเหลื่อมล้ำและความไม่เสมอภาค โดยมีข้อเสนอรัฐบาล 2 เรื่อง คือ การจัดตั้ง กสศ. เพื่อเป็นกลไกช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และถ้าจะลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ต้องใช้ทรัพยากรเพิ่มเติมเท่าไหร่ ซึ่งไม่ใช่เพิ่มเติมที่ใดก็ได้ ต้องชี้เป้าให้ถูก ทางคณะกรรมการอิสระได้เสนอว่าควรจะใช้งบประมาณร้อยละ 5 ของงบประมาณด้านการศึกษาปัจจุบัน จนเป็นที่มางบที่ตั้งไว้ 25,000 ล้านบาทต่อปี อย่างไรก็ตาม จำนวนงบประมาณเป็นคำตอบแค่ครึ่งเดียว ไม่สำคัญเท่ากับเงินจำนวนนี้ไปเติมที่จุดไหน ไม่จำเป็นต้องเข้าที่ กสศ. ทั้งหมด เข้ามาเป็นส่วนน้อยก็ได้ โดยมีข้อแม้ 2 ข้อ คือ เน้นเรื่องการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำโดยเฉพาะไม่ใช่จับจ่ายเหมือนงบปกติหลายแสนล้าน และต้องเติมงบประมาณให้ผูกกับผู้เรียน เป็นดีมานด์ไซด์ไฟแนนซิ่งโดยมีเงื่อนไขต้องเปลี่ยนผู้เรียนให้ได้ ไม่ได้เติมไปในระบบราชการปกติที่เป็นฝั่งซัพพลายไซด์

นพ.สุภกร กล่าวต่อว่า กลุ่มเป้าหมายของ กสศ. ตามมาตรา 5 เริ่มตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงวัยเรียนทั้งในระบบและนอกระบบ ไปจนถึงทรัพยากรมนุษย์ที่พ้นวัยเรียนแล้ว รวมทั้งหมดประมาณ 4 ล้านคน แต่ด้วยงบประมาณที่จำกัดทำให้ทำให้ต้องหาวิธีการใช้งบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด คณะกรรมการบริหาร กสศ. ไม่ได้คิดเรียกร้องเงินจำนวนมาก โดยทาง กสศ. ได้ศึกษางานขององค์กรวิจัยระดับโลก ล่าสุดศึกษาจากผู้ได้รับรางวัลโนเบลเศรษฐศาสตร์ ปี 2562 ว่าจะทำอย่างไรให้ใช้เงินคุ้มค่าเกิดผลกระทบกว้าง และในเร็วๆ นี้จะมีนักวิจัยเจ้าของรางวัลโนเบลมาช่วย กสศ. ทำงานว่าจะทำอย่างไรให้เงินที่ได้รับคุ้มค่ามากที่สุด ที่สำคัญ กสศ. ใช้งานวิจัยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่มุ่งเน้นการวิจัยตีพิมพ์ เพราะถ้าจะทุ่มงบให้ประชาชนทุนคนต้องใช้งบประมาณหลายสิบเท่าที่ได้รับในปัจจุบัน หน้าที่ กสศ. จึงต้องชี้เป้าหมายว่าถ้าจะปฏิรูปประเทศลดเหลื่อมล้ำการศึกษาจะใช้แบบใดถึงสำเร็จ ส่วนเรื่องการประเมินผล เช่น โครงเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข ซึ่งในปี 2561 ครอบคลุมงบกว่าร้อยละ 90 ปี 62 ครอบคลุมงบประมาณ ร้อยละ 70 ซึ่ง กสศ. วางระบบประเมินไว้จากฐานงานวิจัย 4 โครงการ 1.ธนาคารโลก ซึ่งได้ประเมินว่าระบบมาตรการเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไข (CCT) จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้เป็นอย่างดี ซึ่ง กสศ. ใช้แนวทางนี้ในการช่วยเหลือนักเรียนยากจนพิเศษ ว่าเมื่อรับเงินอุดหนุนแล้วต้องมาโรงเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 2.วิจัยบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาของประเทศไทย ว่าควรเติมงบประมาณให้กับเด็กกลุ่มนี้เท่าไหร่ 3.การวิจัยปฏิรูประบบการคัดกรองความยากจน สามารถชี้วัดดัชนีความยากจนตั้งแต่จนน้อยสุดถึงจนมากสุด ซึ่งนักเรียนที่มารับทุนต้องมีความยากจนร้อยเปอร์เซ็นต์ และ 4.การวิจัยด้วยระบบสารสนเทศ ซึ่งแอปพลิเคชั่นในการติดตามประเมินผล จะตามดูเรื่องผลการเรียน อัตราการเจริญเติบโต น้ำหนักส่วนสูง ถือเป็น KPI ที่ติดตั้งในระบบของ กสศ.

“กสศ.เน้นเรื่องคุณภาพไม่เน้นเรื่องปริมาณ อย่างทุนสายอาชีพเราช่วยได้เพียงรุ่นละร้อยละ 1 ของเด็กรุ่นเดียวกันที่มีความยากจน ถ้าไม่เน้นคุณภาพอาจต้องใช้เงินจำนวนมากและอาจไม่ได้ผล นอกจากนี้โครงการต่างๆ ของ กสศ. จะเน้นเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณ เพราะว่าการจัดงบประมาณอาจเสียเงินไป ดังนั้นการคิดโครงการแต่ละอย่างต้องตกผลึกและทำได้จริงไม่เป็นสเกลใหญ่”ผู้จัดการ กสศ. กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"