ภายหลังที่พรรคอนาคตใหม่เสนอชื่อ “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” หัวหน้าพรรค ไปเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
ล่าสุด ถึงคิว “เทพไท เสนพงศ์” ส.ส.นครศรีธรรมราชหลายสมัยจากพรรคประชาธิปัตย์ ถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กตัวเองเสนอชื่อ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” อดีตหัวหน้าพรรค นั่งกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหา และแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560
เนื่องจากคณะกรรมาธิการวิสามัญสามารถเสนอชื่อบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่ ส.ส.ไปทำงานในส่วนนี้ได้ คราวนี้ก็ขึ้นอยู่ที่ “เสียงของเพื่อน ส.ส.” ทั้ง 54 คนแล้วว่าจะมีมติไฟเขียว “เดอะมาร์ค” หรือไม่
สำหรับท่าทีของ “อภิสิทธิ์” เคยให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 21 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยตอนหนึ่งถามถึงบทบาทการเมือง เพราะเมื่อครั้งเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ที่จังหวัดนครปฐมเห็นไปช่วยผู้สมัครของพรรคหาเสียง
เจ้าตัว ระบุว่า “ผมไม่มีบทบาทอะไรในพรรค แต่ทางคุณอลงกรณ์ (พลบุตร) เป็น ผอ.เลือกตั้งขอให้ไปช่วย ซึ่งผมเป็นสมาชิกพรรคผมก็ไป ก็แล้วแต่ ตอนนี้อยู่ที่ทางผู้บริหารพรรค ถ้าเขาบอกว่าช่วยเรื่องนั้นเรื่องนี้หน่อย ผมเป็นสมาชิกพรรค ผมก็ไปเท่าที่ทำได้”
จากคำให้สัมภาษณ์นี้ และหากคนส่วนใหญ่ในพรรคเห็นดีเห็นงามด้วย เชื่อได้ว่าคงได้เห็น “อดีตหัวหน้าพรรค” เดินเข้าสภาเป็นกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแก้รัฐธรรมนูญฯ แน่นอน
อย่างไรก็ตาม หากย้อนกลับไปเมื่อ 27 ก.ค.59 ก่อนทำประชามติรัฐธรรมนูญ ปี 60 “อภิสิทธิ์” ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นหัวหน้าพรรค เคยประกาศไม่รับทั้งรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง
โดยเจ้าตัวระบุว่า “สามประเด็นหลักวันนี้ คือ 1.เราจะกำหนดทิศทางประเทศอย่างไร 2.เราต้องทำให้ระบบเศรษฐกิจตอบสนองทุกคนในประเทศ และ 3.ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน รธน.ตอบโจทย์หรือไม่ เราเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมและมีสิทธิเสรีภาพในการกำหนดทิศทางของประเทศ แค่ไหน ดูแลให้ไม่ถูกเอาเปรียบจากคนที่มีกำลังมากกว่าในสังคมหรือไม่ ขณะที่สิทธิเสรีภาพของประชาชนถดถอยไปจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ความขัดแย้งในสังคมต้องแก้ด้วยกระบวนการหลัก 2 อย่าง คือ กระบวนการการเมือง คือ ระบอบประชาธิปไตย และกระบวนการยุติธรรม”
อดีตหัวหน้าประชาธิปัตย์ ยังระบุถึง ส.ว.250 คน ว่า “กำหนดให้มีการเลือกกันเอง ดังนั้น จึงคงไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่าเป็นตัวแทนประชาชน กติกาที่ถูกวางมาในครั้งนี้ ล้วนแต่ให้เกิดปมความขัดแย้งใหม่ๆ ทั้งสิ้น การเลือกกันเองคงไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่า เป็นตัวแทนประชาชน กติกาที่ถูกวางมาในครั้งนี้ ล้วนแต่ให้เกิดปมความขัดแย้งใหม่ๆ ส่วนการแก้ปัญหาคอร์รัปชันไม่ถูกหยิบยกมาเป็นจุดเด่นของร่าง รธน.ชุดนี้ เราควรมองการแก้ปัญหานี้ให้ครบวงจร เริ่มจากการเปิดให้สามารถตรวจสอบได้เต็มที่ ในฉบับร่างได้ยกเลิกกระบวนการถอดถอนผู้ทำผิดไปแล้ว เหลือพึ่งแค่ ป.ป.ช. และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของนักการเมือง ซึ่งกลไกนี้กลับทำให้ทั้ง 2 หน่วยงานอ่อนแอลง เพราะคนทำผิดสามารถอุทธรณ์ได้ง่าย”
การโยนหินถามทางครั้งนี้ของ “เทพไท” ถือว่าได้รับเสียงตอบรับที่ดี เช่น นราพัฒน์ แก้วทอง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยเห็นว่าเป็นนักการเมืองมานาน มีประสบการณ์ทำงาน มีความรอบรู้ทุกด้าน หรือแม้กระทั่งคู่กัดอย่างพรรคเพื่อไทย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรค ยังเห็นด้วยให้ “อภิสิทธิ์” มาเป็น กมธ.
ทีนี้คงเหลือแต่ว่าจะแก้ไขมาตราใดบ้างซึ่งถือเป็นโจทย์ใหญ่และเป็นหัวใจสำคัญ!!!.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |