16 ปีงดเหล้าเข้าพรรษา สู้ต่อ "ออกพรรษาลาเหล้า"


เพิ่มเพื่อน    

ช่วงเข้าพรรษา 3 เดือนที่ผ่านมา ถือเป็นโอกาสทองที่ชวนให้คนลึกขึ้นมาสู้เหล้าได้ ชี้ชวนให้คนในสังคมตระหนักถึงชีวิตใหม่ที่ดีกว่าเดิมจากการวางขวดเหล้า การทำงานรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา 16 ปีที่ผ่านมา เกิดผลรูปธรรม แต่การจัดการแก้ปัญหาเหล้าคงวางมือไม่ได้ แนวทางทำงานในช่วงออกพรรษาอีก 9 เดือน จึงเป็นห้วงเวลาที่ไม่ควรละเลยสื่อสารขับเคลื่อนรณรงค์เลิกเหล้า นำมาสู่การรุกรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา ภายใต้แนวคิด"ออกพรรษาลาเหล้าปี 2562 "

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวว่า " งดเหล้า เข้าพรรษา" เป็นโครงการตั้งต้นงดเหล้าของ สสส. และเป็นงานชิ้นสำคัญที่ทำเรื่องปัจจัยเสี่ยง เพราะมีการศึกษาสถานการณ์การดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย มีคนไทยดื่มมากขึ้นและแนวโน้มน่ากลัว เส้นกราฟพุ่งสูง ยุคนั้นคนหรือองค์กรที่ทำงานเรื่องนี้น้อยมาก กำลังทางสังคมแผ่วเบา เมื่อเทียบกับบุหรี่ซึ่งตั้งหลักได้แล้ว จนกระทั่งปี 2546 เริ่มงานงดเหล้า เข้าพรรษา ลั่นระฆังชวนคนกลุ่มหนึ่งมาล้อมวงปักธงและนำมาสู่งดเหล้า เข้าพรรษา สองปีต่อมา จากการประเมินผลแบรนด์ สรุปว่า งดเหล้าเข้าพรรษาเป็นแบรนด์ที่คนรู้จัก เข้าใจและรู้ความหมาย กระแสลงตัว ควรเดินหน้ารณรงค์ต่อ

 

 " เดิมเข้าพรรษา ชาวพุทธจะงดเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เลิกอบายมุข แต่ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป แนวปฏิบัตินี้ก็ลดลง สสส.มารื้อฟื้นจากการที่สังคมไทยมีทุนตั้งต้น ทุนทางศาสนา อีกทั้งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม มีวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุด ไม่ใช่แค่ 1 วัน เราใช้ 3 เดือนนี้เป็นห้วงเวลาสำคัญควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากนั้นปล่อยเคมเปญแรก "เลิกเหล้าเพื่อแม่ ชวนทุกคนให้เห็นแก่ครอบครัว พ่อ แม่ ต่อมาปี 2549 มีแคมเปญ "จน เครียด กินเหล้า" และ"เลิกเหล้า เลิกจน" เชื่อมโยงพิษภัยทางเศรษฐกิจ ตามด้วยเมาแล้วขับ เติมความเข้าใจสังคมต่อปัญหาอุบัติเหตุ กระทบผู้อื่น ทั้งหมดนี้นำไปสู่การขับเคลื่อน พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฉบับแรกของประเทศไทย การรณรงค์งดเหล้า เข้าพรรษาสร้างบรรยากาศให้สังคม พร้อมรับกติกาใหม่ และสร้างแคมเปญอีกมากมายออกมา รวมถึงเข้าพรรษาพักตับ รวมถึงลดบทบาทของเหล้าในสังคม ปรับเปลี่ยนค่านิยม " ดร.สุปรีดา เปิดปูมสำคัญงดเหล้า เข้าพรรษา

 

เส้นทางการขับเคลื่อนงดเหล้าเข้าพรรษา เดินหน้าไม่หยุด ผู้จัดการกองทุนฯ กล่าวต่อว่า แนวทางต่อมาลงระดับพื้นที่ กระตุ้นชุมชน ลด ละ เลิกดื่ม สร้างคนหัวใจหิน คนหัวใจเหล็ก และคนหัวใจเพชร เลิกเหล้าตลอดชีวิต เกิดฐานชุมชนตลอด 16 ปี มีผู้ร่วมทางมากมาย ปัจจุบันมีกว่า 300 องค์กร ให้ความร่วมมือ และขยายผลแตกตัวออกไป จากการประเมินผล ช่วยลดค่าใช้จ่ายในระดับครัวเรือนชัดเจน และ 3 เดือน สถิติอุบัติเหตุทางถนนลดลง 3% ถ้าเสียชีวิตจากแอลกอฮอล์ลดลงถึง 25% ส่วนความสุขของครอบครัวและความสมานฉันท์ที่เกิดขึ้นในสังคม อาจไม่มีตัวเลขวัดได้ แต่เห็นชัดจากสังคมโดยรวมดีขึ้น การลดลงของนักดื่ม ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ก้าวต่อไป สสส. และเครือข่ายองค์กรงดเหล้าจะร่วมขับเคลื่อนผลักดันให้เกิดอนุสัญญาโลกในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แม้แอลกอฮอล์จะไม่ได้หมดไปจากโลก แต่ลดลงอย่างแน่นอน ต้องเคลื่อนไปข้างหน้าเพื่อสังคมไทยปลอดแอลกอฮอล์

งานนี้ มีการเผยแพร่การประเมินผลการรณรงค์ “งดเหล้าเข้าพรรษาปี 2562” โดยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา ร่วมกับศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB) และสสส. พบว่า มีผู้ร่วมงดเหล้าเข้าพรรษา 53.5% แบ่งเป็น ผู้ที่งดเหล้าตลอดพรรษา 31% และผู้ที่งดบางช่วงและลดการดื่มลง 22.5% สัดส่วนใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา กลุ่มที่ลด ละ เลิกดื่ม ส่วนใหญ่ระบุว่า ทำให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ เฉลี่ยรายละ 1,284 บาท ประเทศประหยัดได้เป็นเงิน 8,251 ล้านบาท กลุ่มที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมี 5% ตั้งใจจะเลิกดื่มตลอดชีวิต

 

สำหรับเข้าพรรษาปีหน้า ยังคงมีผู้ดื่มเกือบ 2 ใน 3 มีความตั้งใจจะลด ละ เลิกเช่นเดิม นอกจากนี้ ยังพบว่าในเดือนที่รณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา ช่วยลดผู้เสียชีวิตจากทุกสาเหตุลง 9% การเสียชีวิตจากแอลกอฮอล์ลดลง 25% และยังส่งผลให้การดื่มลดลง 10% อีกด้วย

 

ช่วงเข้าพรรษาสามเดือนนี้ มีข้อดีมากมาย เป็นโอกาสสำคัญในการเปลี่ยนแปลงตนเอง ดูแลครอบครัว และเศรษฐกิจในครอบครัว สสส.และภาคีเครือข่าย ลุยต่อไม่ใช่เฉพาะช่วงเข้าพรรษา แต่กระตุ้นงดเหล้าตลอดชีวิตมาสร้างความสุขให้สังคม

ธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า เข้าพรรษา 3 เดือน เป็นโอกาสเริ่มต้น อีก 9 เดือนที่เหลือ จะต้องทำงานต่อเนื่อง ผลจากการงดเหล้า เข้าพรรษา ทำงานลงลึกระดับชุมชนตั้งแต่ปี 2557 ค้นหาคนเลิกเหล้าต้นแบบ รวบรวมเป็นชมรม ใช้เวลากว่า 5 ปี ปัจจุบันเกิด 116 ชมรมสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม ปัจจุบันมี 892 ชุมชนเป็นต้นแบบ และยังขอความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ นำเด็กร่วมกิจกรรมเปลี่ยนแปลงสังคม ทำจดหมายสื่อรัก ลูกขอพ่อแม่เลิกเหล้า ลูกขอบคุณพ่อไม่ดื่ม จากนี้ จะขับเคลื่อนทั้งชุมชนและโรงเรียนตลอด 9 เดือน รวมถึงมีชมรมคนหัวใจเพชรชวนคนในชุมชนเลิกเหล้าต่อหลังออกพรรษา สนับสนุนความรู้และทักษะ โดยจะขยายชมรมต่อไป และทำต่อเรื่องการจัดการสภาพแวดล้อม ทั้งร้านค้า งานวัฒนธรรมประเพณี เข้าพรรษาเป็นโอกาสทอง แต่หลังออกพรรษาให้ลาเหล้า ทำให้การดื่มไม่ใช่เรื่องปกติที่คุ้นชินกัน

 

ออกพรรษาลาเหล้า เป็นการชวนชุมชนลุกขึ้นมาแก้ปัญหาประเด็นเหล้า เวลานี้มีกองทัพจิตอาสาชวนคนงดเหล้าตลอดทั้งปีกระจายทั่วประเทศ หนึ่งในนั้น คือ สุมาลี โพธิ์สิทธิพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต. หายโศก จ.บุรีรัมย์ งานนี้ มาพร้อม สมทรง ชุบไธสง คนหัวใจหินเลิกเหล้าได้ 6 เดือนแล้ว

 

 สุมาลี บอกว่า ใช้สติบำบัดช่วยเหลือคนติดเหล้า เดิมในชุมชนมีปัญหาสุขภาพ คนในชุมชนติดเหล้าตายด้วยมะเร็งตับ การทำงานจะบอกคนติดเหล้า ถ้าเลิกได้ จะลดผลกระทบต่อตัวเองและผู้อื่น ทำให้คนรอบข้างภาคภูมิใจ และได้คนหัวใจเพชรเข้ามาช่วยทำงาน มีการชวน ช่วย ชม เชียร์ ให้กำลังใจ และสิ่งสำคัญทำให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ตั้งเป้าโมเดลหายโศก สร้างสุข ทำให้ชุมชนขับเคลื่อนต่อไป มีการพัฒนาหลักสูตรเลิกเหล้าในพื้นที่ ไม่ใช่แค่สติบำบัด อยากสื่อสารเลิกเหล้ามาสร้างชีวิตใหม่ที่ดีกว่าเดิม ทั้งนี้ การทำงานในท้องถิ่นจะทำต่อเนื่องถึงจะประสบผลสำเร็จ

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"