31 ต.ค.62 - เมื่อเวลา 05.30 น. กลุ่มเครือข่ายคนฮักทุ่งกุลาในพื้นที่ ต.โนนสวรรค์ และ ต.สระบัว อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นชาวบ้านในพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตร ผู้ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล ได้เข้าเก็บอุปกรณ์โต๊ะ เก้าอี้ เต็นท์ที่เตรียมจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 (ค.2) ของบริษัทน้ำตาลบ้านโป่ง จำกัด
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 29 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในวันแรก กลุ่มชาวบ้านที่คัดค้านถูกปฎิเสธไม่ให้เข้าร่วมเข้ารับฟังความคิดเห็นในเวทีดังกล่าว จนเกิดเหตุสถานการณ์ความวุ่นวายมีการปะทะกันระหว่างกลุ่มชาวบ้านคัดค้านกับตำรวจควบคุมฝูงชน ส่งผลให้ชาวบ้านได้รับบาดเจ็บ 1 คน เป็นลม 1คน ชาวบ้านจึงตัดสินใจปักหลักรวมตัวค้างค้นที่หอประชุมอำเภอปทุมรัตน์ แต่หลังจากนั้นทางอำเภอได้ตัดน้ำตัดไฟเพื่อกดดันให้ทางกลุ่มออกจากพื้นที่ จนชาวบ้านต้องออกเนื่องจากเกรงว่าจะมีสถานการณ์อันตรายเกิดขึ้น
จนล่าสุดเมื่อช่วงเช้าตรู่วันนี้ชาวบ้านเข้ามาเก็บอุปกรณ์ดังกล่าวโดยไม่เกิดความเสียหายท่ามกลางเจ้าหน้าที่ตำรวจที่คอยคุมเชิงดูสถานการณ์อยู่ ขณะเดียวกันมีรายงานว่าในช่วงเช้า จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาสลายการชุมนุมของกลุ่มคัดค้าน เพื่อให้เวทีรับฟังความคิดเห็นฯเดินหน้า โดยล่าสุดเจ้าหน้าที่ตรวจวัตถุระเบิดได้เข้ามาตรวจพื้นที่ และพนักงานของบริษัททยอยขนน้ำออกจากบริเวณ ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่รายหนึ่ง ระบุว่า “เดี๋ยวผมออกหมายจับให้หมดเลย”
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 22 ต.ค.ที่ผ่านมา เครือข่ายคนคนฮักทุ่งกุลา จ.ร้อยเอ็ดยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองจังหวัดอุบลราชธานีสั่งให้ยุติแผนการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 ต่อการจัดทำร่างรายงานและมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบ สำหรับโครงการโรงงานผลิตน้ำตาลในวันที่ 29 ตุลาคม 2562 และโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลในวันที่ 31 ตุลาคม 2562 เอาไว้ก่อน
เนื่องจากชาวบ้านที่ยื่นร้องขอรับความคุ้มครองมีความเห็นว่า การจัดทำเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 โครงการโรงงานผลิตน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2561 และวันที่ 16 และ 23 พฤษภาคม 2562 ของบริษัท น้ำตาลบ้านโป่ง จำกัด ตามข้อกำหนดของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการขอตั้งโรงงานผลิตน้ำตาลขนาด 24,000 ตันอ้อย และโรงไฟฟ้าชีวมวลใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิงขนาด 80 เมกกะวัตต์ ซึ่งต้องทำอีไอเอกับชาวบ้านในพื้นที่จะได้รับผลกระทบในครั้งที่ 1 ไม่ชอบและไม่มีความเป็นธรรม
จึงขอให้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 ขึ้นใหม่ พร้อมขอให้ยุติการดำเนินการใดๆที่มีลักษณะปิดกั้น ขัดขวาง คุกคาม ข่มขู่ ทำให้หวาดกลัวในการใช้สิทธิและเสรีภาพในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นประกอบการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบวิเคราะห์ (EIA) สามารถเข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมแพื้นที่ดังกล่าวเป็นจุดที่ตั้งของแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิพันธุ์ดีที่สุดของประเทศในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เมื่อมีโรงงานก็ต้องมีการปลูกอ้อยแทนการปลูกข้าว จึงอาจเป็นผลกระทบระยะยาวต่อแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิพันธุ์ของประเทศด้วยละเป็นธรรม จนกว่าจะสิ้นสุดกระบวนการในการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบวิเคราะห์ (EIA)
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |