31 ต.ค.256 2 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานมอบนโยบายและเปิดโครงการประชารัฐสร้างไทย พัฒนาล้านนา ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่างกระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)กองทุนหมู่บ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยนายสมคิด กล่าวว่า การเปิดโครงการประชารัฐสร้างไทย เป็นความร่วมมือของหน่วยงานรัฐต่างๆ เข้ามาดำเนินการร่วมกัน เพื่อต้องการช่วยแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและขจัดความยากจน เพราะจะส่งเสริมทั้งภาคการท่องเที่ยว การแปรรูปสินค้า และการพัฒนาด้านการเกษตรทั้งระบบ
ส่วนผู้ที่มีรายได้น้อยที่ยังไม่สามารถพัฒนาตัวเองให้พ้นความยากจนได้ รัฐบาลก็ยังจำเป็นที่ต้องมีมาตรการช่วยเหลือต่อไป โดยกระทรวงการคลังจะจัดทำโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐระยะต่อไปออกมา ซึ่งเบื้องต้นจะมีการออกประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุ เพื่อช่วยดูแลกรณีเจ็บป่วย ไม่สบาย ไม่สามารถทำงานได้ ทางประกันภัยเหล่านี้จะเข้าไปคุ้มครองความช่วยเหลือด้านรายได้ให้ ซึ่งเชื่อว่าจะใช้เงินงบประมาณไม่มาก และรัฐบาลก็พร้อมดำเนินการ ขณะเดียวกันยังจะมีการเพิ่มสิทธิ์ประโยชน์สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในรูปแบบอื่นอีกหลายส่วนอย่างต่อเนื่องด้วย
“มีบางฝ่ายชอบบอกว่ารัฐบาลเอื้อคนรวย แต่ถ้ามาดูสิ่งที่เรากำลังทำ ก็จะเห็นว่าไม่ใช่แบบนั้น รัฐบาลมีหลายโครงการที่มาช่วยดูแล และยกระดับคนจน เช่นเรื่องประชารัฐสร้างไทย ที่จะเป็นโมเดลต้นแบบที่จะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน หรือหากใครยังพัฒนาตัวเองไมได้ ก็จะมีโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไปช่วยเหลืออีก”นายสมคิด กล่าว
ด้านนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า กระทรวงการคลังได้เตรียมแผนการพัฒนาชุมชนไว้หลายรูปแบบ ทั้งการสร้างอาชีพ สร้างตลาด และสร้างโอกาส โดยขณะนี้ธ.ก.ส.และออมสินมีแหล่งเงินทุนเตรียมไว้สำหรับเรื่องดังกล่าวแล้วกว่า 400,000 ล้านบาท ซึ่งจะเน้นทั้งการพัฒนาด้านการเกษตร ท่องเที่ยว เอสเอ็มอี และสินค้านวัตกรรมต่างๆ โดยหลังจากนี้จะขยายโครงการไปยังภูมิภาคอื่นต่อไปด้วย
ด้านนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ธนาคารออมสินได้มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ด้านอาชีพเพื่อแนะนำและให้คำปรึกษาการเลือกอาชีพ โดยร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นำตัวอย่างของอาชีพที่ประสบความสำเร็จที่ฝึกอบรมและเรียนรู้ในระยะสั้น ทั้งช่างประชารัฐ ช่างอุปกรณ์ไฟฟ้า ช่างเอนกประสงค์ และได้จัดพื้นที่สำหรับค้าขายจำนวนไม่น้อยกว่า 200 ร้านค้า ซึ่งมีพ่อค้าแม่ค้าที่เป็นลูกค้าธนาคารออมสิน หน่วยงานพันธมิตร และภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมด้วย รวมถึง บิ๊กซีซุปเปอร์เซ็นเตอร์ เครือเบทาโกร และ Airbnb ด้วย
ทั้งนี้ในส่วนของการเข้าถึงแหล่งทุนในระบบนั้น ธนาคารได้เตรียมสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโครงการประชารัฐสร้างไทย เพื่อให้พ่อค้า แม่ค้า หาบเร่ แผงลอย ผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อย และผู้มีรายได้น้อย ได้นำเงินไปเป็นทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ โดยใช้บุคคล หรือ บสย. เป็นหลักประกัน มีวงเงินกู้สูงสุดรายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 0.50% ต่อเดือน (Flat Rate) ระยะผ่อนชำระเกิน 5 ปี (60 งวด) สามารถยื่นเรื่องขอกู้ได้ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม 2562 ซึ่งทั้งหมดจะมีศูนย์ยกระดับคุณภาพชีวิตเศรษฐกิจฐานราก 17 ศูนย์ของธนาคารออมสิน ที่ครอบคลุม 8 จังหวัดภาคเหนือ จะให้การสนับสนุนทั้งการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ การให้คำปรึกษาทางการเงิน และเป็นแหล่งข้อมูลด้านการท่องเที่ยวและสินค้าชุมชนด้วย รวมถึงเป็นศูนย์พัฒนาอาชีพด้วย โดยคาดว่าปีหน้าจะขยายเป็น 100 ศูนย์ทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในด้านต่างๆได้อย่างรวดเร็ว และเป็นรูปธรรม
อย่างไรก็ตามในระยะแรก โครงการประชารัฐสร้างไทยจะมีการพัฒนาพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือในกลุ่มล้านนา ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮอ่องสอน พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน ซึ่งล่าสุดได้มีเปิดตลาดน้ำ “กาดฮิมน้ำ@สันทราย” ที่อำเภอสันทราย จ.เชียงใหม่ อีกทั้งยังมีการเปิดปั้มปตท.โฉมใหม่ หรือ โครงการไทยเด็ด ที่ให้ปั้มปตท.เป็นศูนย์กลางในการจัดจำหน่ายสินค้าของชุมชน ทั้งค้าปลีกหรือแหล่งกระจายสินค้า และในระยะต่อไป จะเข้าไปช่วยพัฒนาสินค้าด้วยการนำนวัตกรรมการผลิตเข้าไปส่งเสริมชุมชนด้วย
สำหรับเรื่องธนาคารชุมชนนั้น หลังจากที่พ.ร.บ.สถาบันการเงินประชาชน พ.ศ.2562 มีผลบังคับใช้ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ได้ร่วมกันลงไปสำรวจความพร้อมของกองทุนหมู่บ้าน และสหกรณ์ชุมชน พบว่าเบื้องต้นมีประมาณ 570 แห่ง พร้อมนำร่องเปิดธนาคารชุมชนได้ทันที โดยแบ่งเป็นธนาคารชุมชนที่ออมสินให้การดูแล 340 แห่ง และจากธ.ก.ส.อีก 230 แห่ง ซึ่งทั้ง 2 ธนาคารจะเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงให้ความรู้ การใช้เทคโนโลยีการให้บริการทางการเงินกับกองทุนหมู่บ้าน และสหกรณ์ชุมชนดังกล่าว ทั้งการปล่อยสินเชื่อ การทำบัญชีต่างๆ
อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ธนาคารจะเสนอขอนำเงินจากกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ(SFIF) จำนวนกว่า 2,000 ล้านบาท เข้ามาพัฒนาระบบคอลแบงก์กิ้ง สำหรับรองรับการให้บริการของธนาคารชุมชนโดยตรงต่อนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เนื่องจากแผนพัฒนาธนาคารชุมชนในอนาคตจะมีขยายไปยังชุมชนกว่า 10,000 แห่ง ซึ่งจะต้องมีการดูแลเงินหมุนเวียนกว่า 10,000 ล้านบาทด้วย ดังนั้นจำเป็นต้องขยายระบบเพื่อรองรับให้พร้อมที่สุด
“ในช่วงนำร่อง ยังสามารถใช้ระบบคอลแบงก์กิ้งชั่วคราวของธนาคารก่อนได้ แต่ในอนาคตหากมีเครือข่ายธนาคารชุมชนมากขึ้น ก็ต้องขยายระบบ เชื่อว่ากองทุนธนาคารเฉพาะกิจของรัฐจะมีเงินเพียงพอ เพราะจะมีเข้ากองทุนทุกปี ปีละ 10,000 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้เป็นเงินของธนาคารออมสินเข้าไปถึง 5,000 ล้านบาท ดังนั้นถือว่าเพียงพอ แต่ตอนนี้อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดโครงการอีกครั้ง ใช้เวลา 2-3 เดือนในการทำ”นายชาติชาย กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |