ขณะเดียวกัน การที่ไทยถูกตัดสิทธิ์จีเอสพี อาจทำให้นักลงทุนต่างชาติในสินค้ากลุ่มนี้ ที่ลงในจีนอยู่ก่อนแล้ว และมีแผนย้ายฐานการผลิตมาไทย เพื่อหนีภัยสงครามการค้า อาจชะลอการย้ายฐาน หรืออาจไปประเทศเพื่อนบ้านไทยแทน ซึ่งจะทำให้สูญเสียเงินลงทุนจากต่างประเทศ และอาจทำให้การลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้รับผลกระทบ
ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาการหมุนเวียนของเศรษฐกิจโลกเป็นหลัก ทั้งการลงทุน การนำเข้า การส่งออก ก็เป็นไปตามความเคลื่อนไหวของตลาดโลก และไทยเองก็ถือว่าเป็นประเทศที่มีปริมาณในการส่งออกสินค้าบางชนิดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมหลักๆ อย่างเช่น อาหาร รถยนต์ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีทั้งของอุปโภคและบริโภค
ขณะที่ประเทศคู่ค้าหลักๆ ก็คงหนีไม่พ้น จีน สหรัฐอเมริกา ฝั่งยุโรป หรือประเทศเพื่อนบ้าน ที่เป็นประเทศคู่ค้าหลักกันมานาน แต่ล่าสุดประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายบริหารประเทศใหม่ในหลายๆ ด้าน ทำให้เกิดความโกลาหลให้กับเศรษฐกิจของโลกพอสมควร จึงเป็นพลังที่จะทำให้เศรษฐกิจในประเทศไทยผันผวน
แต่สิ่งที่กล่าวมานั้นเทียบไม่ได้เลยกับการที่ออกประกาศตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (สิทธิ์จีเอสพี) กับประเทศไทย ซึ่งถือว่าจะเป็นการปล่อยปัญหาให้กับประเทศโดยตรงจึงทำให้ในช่วงที่ผ่านมาไม่กี่วันนี้ การนำเสนอเรื่องการตัดสิทธิ์จีเอสพีของสหรัฐจึงได้รับความสนใจอย่างมาก และเป็นคำถามสำคัญให้กับกลุ่มผู้บริหารประเทศว่าจะทำอย่างไรต่อไป และมีแนวทางเยียวยาหรือแก้ไขอย่างไรบ้าง?
ซึ่งจีพีเอสคือสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร ที่ประเทศพัฒนาแล้วให้กับประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา โดยลดภาษีสินค้านำเข้าให้ เพื่อให้สินค้าจากประเทศเหล่านี้สามารถแข่งขันกับสินค้าจากประเทศพัฒนาแล้วได้ ไทยเองรับสิทธิ์จีเอสพีจากหลายประเทศ และที่ผ่านมาก็เคยถูกตัดสิทธิ์มาแล้วหลายครั้งเช่นกัน และเมื่อถูกตัดสิทธิ์จะทำให้สินค้าเหล่านั้นต้องมีการจ่ายภาษีที่สูงขึ้นและกระทบกับต้นทุนการส่งออกเป็นอย่างมาก
โดยสิทธิ์จีเอสพีนั้น ประเทศที่ให้สิทธิ์ ไม่ได้เรียกร้องผลประโยชน์ใดๆ ตอบแทน แต่การให้สิทธิ์ก็เป็นการให้แบบมีเงื่อนไข เช่นในกรณีของสหรัฐจะมอบให้กับประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติต่อหัวไม่เกิน 12,735 เหรียญสหรัฐเท่านั้น โดยล่าสุดในปี 2018 ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติต่อหัวของไทยอยู่ที่ประมาณ 7,200 เหรียญสหรัฐ จึงเข้าเงื่อนไขดังกล่าวนี้ในการรับสิทธิ์จีเอสพีจากสหรัฐ
สำหรับการตัดสิทธิ์จีเอสพีรอบล่าสุดโดยสหรัฐอเมริกานี้จะกระทบสินค้าทั้งสิ้น 573 รายงาน โดยมีทั้งส่วนที่เป็นสินค้าอุปโภคและบริโภค โดยเฉพาะกลุ่มอาหารทะเลที่โดนยกเลิกทั้งหมด รวมแล้วเป็นมูลค่ากว่า 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณเกือบ 40,000 ล้านบาท การตัดสิทธิ์ดังกล่าวจะมีผลจริงในอีก 6 เดือนข้างหน้า นั้นก็คือจะเริ่มในวันที่ 25 เม.ย.2563
ทั้งนี้ หน่วยงานที่ดูแลหลักในการเจรจาดังกล่าว ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ ที่จะต้องหาแนวทางแก้ไขอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดกับผู้ประกอบการในไทย โดยคณะรัฐมนตรี เศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) ได้สั่งการให้กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน กระทรวงพาณิชย์ ตั้งคณะทำงาน และหาช่องทางยื่นเรื่องให้สหรัฐทบทวนการเรื่องดังกล่าวและทำการคืนสิทธิ์ให้กับประเทศไทย
ขณะเดียวกัน ได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ได้เตรียมการร่วมกับภาคเอกชน เพื่อหาช่องทางในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบโดยเร่งให้มีการหาตลาดอื่นๆ เพิ่มขึ้น รวมถึงเพิ่มศักยภาพให้ผู้ประกอบการ และหาแนวทางแก้ไขในเรื่องดังกล่าว โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มมูลค่าการส่งออก ซึ่งกำหนดตลาดใหม่ที่สำคัญไว้ใน 10 ประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกา ได้แก่ จีน อินเดีย แอฟริกาใต้ เอเชียใต้ กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ญี่ปุ่น เกาหลี ตุรกี เยอรมนี สหภาพยุโรป รวมถึงอังกฤษ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า แม้สหรัฐตัดสิทธิ์ไทย แต่ยังมีโอกาสเจรจาขอคืนสิทธิ์ได้ เพราะในการประกาศ สหรัฐใช้คำว่า แขวน (suspend) ซึ่งต่างจากอินเดียและตุรกี ที่ใช้คำว่ายุติการให้สิทธิ์ (terminate) และถอนออกจากการเป็นประเทศที่ได้รับสิทธิ์ แต่ภายหลังการเจรจาแล้ว สหรัฐจะคืนสิทธิ์ให้หรือไม่ อยู่ที่การพิจารณา
อย่างไรก็ตาม จากสถิติการใช้สิทธิ์จีเอสพีส่งออกสินค้าไปสหรัฐ ผู้ส่งออกไทยใช้สิทธิ์ประมาณ 70% ของมูลการส่งออกสินค้าที่ได้รับสิทธิ์ ส่วนอีก 30% ไม่ใช้สิทธิ์ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสินค้าไทยมีศักยภาพการแข่งขันที่ดีในตลาดสหรัฐ ไม่จำเป็นต้องใช้สิทธิ์จีเอสพี และผู้นำเข้ายอมเสียภาษีนำเข้าในอัตราปกติแทน
โดยการตัดสิทธิ์ครั้งนี้จะส่งกระทบต่อสินค้าบางรายการเท่านั้น ไม่ใช่ทุกรายการ รวมถึงเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกรณีการแบน 3 สารเคมีเพื่อการเกษตรกรรมของไทย แต่เรื่องดังกล่าวเป็นการทบทวนตามระยะเวลาอยู่แล้ว โดยยังมีประเทศอื่นที่ถูกตัดสิทธิประโยชน์จีเอสพีเช่นกัน
นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมวอร์รูม ประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชนในกลุ่มสินค้าที่สหรัฐตัดสิทธิ์จีเอสพี ว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อรับฟังผลกระทบ และข้อเสนอแนะของภาคเอกชนในการแก้ปัญหา หรือลดผลกระทบจากการถูกตัดสิทธิ์ ซึ่งภาคเอกชนส่วนใหญ่บอกว่า ได้รับผลกระทบไม่มากนัก เพราะได้ปรับตัวด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มความสามารถในการแข่งขันมานานแล้ว เนื่องจากรู้ว่าวันหนึ่งสหรัฐต้องตัดสิทธิ์จีเอสพีไทย และบอกอีกว่า สินค้าของตัวเองเหมาะกับตลาดไหนอีกบ้าง นอกเหนือจากสหรัฐ
