สสส.-พอช.พม.ยกเสาเอกศูนย์ฟื้นฟูฯบางพูนวันที่อยู่อาศัยสากล


เพิ่มเพื่อน    

Live With Dignity 1 ต.ค. วันประวัติศาสตร์ วันที่อยู่อาศัยสากล (World Habitat Day) สสส.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ร่วมภาคประชาสังคมยกเสาเอกศูนย์ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพคนไร้บ้านแห่งที่ 3 บางพูน ปทุมธานี ให้เป็นศูนย์ตั้งหลักชีวิตมาฟื้นฟูก่อนสงกรานต์ ได้ฉลองเป็นศูนย์พูนสุขที่บางพูน พูนสุขสุขเกษม วางกลไกพัฒนาศักยภาพคนไร้บ้าน สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน เตรียมความพร้อมกลับคืนสู่สังคม ผุดโมเดลการพัฒนทุนทางจิตใจคนไร้บ้าน ป้องกันกลับมาไร้บ้านซ้ำอีก

 

ข้อความด้วยลายมือบนกระดานดำในงานพิธียกเสาเอกศูนย์ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพคนไร้บ้านแห่งที่ 3 บางพูน ปทุมธานี ด้วยการวางกลไกพัฒนาศักยภาพคนไร้บ้านสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน....           

                “ยินดีที่วันนี้มีบ้านที่อบอุ่น สสส.พร้อมเป็นกำลังใจให้นะคะ” ภรณี ภู่ประเสริฐ สสส.สำนัก 9

                “ไร้บ้านไร้ชีวิต มีแต่พัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนไร้บ้าน” นรินทร์

                “ที่นี่...ไม่ไร้บ้าน แต่ที่นี่คือ วิมานของเรา” ไมตรี อินทุสุต ประธาน พอช. 1 ต.ค.62

                คือข้อความด้วยลายมือของพันธมิตรทั้ง 3 ที่ช่วยกันสร้างประวัติศาสตร์ 1 ต.ค. วันที่อยู่อาศัยสากล (World Habitat Day) “เมืองจะเจริญไม่ได้ ถ้าปราศจากคนจน สิทธิที่อยู่อาศัยคือสิทธิมนุษยชน” เครือข่ายสลัม 4 ภาค

                “เราเป็นคนจนจัด ไม่ใช่คนจรจัด” “เราต้องรู้เกี่ยวกับคนไทยไร้สิทธิ”

สสส. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พอช. เครือข่ายสลัม 4 ภาค ร่วมกับภาคี 9 หน่วยงาน และอีก 180 องค์กร Kick Off พร้อมกันทั่วประเทศ สำรวจพื้นที่ในเมืองใหญ่เห็นตัวเลขที่เป็นจริง เป็นนิมิตหมายที่ดี ตอบโจทย์ในการสร้างศูนย์ฯ 3 หลัง ประเดิมที่กลางเมืองเชียงใหม่ เป็นที่ดินในสนนราคา 19 ล้านบาท สร้างศูนย์ฟื้นฟูฯ สนนราคา 7 ล้านบาท มีพื้นที่อยู่อาศัย 3 คูณ 3 ตารางเมตร เป็นเงินค่าเช่าเดือนละ 350 บาท มีพื้นที่ร่วมเป็นสวนผัก บริหารจัดการร่วมกัน ขอนแก่นแห่งที่ 2

               

ปทุมธานีแห่งที่ 3 “มีที่อยู่ที่ถูกหลักอนามัย มีที่นอน ที่ทำมาหากิน มีใจช่วยเหลือกันและไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง” มีแปลงปลูกพืชผักปลอดสารพิษไม่ใช้ยาฆ่าแมลง “นกกินเป็นบุญ คนกินเป็นทาน” แปลงเกษตรรังสิต-ปทุมธานี เพื่อให้สมาชิกมีส่วนในการดูแลแปลงเกษตรคนละ 1 แปลง และปลูกผักสวนครัวคนละ 5 ต้น ผลผลิตที่ได้ลดค่าใช้จ่าย สร้างรายได้ให้ยั่งยืน เพราะเราคือ Homeless ปทุมธานี

               

ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สสส. กล่าวว่า สสส.ให้การสนับสนุนพัฒนาศูนย์ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพคนไร้บ้านแห่งที่ 3 ร่วมมือกับกระทรวง พม.หนุนศักยภาพแกนนำเข้าใจพี่น้องคนไร้บ้าน ระบบสวัสดิการในการอยู่ร่วมกันของคนไร้บ้าน พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อได้โอกาสพึ่งพาตัวเองกลับไปอยู่ในสังคมปกติได้ ที่ จ.ปทุมธานีมีคนไร้บ้านอยู่ในพื้นที่สาธารณะ 46 คน ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก (เพศชายร้อยละ 87 เพศหญิงร้อยละ 9) ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงแรงงาน (อายุ 40-59 ปี) หากนำคนเหล่านี้เข้ามาอยู่ในบ้านชั่วคราว อยู่ในพื้นที่ปลอดภัย เสริมพลังให้เกิดความมั่นใจด้วยการพัฒนาศักยภาพ ประกอบอาชีพ อยู่ร่วมกับคนอื่น ชุมชน แล้วกลับไปเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว อยู่ในสังคมที่อยู่กันอย่างเกื้อกูล มีการปลูกผักมาขายในชุมชน “ไม่ใช่ทุกคนจะชอบทำเบเกอรี่ ใครชอบอะไรก็ส่งเสริมให้ฝึกฝนทำเป็นอาชีพพึ่งพาตัวเองได้”

               

“ที่อยู่อาศัยถือเป็นปัจจัยทางสังคมที่กำหนดสุขภาพของคนไร้บ้าน การมีบ้านเป็นส่วนหนึ่งของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีเบื้องต้น การมีศักดิ์ศรีของตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ สสส.จึงร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย เครือข่ายคนไร้บ้าน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขับเคลื่อนนโยบายด้านที่อยู่อาศัยสำหรับคนไร้บ้าน จนเกิดมติ ครม.โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มคนไร้บ้าน 2 ปี (2559-2560) เมื่อวันที่ 8 มี.ค.2559 สนับสนุนการสร้างศูนย์พักคนไร้บ้าน และพัฒนาศักยภาพของกลุ่มคนไร้บ้านใน 3 เมืองใหญ่ เชียงใหม่ ขอนแก่น ปทุมธานี เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายกว่า 698 คน ขณะนี้ได้สร้างศูนย์พักคนไร้บ้านแล้วเสร็จ 2 แห่ง (เชียงใหม่ ขอนแก่น) อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 1 แห่ง (ปทุมธานี) เป็นศูนย์ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพคนไร้บ้านที่มาจากเขตจตุจักร เขตดอนเมือง หลักสี่ เทศบาลเมืองปทุมธานี ศูนย์คนไร้บ้านบางกอกน้อยมีจำนวน 80 คน มีเด็กจำนวนหนึ่ง”

               

การทำงานของ สสส.ในการทำให้คนไร้บ้านได้เข้าถึงที่พักอาศัยทั้งแบบชั่วคราวและถาวร เป็นแนวทางการทำงานที่สอดคล้องกับแนวทางการทำงานระดับสากล คือ “Housing First” เป็นแนวทางที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยให้คนไร้บ้านสามารถกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง เมื่อร่วมกับกระบวนการพัฒนาศักยภาพและสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน เพื่อเตรียมความพร้อมกลับคืนสู่สังคม ป้องกันการกลับมาไร้บ้านซ้ำ การพัฒนาระบบบริหารจัดการศูนย์พักฯ การสนับสนุนให้เกิดการจัดระเบียบ การจัดสวัสดิการ ระบบการดูแลช่วยเหลือและพึ่งตนเอง รวมทั้งการหนุนเสริมทักษะด้านอาชีพที่ทำให้คนไร้บ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้

               

วิธีทำงานต้องสร้างความคุ้นเคยกับคนไร้บ้าน ให้เขารู้สึกว่าเราเป็นมิตร ไม่เป็นอันตราย ในประเทศฟิลิปปินส์ใช้กาแฟผูกมิตร ของไทยก็นำอาหารไปให้ ทำให้เขาไว้เนื้อเชื่อใจ ไม่ให้เกิดความหวาดกลัว ให้เห็นพ้องต้องกันว่าไม่ควรอยู่ในพื้นที่สาธารณะ เป็นการเสี่ยงต่อคุณภาพชีวิต ถูกทำร้าย อาหารไม่สะอาด ขออาหารในพื้นที่สาธารณะ บางครั้งก็หยิบกินจากกองขยะเพื่อประคับประคองชีวิต เราต้องพูดให้เขาเห็นอนาคตมีความหวัง เพราะคนกลุ่มนี้เป็น Loser ผู้ที่พ่ายแพ้จากที่ทำงาน ในครอบครัวมีปัญหา ถูกทอดทิ้ง พ่ายแพ้ในระบบสังคม สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยเวลา ต้องทำงานจากข้างในเพื่อมองให้เห็นคุณค่า สิ่งเหล่านี้ต้องใช้ความประณีตในการออกแบบ เรื่องชีวิตเป็นงานยาก ต้องทำให้เขาอยู่ในครอบครัว ชุมชนได้

