อดีตกรธ.เตือนยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับอาจถอยหลังนำไปสู่ความขัดแย้งในสังคม


เพิ่มเพื่อน    

5 พ.ย.62-  นายอุดม รัฐอมฤต อดีตโฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)กล่าวถึงกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรกำลังจะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า เป็นเรื่องปกติที่ในสภาฯ จะมีคนที่เห็นด้วยและเห็นต่าง ซึ่งในทางปฎิบัติต้องดูว่าสิ่งที่ควรจะแก้ไขเป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมหรือไม่ เพราะเท่าที่ฟังดูหลายเรื่องเป็นเรื่องที่สังคมวิพากษ์วิจารณ์ เช่น ระบบเลือกตั้งแบบบัตรใบเดียว หรือการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ส่วนตัวเห็นว่าการแก้รัฐธรรมนูญต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะต้องยอมรับว่ารัฐธรรมนูญ ปี2560 เกิดขึ้นมาจากความขัดแย้งและบทเรียนในอดีต ดังนั้น จึงต้องสร้างบรรทัดฐานในการทำงานบางเรื่อง เพื่อไม่ให้กลับไปสู่วังวนเดิมๆในอดีตที่เสียงข้างมากใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง  

นายอุดม กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดว่าด้วยการแก้ไขบทเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญนั้น ต้องคิดให้รอบคอบว่าหากรัฐธรรมนูญถูกแก้ไขง่าย โดยเฉพาะการให้เสียงข้างมากในสภาฯ เท่านั้นเป็นผู้แก้ไข อาจส่งผลให้เกิดปัญหาตามมา แต่ในฐานะผู้ร่างรัฐธรรมนูญยืนยันว่าไม่ติดใจ หากใครจะแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร แต่ขอให้ดูให้ดีว่าจะแก้ในประเด็นใด และมีเหตุผลอย่างไร

“การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับเป็นคนละเรื่องกัน เพราะขณะนี้กระแสการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีทั้งการแก้รายประเด็น และการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. เพื่อแก้ไขทั้งฉบับ ซึ่งการแก้ไขทั้งฉบับอาจเป็นการถอยหลังไปนับหนึ่งใหม่ และอาจสร้างความขัดแย้งในสังคม จึงอยากให้ทุกฝ่ายให้เวลากับการใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก่อน เพราะอย่าลืมว่าในช่วงร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่2560 ไม่ได้เกิดขึ้นจากคนร่างเพียง 21 คน แต่มีการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายแสดงความคิดเห็น รวมถึงการร่างรัฐธรรมนูญใช้งบประมาณค่อนข้างมาก ผมยืนยันว่าหลายเรื่องอดีตผู้ร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้คิดไปเอง แต่เป็นความเห็นจากประชาชนที่ไปรับฟังความคิดเห็นมาล่วงหน้า ส่วนที่มีการเพิ่มเติมเข้ามาจนทำให้มีผู้ไม่พอใจก็ต้องพูดคุยกัน แต่คงไม่จำเป็นต้องทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ”นายอุดม กล่าว.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"