ด้าน นายกฤษดา ทรัพย์ทวยชน รองประธานสมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคมไทย กล่าวว่า กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก เพราะจะต้องกลับมาเสียภาษีเฉลี่ยที่ 5% จากก่อนหน้านั้นไม่เสียภาษีเลย และจากการหารือกับผู้นำเข้า ส่วนมากบอกว่าหนักใจ และอาจชะลอการนำเข้าได้
ขณะเดียวกัน การที่ไทยถูกตัดสิทธิ์จีเอสพี อาจทำให้นักลงทุนต่างชาติในสินค้ากลุ่มนี้ที่ลงในจีนอยู่ก่อนแล้ว และมีแผนย้ายฐานการผลิตมาไทย เพื่อหนีภัยสงครามการค้า อาจชะลอการย้ายฐาน หรืออาจไปประเทศเพื่อนบ้านไทยแทน ซึ่งจะทำให้สูญเสียเงินลงทุนจากต่างประเทศ และอาจทำให้การลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้รับผลกระทบ
นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า สศอ.คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยไม่มาก อย่างไรก็ตาม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และ สศอ. อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล และ สศอ.จะแถลงการประเมินผลกระทบอีกครั้งใน 1 เดือน
ด้าน นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวอาจจะเกิดจากการที่สหรัฐขอเปิดตลาดสุกรเนื้อแดงเมื่อหลายปีที่ผ่านมา และต้องการนำเข้าสารเร่งเนื้อแดงเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่มีข้อยุติ พร้อมระบุว่า การตัดสิทธิ์จีเอสพีสินค้าไทยนั้นจะมีผลกระทบต่อสินค้าบางรายการ แต่ผลกระทบที่ชัดเจนโดยตรงขณะนี้คือเรื่องค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เพราะการเติบโตของเศรษฐกิจ (จีดีพี) ขึ้นอยู่กับการส่งออกโดยตรง แม้ขณะนี้เศรษฐกิจของไทยเริ่มแข็งแรงขึ้น แต่สินค้าที่อยู่ภายใต้จีเอสพีก็ต้องเตรียมพร้อมเสมอ เมื่อถูกตัดจะทำอย่างไร โดยผู้ประกอบการธุรกิจต้องหาตลาดใหม่ในการลดทุน
“เรื่องนี้ต้องอยู่ที่ภาครัฐในการกำหนดท่าทีต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอีกครั้ง เพราะจะมีผลวันที่ 25 เม.ย.2563 ยังพอมีเวลารับมือ แต่อย่างไรก็ตาม ในมุมของเอกชนกังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแน่นอน โดยเฉพาะด้านการส่งออก แต่เชื่อว่าสินค้าไทยกลุ่มดังกล่าวยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคสหรัฐ เพราะเป็นสินค้าในชีวิตประจำวัน และไทยผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและหลากหลาย” นายสุพันธุ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้จึงมีความอ่อนไหวอย่างมาก หากการหาตลาดอื่นที่จะเข้ามาทดแทนได้ไม่ทันการ คงจะต้องเกิดผลกระทบกับผู้ประกอบการในไทยไม่มากก็น้อย รัฐบาลจึงต้องเร่งแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ และเร่งทำการเจรจา ต่อรอง เพื่อแลกเปลี่ยนอะไรบางให้สถานการณ์กลับมาดีขึ้นอีกครั้ง ซึ่งเชื่อว่าประสบการณ์ที่ผ่านมาของรัฐบาลก็ได้แก้ปัญหาต่างๆ มาแล้ว เรื่องนี้จึงเป็นประเด็นที่ว่าหากมุ่งมั่นก็จะสามารถแก้ไขได้ไม่ยาก.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |