ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีประจำวันอังคารที่ 13 มีนาคม เห็นชอบในหลักการร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยระหว่างนี้ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาในรายละเอียด คาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนทั้งหมดภายใน 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นหากจะมีการออกกฎหมายลูกเพื่อมาสอดรับตาม พ.ร.ก. ดังกล่าว ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นผู้พิจารณา
สำหรับวัตถุประสงค์ของการออก พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการคุ้มครองประชาชน เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจดิจิทัลมีการแพร่หลายอย่างมาก รัฐบาลกังวลว่าธุรกิจดังกล่าวอาจเป็นช่องทางให้ประชาชนโดนฉ้อโกง หรือเป็นช่องทางในการฟอกเงินได้ จึงจำเป็นต้องเข้าไปดูแลในเรื่องนี้โดยเร่งด่วน
ทั้งนี้ หลักการเบื้องต้นของ พ.ร.ก. ดังกล่าว คือ ผู้ประกอบธุรกิจดิจิทัล ซึ่งหมายถึงคนที่เป็นตัวกลาง เป็นแพลทฟอร์ม ผู้ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล โบรกเกอร์ หรือผู้ค้า เป็นต้น บุคคลเหล่านี้จะต้องมาลงทะเบียนกับภาครัฐเพื่อเป็นการแสดงตัวตน ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ คงต้องรอกฤษฎีกาพิจารณาให้เรียบร้อยก่อน
นอกจากนี้ พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจะมีการพิจารณาครอบคลุมถึงการจัดเก็บภาษีที่เกิดจากการทำธุรกรรมดิจิทัล ซึ่งเบื้องต้นอาจแบ่งการจัดเก็บออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ 1. จัดเก็บจากกำไรที่เกิดจากการซื้อ-ขายสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งในส่วนนี้เหมือนธุรกิจทั่วไป และ 2. จัดเก็บจากปันผลที่จ่ายให้กับนักลงทุน โดยการดำเนินการทั้งหมดจะยืนอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียม
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |