"หอมกลิ่นข้าว" เที่ยว 3 ธรรม ตามวิถีห้วยกระเจา


เพิ่มเพื่อน    

(องค์พระต้นแบบพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์)

    จังหวัดกาญจนบุรี มีแหล่งท่องเที่ยวให้เราได้เดินทางไปสัมผัสหลายแบบ ทั้งภูเขา น้ำตก เขื่อน ลงแพ ชมตลาด ไปวัด และถูกจริตสำหรับใครที่ต้องการความสะดวกในการเดินทางไปเช้า-เย็นกลับจากกรุงเทพฯ เดินทางประมาณ 3 ชั่วโมงกว่าๆ เอง แต่ชื่อเสียงอีกเรื่องหนึ่งที่ขึ้นชื่อไม่แพ้กันคือ อากาศร้อนและแห้งแล้ง ถึงในช่วงหน้าหนาวก็จะไม่หนาวจัดมากนัก เพราะด้วยพื้นที่อยู่ตอนกลางของประเทศ และส่วนใหญ่เป็นที่ดอน มีเทือกเขาเป็นแนวโอบล้อมในด้านทิศตะวันตก 
    ในทริปนี้ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) จึงได้พาคณะสื่อมวลชนเดินทางมาที่ตำบลดอนแสลบ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี ที่ได้ต่อยอดพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนหอมกระเจาในโครงการข้าวเพื่อสุขภาพ ภายใต้แนวคิด “เที่ยว 3 ธรรม ตามวิถีห้วยกระเจา” เพราะที่นี่คือหนึ่งในอำเภอที่เป็นพื้นที่แห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ทำให้มีน้ำน้อย แถมยังไม่มีคลองชลประทาน และอากาศร้อนอบอ้าว แต่ในข้อเสียต่างๆ กลับทำให้ที่นี่มีเสน่ห์และสร้างจุดแข็งของพืชผลทางเกษตรที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยว อย่างข้าวหอมมะลิที่มีกลิ่นหอมเฉพาะ และผลผลิตแปรรูปอื่นๆ อย่าง น้ำส้มสายชูหมักจากข้าวหอมมะลิ น้ำส้มสายชูหมักผสมน้ำเมลอน อีกทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนที่จะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว และการพัฒนาธุรกิจ ช่วยให้คนในชุมชนมีรายได้ต่อเนื่อง ให้ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

(ความเก่าแก่ของโบสถ์ วัดสระกระเบื้อง)

    เอนก พนาอภิชน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 8 ปีของการดำเนินโครงการ เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมในหลายๆ ด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งตั้งแต่ที่เข้ามาทำโครงการตั้งแต่ปี 2559 ความยากในพื้นที่อำเภอห้วยกระเจาคือ ปัญหาเรื่องน้ำ ความแห้งแล้งที่ทำให้ทำนาได้ปีละครั้ง จึงได้มีการทำแท็งก์น้ำให้กับชุมชน 1.200 ลิตร เพื่อให้มีน้ำได้ใช้ และจากการที่สามารถรวมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจชุมชนหอมกระเจาที่มีความเข้มแข็งได้อย่างรวดเร็ว สามารถผลิตข้าวที่ปลอดภัย ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP และอยู่ระหว่างการคัดสรรดาว OTOP จากข้าวกิโลละ 20 บาท เพิ่มมูลค่าเป็น 60 บาทในแบรนด์หอมกระเจา 

(พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์)

    เอนกได้เล่าต่อว่า นอกจากนี้อินทัชยังได้ส่งเสริมการท่องเที่ยว 3 ธรรม ตามวิถีห้วยกระเจา ที่ยังต้องมีการพัฒนา และเพราะนี่คือการเริ่มเปิดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในชุมชนอย่างจริงจัง ที่จะแบ่งเป็น ธรรมที่ 1 ธรรมะ ที่วัดทิพย์สุคนธาราม ที่มีพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ และพระอุโบสถรูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนา หรือวัดโบสถ์ วัดบ้านพนมนาง ในส่วนของธรรมที่ 2 คือ ธรรมชาติ ท้าทายนักปีนเขาที่ภูเขาเปียก และธรรมที่ 3 คือ วิถีวัฒนธรรม เพราะที่นี่มีวิถีวัฒนธรรมที่น่าเรียนรู้ในเรื่องของการทำนาในพื้นที่แล้ง การปลูกเมลอน และทานอาหารพื้นถิ่น

(สวนเมลอน)

    พัฒชรกิตติ์ สนองชาติ รองประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหอมกระเจา ตำบลดอนแสลบ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี เล่าว่า พื้นที่ห้วยกระเจา ปกติชาวบ้านจะทำนาปี เพราะแห้งแล้งมากที่สุด แต่เพราะเป็นพื้นที่แบบนี้ทำให้ข้าวหอมมะลิของชุมชนห้วยกระเจามีเอกลักษณ์เฉพาะ กลิ่นที่จะมีความหอมอ่อนๆ หุงขึ้นหม้อ และหากหุงในตอนเช้าก็สามารถเก็บไว้ทานได้ถึงตอนเย็นไม่แข็ง ซึ่งมีครัวเรือนที่เข้าร่วมกลุ่มเพียง 13 ครัวเรือนที่มีคุณภาพ จาก 1,200 ครัวเรือน ที่คาดว่าในอนาคตจะเข้าร่วมเพิ่มขึ้น ในแต่ละปีก็จะมีการผลิตก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการ นับจำนวนเฉพาะสมาชิกอยู่ที่ 30-40 ตัน/ปี ขายที่ 9,000-10,000 บาท/ตัน แต่หลังจากเข้าร่วมโครงการ มีการปลูกแบบปลอดภัยไม่ใช้สารเคมี ผลผลิตที่ได้ประมาณ 20-25 ตัน/ปี ซึ่งรายได้ก็เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 5000 บาท ซึ่งเป็นจุดแข็งที่เมื่อนักท่องเที่ยวได้เข้ามาเรียนรู้และได้ลิ้มรสข้าวของเรา

(ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ขายในตลาดเกษตรโรงเรียนชาวนา)

    นอกจากนี้ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำความรู้และงานวิจัยมาสร้างนวัตกรรม โดยนำข้าวหอมมะลิที่ปลูกในชุมชนมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจนออกมาเป็นสินค้าใหม่ที่เหมาะกับคนรักสุขภาพ ทั้งน้ำส้มสายชูหมักจากข้าวหอมมะลิที่มีกลิ่นเฉพาะตัว (Jasmin Rice Vinegar) และเครื่องดื่มน้ำส้มสายชูหมักผสมน้ำเมลอน (Melon Vinegar Drink) ใช้ผลิตภัณฑ์ตั้งต้น คือ ข้าวหอมมะลิ และเมลอนของชุมชนที่ไม่ได้ขนาด นำมาผ่านกระบวนการผลิตที่ทันสมัยทำให้ได้เครื่องดื่มสุขภาพ ช่วยการทำงานของระบบลำไส้ ให้ความสดชื่นสำหรับผู้ที่เสียเหงื่อ และคนที่เล่นกีฬา นอกจากนี้โดยรอบชุมชนยังมีอาหารพื้นถิ่นอย่าง ไก่กระทอก แกงหน่อไม้ดองถั่วเขียว และน้ำพริกมะสัง เป็นต้น และวัดที่มีถึง 11 วัด ซึ่งทางชุมชนก็จะพัฒนากันอย่างเต็มที่เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ไม่ใช่เพียงทางผ่านอีกต่อไป

(วัดทิพย์สุคนธาราม)

    เที่ยว 3 ธรรม วิถีห้วยกระเจา เริ่มด้วยการเสริมสิริมงคลที่วัดทิพย์สุคนธาราม สักการะพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ที่ตั้งเด่นตระหง่านด้วยความสูง 32 เมตร ซึ่งจุดประสงค์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์พระพุทธรูปแห่งบามิยันในประเทศอัฟกานิสถาน ที่ถูกระเบิดทำลาย พอสายๆ แดดเริ่มร้อน ใครมีหมวก มีร่ม เสื้อแขนยาวก็เอาออกมาสวมใส่ กางกำบังไอแดด นั่งรถรางต่อไปยังพระอุโบสถสวยงามด้วยบันไดนาคสีทอง ด้านในมีองค์พระต้นแบบพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ด้วย

(ข้าวหอมกระเจ้า และผลิตภัณฑ์แปรรูป)

    แวะช็อปตลาดเกษตรโรงเรียนชาวนา วิสาหกิจชุมชนหอมกระเจา อยู่ใกล้ๆ กับวัดทิพย์สุคนธาราม เดินแป๊บเดียวถึง ที่นี่จะมีสินค้าทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำส้มสายชูหมักจากข้าวหอมมะลิ ราคาประมาณ 160 บาท ซึ่งได้ลองชิมน้ำนี้ผสมกับโซดา ตอนแรกคิดว่าจะไม่อร่อย แต่ผิดคาดมาก เพราะมีทั้งกลิ่นของข้าวและความซ่าของโซดา ทำให้สดชื่นได้อย่างดีเลย ยังมีเครื่องดื่มน้ำส้มสายชูหมักผสมน้ำเมลอน ราคา 35 บาท ข้าวหอมกระเจา 1 กิโลกรัม ราคาเพียง 60 บาท แหนมเห็ด พืชผักสวนครัวต่างๆ เรียกได้ว่าราคาย่อมเยา ช็อปเพลินๆ

(เจดีย์ราย 2 องค์)

    ไปต่อที่วัดสระกระเบื้อง วัดโบราณเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย-ช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ที่ตั้งของโบสถ์มหาอุดที่ชาวบ้านบอกว่าเป็นที่ใช้สำหรับทำพิธีปลุกเสกและงานสำคัญต่างๆ ซึ่งมีสภาพเก่าไปตามกาลเวลาแต่ก็มีร่องรอยของการบูรณะ ด้านในประดิษฐานองค์พระประธาน 3 องค์ ด้านหลังโบสถ์มีเจดีย์ทรงปรางค์ที่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงอยุธยาตอนปลาย ในบริเวณเดียวกันยังมีเจดีย์ราย 2 องค์ที่เหลือเพียงร่องรอยบางส่วนไว้ให้ชม  เช่นเดียวกับกำแพงแก้วที่ตั้งใกล้ๆ กัน เวลาที่จำกัดเราไม่ได้เดินทางไปครบทุกที่ แต่หากใครอยากได้ประสบการณ์ มาเที่ยวชุมชนที่นี่ก็เป็นตัวเลือกที่ดีนะ.

(องค์พระประธาน 3 องค์ ด้านในวัดสระกระเบื้อง)

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"