ระเบียงเศรษฐกิจอีอีซี’เนื้อหอม’ นักลงทุนรอกม.ที่ชัดเจน


เพิ่มเพื่อน    

     นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า ขณะนี้มีนักลงทุนที่มีความสนใจจะเข้าไปลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จำนวนมาก อาทิ นักลงทุนจากไต้หวัน จีน และญี่ปุ่น โดยเฉพาะนักลงทุนจากญี่ปุ่นที่มีความสนใจมาก เพราะไทยเป็นฐานการลงทุนและการผลิตหลักของนักลงทุนญี่ปุ่นในอาเซียน โดยการตัดสินใจลงทุนในพื้นที่อีอีซีนั้น น่าจะส่งผลให้นักลงทุนทยอยตัดสินใจลงทุนได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ (เม.ย.-มิ.ย.61) เนื่องจากขณะนี้นักลงทุนยังรอ พ.ร.บ.อีอีซี ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

     “ในพื้นที่อีอีซีเป็นพื้นที่ที่นักลงทุนให้ความสนใจมากเพราะมีความพร้อมด้านพื้นที่ ขณะเดียวกันรัฐบาลก็กำลังลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการลงทุนของภาคเอกชนที่ทยอยเข้ามา และในอนาคตหากอีอีซีประสบความสำเร็จเชื่อว่าจะผลักดันให้จีดีพีของประเทศขยายตัวได้ถึง 5%”นายเจน กล่าว

     นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้มีเอกชนหลายรายให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่อีอีซี โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต ซึ่งล่าสุดรับแจ้งว่าบริษัทมาสด้าได้ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า(อีวี) กับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)แล้ว หลังจากก่อนหน้านี้ค่ายบีเอ็มดับเบิลยู และเมอร์เซเดส-เบนซ์ ลงทุนตั้งโรงงานแบตเตอรี่อีวี

     ขณะที่อุตสาหกรรมอากาศยาน สายการบินแอร์เอเชียเตรียมลงนามความร่วมมือกับคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.)เพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาธุรกิจซ่อมบำรุงอากาศยาน(เอ็มอาร์โอ) ส่วนบริษัท ซาบ ผู้ผลิตเครื่องบินรบและพาณิชย์จากสวีเดน ก็สนใจลงทุนในอีอีซี ซึ่งได้มีการหารือกันอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อุตสาหกรรมดิจิทัล เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้หารือกับอาลีบาบาถึงความคืบหน้าการลงทุนในพื้นที่อีอีซี คาดว่าทางอาลีบาบาจะประกาศพื้นที่ลงทุนช่วง 1-2 เดือนจากนี้

     สำหรับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ปี 2561 นี้ จะมีบริษัทเอกชนรายใหญ่ของไทยเตรียมลงทุนด้านหุ่นยนต์รวมประมาณ 12,000 ล้านบาท อาทิ บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) , บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) และมีบริษัทจากจีนสนใจลงทุน นอกจากนี้นักลงทุนญี่ปุ่นสนใจลงทุนเช่นกัน อาทิ ฮิราตะ กำลังหารืออยู่ รวมทั้งเดนโซ่ ที่นำระบบเข้ามาช่วยเหลืออุตสาหกรรมหุ่นยนต์ของไทยและอยู่ที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมกล้วยน้ำไท และฮิตาชิ ที่ลงทุนด้านศูนย์รวมข้อมูล(บิ๊กดาต้า)ในอีอีซี เพื่อให้บริการหน่วยงานรัฐและเอกชนในพื้นที่ นอกจากนี้อุตสาหกรรมการแพทย์ อุตสาหกรรมไบโออีโคโนมี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"