มหากาพย์รามายณะ แรงบันดาลใจ 9 ชาติเอเชียผนึกสร้างงานศิลป์


เพิ่มเพื่อน    

อนุชา ธีรคานนท์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มธ. ผู้ริเริ่มโครงการ “พหลพักตรา” 

 

     มหากาพย์รามายณะของอินเดียเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก สำหรับคนไทยคุ้นเคยรามายณะในชื่อว่า "รามเกียรติ์" ซึ่งแต่งเติมและสร้างเรื่องขึ้นใหม่ ผ่านรูปแบบการแสดงโขนและวรรณคดีรามเกียรติ์ นับเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นเมื่อเหล่าศิลปินจาก 9 ประเทศ รวมทั้งไทย สร้างสรรค์ผลงานศิลปะชุดใหม่ผ่านสายตาและการตีความมหากาพย์รามายณะ จัดแสดงในนิทรรศการศิลปะนานาชาติ "พหลพักตรารามายณะ" เพื่อสืบทอดมหากาพย์นี้ให้งอกงาม และเฉลิมฉลองมรดกร่วมรามายณะ โดยมีผลงานศิลปะให้ชื่นชมกว่า 55 ชิ้น ทั้งจิตรกรรมร่วมสมัย จิตรกรรมแนวประเพณี ภาพพิมพ์ งานกราฟฟิติ ภาพสีน้ำ งานสื่อผสม และงานประติมากรรมต่างๆ

      นิทรรศการนี้เกิดจากความร่วมมือของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม และคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับองค์การยูเนสโก ด้วยการสนับสนุนของบริษัท อมอร์ แปซิฟิค ผ่านแบรนด์โซลวาซู โดยมี พิมพ์รวี วัฒนวรางกูร ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ สวธ. เป็นประธานเปิดนิทรรศการ ท่ามกลางศิลปินที่เดินทางมาจากหลายประเทศในเอเชีย ศิลปินแห่งชาติ และผู้รักงานศิลป์

 

          ”ทศกัณฐ์อินเลิฟ” ผลงานศิลป์ได้แรงบันดาลใจจากมหากาพย์รามายณะ

 

      ดร.อนุชา ทีรคานนท์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มธ. กล่าวถึงแนวคิดโครงการ “พหลพักตรา” หรือ “The Many Faces” ว่า เกิดขึ้นจากความตั้งใจให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่จะทำให้คนจากประเทศต่างๆ วัฒนธรรมต่างๆ ได้ชื่นชมในมรดกภูมิปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ร่วมกัน คำว่า “พหลพักตรา” สื่อถึงพหุวัฒนธรรมและความเปิดกว้างโลกทัศน์ที่หลากหลายในสังคมโลกปัจจุบัน นิทรรศการนานาชาติในปีแรกนี้ได้เลือกที่จะเฉลิมฉลองพหุวัฒนธรรมที่มีรากเหง้ามาจากมหากาพย์รามายณะที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก เกิดเป็นนิทรรศการ “พหลพักตรารามายณะ” หรือ “The Many Faces of Ramayana” นอกจากนี้ชื่อของโครงการนั้นยังสื่อถึงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ และระหว่างประเทศต่างๆ โดยองค์การยูเนสโกเป็นตัวกลางเชื่อมโยงทรัพยากรจากต่างประเทศ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นผู้จัดทำนิทรรศการนี้ขึ้น โดยจัดแสดงผลงานของศิลปินจาก 9 ประเทศ ได้แก่ มาเลเชีย อินโดนีเชีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินเดีย เนปาล ฝรั่งเศส แคนาดา และประเทศไทย

 

  อนุชา ธีรคานนท์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มธ. ผู้ริเริ่มโครงการ “พหลพักตรา”    

“  โครงการนี้สะท้อนความร่วมมือระหว่างภาคส่วนและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศต่างๆ หวังว่า ผู้เข้าชมจะกลับไปพร้อมความคิดที่ถูกจุดประกายโลกทัศน์ที่เปิดกว้างและความจรรโลงใจจากศิลปะที่คัดเลือกมา” ดร.อนุชา กล่าว

 

มหากาพย์รามายณะในรูปแบบศิลปะการแสดงวันเปิดนิทรรศการ

 

      ชิเกรุ อาโอยากิ ผู้อำนวยการองค์การยูเนสโก กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า นิทรรศการนี้เป็นความริเริ่มที่น่าตื่นเต้นระหว่าง 3 หน่วยงาน เราประสบความสำเร็จในการสร้างพื้นที่ใหม่ให้คนจากวัฒนธรรมและสังคมต่างๆ ได้แสดงออกถึงความประทับใจในวรรณคดีที่ทุกคนต่างชื่นชอบและเล่าขานมาช้านาน

      “ การขึ้นทะเบียนละคอนในของกัมพูชาและรามลีลาของอินเดียในปี พ.ศ.2551 มาจนถึงการขึ้นทะเบียนโขนในประเทศไทยในปี พ.ศ.2561 ในทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่เป็นตัวแทนของมนุษยชาติขององค์การยูเนสโก ได้พิสูจน์ว่า มหากาพย์รามายณะเป็นรากเหง้าของมรดกภูมิปัญญาที่ยอมรับกันทั่วโลก นาฏศิลป์หัวโขนเรื่องรามายณะเหล่านี้น่าสนใจ ไม่ใช่เพียงเพราะเป็นศิลปะที่วิจิตรสวยงาม หรือการเป็นถ้วยรางวัลของชาติที่ได้รับการขึ้นทะเบียนยูเนสโกเท่านั้น แต่มรดกนาฏศิลป์เหล่านี้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ยังคงเป็นที่ยอมรับของหลากหลายสังคมในปัจจุบันทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีคนปฏิบัติและสืบทอดทักษะและความรักในมรดกนี้สู่รุ่นต่อไป” ชิเกรุ กล่าว

 

Tosakan” จากการตีความของ จิรัชญา วันจันทร์

      ผอ.องค์การยูเนสโก กรุงเทพฯ กล่าวต่อว่า รากเหง้าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมมหากาพย์รามายณะ ทำให้เราเชื่อมโยงตัวตนกับบรรพบุรุษของเราได้และสร้างอัตลักษณ์ที่ต่อเนื่องเป็นอารยธรรมเดียวกันต่อไป การเก็บวรรณคดีนี้เข้ากรุหรือแช่แข็งประเพณีการแสดงราวกับอยู่ในพิพิธภัณฑ์เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เพราะวัฒนธรรมนี้มีคุณค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการถูกปฏิบัติและประยุกต์ตามวิถีของผู้คนที่มีชีวิตอยู่

      “ มหากาพย์รามายณะยังเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยให้ทุกคนชื่นชมในนิทรรศการครั้งนี้ความหลากหลายของผลงานศิลปะที่จัดแสดงจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจกันและกันการแลกเปลี่ยนเช่นนี้คือกุญแจสู่สันติวัฒนธรรม“ ชิเกรุ กล่าว

จิตรกรรมร่วมสมัย “แปลงกาย” โดย บุญช่วย เกิดรี

 

      ด้าน บุญช่วย เกิดรี ศิลปินอาจารย์ร่วมแสดงผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยชื่อว่า "แปลงกาย" เทคนิคสีอะครีลิก เผยแรงบันดาลใจว่า รู้จักวรรณคดีรามายณะตั้งแต่เด็กผ่านหนังสือ การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ และจิตรกรรม สนใจร่วมโปรเจ็กต์นิทรรศการศิลปะนานาชาตินี้ เพราะอยากตีความรามายณะใหม่ ไม่ใช่รูปแบบดั้งเดิม ได้แนวคิดจากร้อยกรองประกอบจิตรกรรมฝาผนังระเบียงวัดพระแก้ว ตอนทศกัณฐ์ลักนางสีดา บังคับให้ยักษ์กายสีขาว ชื่อ มารีศ แปลงกายเป็นกวางทอง หลอกล่อพระรามให้ออกไปจับมาให้นางสีดา ชื่นชอบตอนนี้ที่สุด และเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามในเรื่อง

      “ แปลงกาย ก็เท่ากับ การโกหก นำเสนอด้วยภาพกวางสีขาวในรูปทรงตามจินตนาการ จมูกยื่นยาวออกมาแบบพินอคคิโอในนิทาน องค์ประกอบภาพยังมีผีเสื้อแทนความตาย เพราะในเรื่องมารีศถูกพระรามใช้ศรยิงและตายในที่สุด มหากาพย์รามายณะมีคุณค่าเพราะสอดแทรกความจริงในชีวิต รัก โลภ โกรธ หลง แต่ท้ายสุดจะรอดพ้นจากอันตรายด้วยคุณธรรมจริยธรรม แม้จะเป็นเรื่องที่ยาว แต่ถ้าเลือกอ่านเป็นตอนๆ ก็สัมผัสได้ถึงความหมายที่ซ่อนอยู่ อยากให้คนรุ่นใหม่สนใจรามายณะ จะเริ่มจากชมผลงาน 55 ชิ้นในนิทรรศการนานาชาติครั้งนี้ก็น่าสนใจ” บุญช่วยกล่าว

      นิทรรศการศิลปะนานาชาติเพื่อฉลองมรดกร่วมรามายณะ จัดแสดงระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม ถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2562 ณ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เปิดให้เข้าชมฟรี

 

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"