การใช้พลังงานในชีวิตประจำวันนั้นสะท้อนอะไรหลายๆ ด้านให้เห็น ทั้งการเติบโตของเศรษฐกิจ หรือสภาพภูมิอากาศ แต่การใช้พลังงานที่มากไปเกินความจำเป็นก็ทำให้การวัดผลความเป็นจริงนั้นคลาดเคลื่อนไปได้ จึงเป็นเรื่องที่ต้องควบคุมและติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากจะยากต่อการบริหารจัดการระบบพลังงานหลักของประเทศ ทั้งนี้ การใช้พลังงานมากเกินไปก็จะกระทบต่อต้นทุนการผลิตที่มากขึ้นด้วย
จึงเกิดนโยบายและแผนงานที่จะต้องทำให้การใช้พลังงานของประเทศนั้นมีปริมาณลดลง รวมถึงการกำกับดูแลเป็นเรื่องๆ อย่างเฉพาะเจาะจง อย่างเช่น การใช้งานที่บ้าน อาคาร หรือหน่วยงานต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาก็จะเป็นการขอให้และรณรงค์ให้ร่วมด้วยช่วยกัน และเมื่อเร็วๆ นี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ก็ได้ออกมาตรการที่เป็นแผนงานชัดเจนที่จะช่วยให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานในประเทศ
โดยออกมาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (บีอีซี) โดยที่ผ่านมาได้ลงนามความร่วมมือกับหลายหน่วยงานที่จะดำเนินงานเรื่องนี้อย่างเต็มรูปแบบ ในการสนับสนุนการออกแบบอาคารที่อยู่อาศัยให้สอดรับกับกฎกระทรวง กำหนดประเภทหรือขนาดอาคาร ซึ่งแบ่งเป็น 9 ประเภท ประกอบด้วย สำนักงาน, โรงแรม, โรงพยาบาล, ศูนย์การค้า, โรงมหรสพ, สถานบริการ, อาคารชุมนุมคน (หอประชุม), อาคารชุด และสถานศึกษา
ซึ่ง พพ.ได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการบังคับใช้ดังกล่าว ด้วยการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมในเรื่องการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2552 เตรียมความพร้อมบุคลากรผู้ออกแบบอาคาร สถาปนิก วิศวกร เจ้าหน้าที่รัฐที่มีหน้าที่อนุญาตการก่อสร้าง รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ ให้มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของภาครัฐ
และเมื่อที่ผ่านมาเร็วๆ นี้ กองกำกับและอนุรักษ์พลังงาน พพ. ได้จัดสัมมนา “การออกแบบอาคารรับมือพลังงานยุคดิสรัปชั่น” ในงาน Smart Solutions Week 2019 ที่ผ่านมา เพื่อกำหนดทิศทางของพลังงานในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้นวัตกรรมพลังงานที่เหมาะสม โดยการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้หรือการผสมผสานเพื่อให้เกิดการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์พลังงานให้เกิดขึ้นอย่างชัดเจนมากขึ้น
นายโกมล บัวเกตุ ผู้อำนวยการกองกำกับและอนุรักษ์พลังงาน พพ. กล่าวว่า ภายในปี 2563 จะประกาศใช้มาตรการด้านการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับอาคารที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตร (ตร.ม.) ขึ้นไป เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมและปฏิบัติตามแนวทางการอนุรักษ์พลังงานที่จะนำไปสู่การวิจัย พัฒนาด้านเทคโนโลยี และอุปกรณ์เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานแบบครบวงจรมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ไทยมีขีดความสามารถการแข่งขันที่จะก้าวไปสู่การเป็นผู้นำการพัฒนาสมาร์ทเอเนอจี้ของภูมิภาคได้อย่างแท้จริง
เพื่อให้เกิดการกระตุ้นการพัฒนาอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานไปยังกลุ่มอาคารขนาดเล็กเพิ่มขึ้น ได้กำหนดเป้าหมายในปี 2564 บังคับใช้กับอาคารที่มีขนาดตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป และในปี 2565 บังคับใช้กับอาคารที่มีขนาดตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป ซึ่งมาตรการบังคับใช้นี้ถือเป็นหนึ่งในมาตรการดำเนินงานของ พพ.ที่จะดำเนินการควบคู่กับมาตรการจูงใจสนับสนุนทางการเงิน ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการธุรกิจประเภทอาคารธุรกิจ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐได้ตื่นตัวในการออกแบบอาคารเพื่อให้สอดรับกับมาตรฐานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานอย่างเคร่งครัด
ซึ่งต้องยอมรับว่าการออกแบบอาคารดังกล่าวเป็นการดำเนินตามทิศทางของพลังงานในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้นวัตกรรมพลังงานที่เหมาะสม โดยการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้หรือการผสมผสานเพื่อให้เกิดการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์พลังงาน โดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการพัฒนาพลังงานของทุกภาคส่วนจึงมีความสำคัญที่ต้องมีการปรับตัวกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นที่นำไปสู่เป้าหมายเดียว.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |