ตั้งตารอพีดีพีฉบับใหม่


เพิ่มเพื่อน    


    กระแสการปรับเปลี่ยนแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศมีมาสักพักใหญ่ๆ ได้ยินจากหลายฝั่ง พูดถึงกันมากมายว่าส่วนใหญ่แล้วมาจากอะไร ทั้งเรื่องของพลังงานหมุนเวียนที่จะเข้ามาเปลี่ยนการผลิตไฟฟ้าให้ใช้พลังงานสะอาดกันทั้งประเทศ หรือแม้แต่การที่โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เชื้อเพลิงถ่านหินเกิดขึ้นไม่ได้ หรือแม้แต่กระทั่งเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาจนทำให้กระแสการใช้ไฟฟ้าปรับเปลี่ยนไป
    ทั้งนี้ เมื่อดูจากการผลิตไฟฟ้าจากแผนพีดีพี ฉบับที่กำหนดใช้ในปี 2558-2579 เมื่อสิ้นแผนในปลายปี 79 จะมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมสุทธิ 70,335 เมกะวัตต์ โดยเป็นกำลังผลิตของโรงไฟฟ้าใหม่รวม 57,459 เมกะวัตต์ ที่แยกตามประเภทโรงไฟฟ้า ดังนี้ 1.โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 21,648 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ 2,101 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าโคเจนเนอเรชั่น 4,119 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม 17,478 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าพลังความร้อน 12,113 เมกะวัตต์
    แต่ในแผนใหม่นี้คาดว่าการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในช่วง 10 ปีหลังไปนี้จะลดลงไปเรื่อยๆ หรืออาจจะไม่มีความจำเป็นต้องมีเลย เนื่องจากพลังงานหมุนเวียนจะเข้ามาทดแทน เทคโนโลยีสมัยใหม่จะทำให้พลังงานนั้นๆ สามารถผลิตและเรียกใช้เวลาใดก็ได้
    หากจะใช้พลังงานหมุนเวียนมาเป็นพลังงานหลักที่ใช้ผลิตไฟฟ้าในประเทศตอนนี้คงลำบาก เนื่องจากทำให้ต้นทุนการผลิตแพง การจัดการยังไม่เป็นระบบ เพราะไม่สามารถที่จะเรียกให้ผลิตไฟเมื่อไหร่ตอนไหนก็ได้ เนื่องจากต้องดูลมฟ้าอากาศเป็นสำคัญ จึงทำให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานดังกล่าวไม่เสถียร
    ขณะที่ในปัจจุบันมีนักวิจัยและพัฒนาของหลายๆ บริษัทลุยที่จะทำให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้มีเสถียรภาพได้ หรือไม่ก็กักเก็บไว้ใช้ในตอนที่ไม่สามารถผลิตได้ โดยอาศัยแบตเตอรี่ และตอนนี้ก็มีบางแห่งในประเทศไทยที่นำมาใช้แล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังแพงอยู่มาก และไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มย่อยๆ ได้
    อย่างไรก็ตาม แผนพีดีพีที่จะถูกปรับเปลี่ยนก็ไม่ได้ง่ายเพราะในประเทศไทยเอง โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงหลักบางแห่งยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ และล่าช้าไปมากกว่าแผนที่ตั้งไว้จนทำให้เป็นการกระทบกับพีดีพีเช่นกัน ถึงขนาดเคยแว่วๆ มาว่าโรงไฟฟ้าพวกนั้นอาจจะโดนตัดออกจากแผนเลย เพราะมีปัญหาที่แก้ไม่ได้หลายจุด
    ที่เราได้ยินกันหนาหูมากคงหนีไม่พ้นเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินภาคใต้ที่มีอยู่แล้วในแผนพีดีพี โดยรวมกำลังการผลิตทั้งในพื้นที่จังหวัดกระบี่ และในพื้นที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ทั้งสิ้น 2,800 เมกะวัตต์ ถือว่าเป็นสเกลที่ใหญ่พอสมควร เพราะจะช่วยแก้ปัญหาความต้องการของไฟฟ้าสูงขึ้นเรื่อยๆ ในภาคใต้ แต่ตอนนี้ทุกอย่างก็โดนชะงักไปหมด
    ซึ่งหากมองถึงสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงต่างๆ ช่วงปลายแผนปี 79 ก็จะแบ่งได้ดังนี้ คือ การซื้อไฟฟ้าพลังน้ำต่างประเทศ 15%-20% ถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด (รวมลิกไนต์) 20%-25% พลังงานหมุนเวียน (รวมพลังน้ำ) 15%-20% ก๊าซธรรมชาติ 30%-40% และนิวเคลียร์ 0-5% จึงเห็นได้ว่าจากแผนนี้การใช้ถ่านหินก็ยังมีอยู่ และอยู่ในสัดส่วนที่เยอะพอสมควรอีกด้วย จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่าหากโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ 2 แห่งยังเกิดไม่ได้ และจะมีที่ไหนเกิดได้บ้างในประเทศไทย หรือถ้าตัดสัดส่วนของถ่านหินออก แล้วจะเอาเชื้อเพลิงไหนมาใส่แทน
    นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการปรับแผนพลังงานอีก 4 ด้านที่รออยู่ด้วย ทั้งแผนอนุรักษ์พลังงาน (อีอีพี), แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (เออีดีพี), แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ และแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง แต่หลังจากที่งึมงำกันมาสักพัก ก็มีคนออกมายืนยันแล้วว่าพีดีพีฉบับใหม่ที่กำลังเร่งทำอยู่นั้นจะเสร็จเร็วๆ นี้ โดยนายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ชี้ชัด 31 มี.ค.2561 เสร็จแน่นอน และยังให้ความเห็นอีกว่าโดยส่วนตัวไม่ยอมรับกับการที่ค่าไฟฟ้าปลายแผนจะแพงขึ้น
    เราก็คงต้องตั้งตารอกันว่าพีดีพีฉบับใหม่นี้จะเสร็จตามกำหนด และมีแนวทางใหม่ๆ เข้ามา เพื่อบริหารจัดการด้านพลังงานให้เดินหน้าต่อไปจนครบ 20 ปี.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"