               

การสร้างศูนย์พักคนไร้บ้าน แม้จะเป็นการลดเงื่อนไขในการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขี้นของคนไร้บ้านแล้ว การพัฒนาศักยภาพและภาวะความมั่นคงภายในของคนไร้บ้านเป็นประเด็นสำคัญในการทำให้เขาสามารถลุกขึ้นมาดูแลจัดการตนเองได้ แผนการในระยะต่อไปของ สสส.ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาเครื่องมือและโมเดลการพัฒนาทุนทางจิตใจ (PsyCap) ของคนไร้บ้านในพื้นที่ปทุมธานี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและศักยภาพคนไร้บ้านที่ยั่งยืน และการขยายผลในเชิงพื้นที่ต่อไปในอนาคต ศูนย์ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพคนไร้บ้านได้รับอนุมัติงบประมาณสนับสนุน 30,108,420 บาท เพื่อดำเนินการซื้อที่ดินขนาด 2 ไร่ 2 งาน 42 ตารางวา และดำเนินการก่อสร้างศูนย์จากการออกแบบปรับปรุงตัวอาคารที่อยู่อาศัยเดิม               

               

ไมตรี อินทุสุต ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กล่าวว่า การทำงานของ 8 หน่วยงานอย่างมีบูรณาการ วางศิลาฤกษ์ลงเสาเข็ม เพื่อให้บ้านเป็นวิมานของคนในบ้าน สงกรานต์หน้าศูนย์พักพิงฯ แห่งนี้บนพื้นที่ 2 ไร่ครึ่ง จะเป็นที่พักและเป็นแหล่งชุมชนทางตอนเหนือของ กทม. ย่านจตุจักร ดอนเมือง สายไหม นนทบุรี ปทุมธานี ผู้ขาดโอกาสจะได้รับการพัฒนาทางสังคม มีเกียรติ โอกาส กำลังใจ คนจะมีศักยภาพ มีสัมมาอาชีวะ “ลุงดำ (สุชิน เอี่ยมอินทร์นายกสมาคมคนไร้บ้าน) และคณะจัดแหล่งที่อยู่ย่านบางกอกน้อย 70 ครัวเรือนขยายไปย่านตลิ่งชันริมทางรถไฟ และในวันที่ 12 เม.ย. ที่ศูนย์วัดหนู”

               

ขณะนี้ได้มีการสำรวจจะขยายไปยังนครราชสีมา อุบลราชธานี อุดรธานี นครปฐม คนไร้บ้านจะอยู่ร่วมกันได้ เป็นการสร้างเกียรติ โอกาส กำลังใจ “สสส.เป็นตัวตั้ง ทำดีสุขภาวะ กระทรวงสาธารณสุข ร่างกายใหญ่โต กระทรวงแรงงานมือเท้าโต กระทรวงศึกษาธิการ ผู้นำโชค รวมกันเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีมีเป้าหมาย คนตัวเล็กแต่ใจโต

               

พิธียกเสาเอกศูนย์ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพคนไร้บ้าน จ.ปทุมธานี ไมตรี อินทุสุต ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน), เบญจมาส สมศรี พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.ปทุมธานี, ภรณี ภู่ประเสริฐ ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส., สุชิน เอี่ยมอินทร์ นายกสมาคมคนไร้บ้าน พิธียกเสาโทศูนย์ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพคนไร้บ้าน จ.ปทุมธานี, อาวุธ วิเชียรฉาย นายอำเภอปทุมธานี, สมชาติ ภาระสุวรรณ ผอ.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน, อำนวย นาคบุรินทร์ นายกเทศมนตรี ต.บางพูน, สมบุญ คงคา ประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาค.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"