กสศ. ดึงรร.นานาชาติ Shrewsbury - บ.JD Central สร้างพื้นที่เรียนรู้ร่วมกัน ระหว่าง นักเรียนชนบทและเมือง 


เพิ่มเพื่อน    


5 พ.ย.62- ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิร์ด กรุงเทพฯ - กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับโรงเรียนนานาชาติ Shrewsbury และบริษัท JD Central จัดกิจกรรมการพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายโรงเรียนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (Equity Partnership’s School Network) ภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (Equity Partnership’s School Network) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการทํางานร่วมกัน เพื่อเป้าหมายสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาระหว่างสถานศึกษา ครู และนักเรียนในพื้นที่ชนบท และสถานศึกษาในเขตเมือง 


โดยนายไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า โครงการพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายสถานศึกษาฯ เกิดจากความร่วมมือ 3 ฝ่าย คือ กสศ. โรงเรียนนานาชาติ Shrewsbury และบริษัท JD Central เป็นการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ผ่านกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยี e-commerce และการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการในศตวรรษที่ 21 (Entrepreneurial Skill) ระหว่างเครือข่ายโรงเรียน โดย กสศ.สนับสนุนให้โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในเครือข่ายตลาดวาดฝัน ซึ่งส่วนหนึ่งของกิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพ ทักษะชีวิตนักเรียนทุนเสมอภาค ที่มีความพร้อมและมีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า และมีนักเรียนผู้รับทุนเสมอภาคที่มีความพร้อมด้านภาษาอังกฤษเข้าร่วมในโครงการ เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ร่วมกับนักเรียนโรงเรียนนานาชาติ Shrewsbury และนำมาจำหน่ายในช่องทางของ JD Central พร้อมทั้งมอบรายได้จากการจำหน่ายทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่าย ให้กับนักเรียนทุนเสมอภาคในโรงเรียนสังกัด สพฐ. เพื่อให้เด็กๆ นำไปต่อยอดโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพและกิจกรรมลดความเหลื่อมล้ำต่อไปในอนาคต


"หัวใจสำคัญของเรื่องนี้คือ การสร้างพื้นที่เรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักเรียนชนบทและเมือง อย่างไม่มีช่องว่างของความเหลื่อมล้ำ เด็กๆ ต่างมีศักยภาพที่แตกต่างกัน และนี่คือสิ่งพิเศษที่พวกเขาเติมเต็มซึ่งกันและกันได้ กสศ.และองค์กรภาคีเครือข่ายฯ อยากเห็นสังคมไทยก้าวหน้าเป็น Thailand 4.0 ที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม ผ่านระบบการศึกษาที่มีความเสมอภาค ซึ่งเด็กเยาวชนไทยในวัยเรียนเป็นวัยที่มีพลัง และไม่ว่าจะเกิดที่ไหน เรียนที่ไหนก็สามารถร่วมกันสร้างประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีหากเด็กเยาวชนจากบริบทที่มีความหลากหลายได้มีโอกาสรู้จัก หรือทำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะร่วมกันตั้งแต่ในวัยเรียน เมื่อก้าวพ้นจากสถาบันการศึกษา ภาพของสังคมไทยในอนาคตจะเป็นภาพที่ทุกคนสามารถทำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะร่วมกันได้แม้จะมีความแตกต่างกัน เพื่อสร้างสังคมที่มีความเสมอภาค เมื่อเราเข้าใจกันทำงานร่วมกันปัญหา เรื่องการแบ่งแยกก็ไม่เกิดขึ้น"รองผู้จัดการกองทุน กสศ.กล่าว


นายไกรยส กล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าวจะสามารถขยายผลสนับสนุนการทำงานของสถานศึกษาที่รับทุนเสมอภาคจาก กสศ. ไปพัฒนากิจกรรมฝึกทักษะอาชีพ ทักษะชีวิตให้แก่นักเรียนยากจนพิเศษในพื้นที่ต่างๆ ได้ในอนาคต และที่สำคัญทั้ง 3 องค์กรหวังที่จะเห็นนักเรียนมากกว่า 100 ชีวิตที่ได้ร่วมกิจกรรมในโครงการนี้ เพราะเรามองว่าเมื่อเด็กกลุ่มนี้เติบโตขึ้นในอนาคต จะสามารถเลือกศึกษาต่อในคณะ สาขาวิชาที่จะช่วยประเทศชาติ รวมถึงเมื่อจบการศึกษาแล้ว จะได้เลือกทำงานเพื่อช่วยให้ประเทศชาติมีความเสมอภาคมากขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นงานในฝั่งภาครัฐ หรือเอกชน
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"