30ต.ค.62-นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ไม่ใช่แค่เรื่องขยะ แต่ยังมีเรื่องคุณภาพอากาศ และอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้น ในประเด็นที่ท้าทายเหล่านี้จัดอยู่ในแพลตฟอร์ม เรื่องการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม ที่รัฐบาลมีงบประมาณสนับสนุนอยู่ถึง 2.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งหากเราสามารถมาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้จะสามารถเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ทันที ดังนั้นรัฐบาลโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงมอบหมายให้มีการผลักดันโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ที่เป็นเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy :BCG ) ซึ่งอยู่บนจุดแข็งของประเทศไทย เพราะเรามีเรื่องการเกษตรและความหลากหลายเชิงชีวภาพจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดของเสียที่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ อีกทั้งยังมีของเสียจากภาคอุตสาหกรรมด้วย ซึ่งการที่เราจะสามารถผลักดัน BCG ให้ขับเคลื่อนไปได้ หนึ่งในข้อต่อสำคัญ คือ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และภายใต้ระบบนี้ก็มีเรื่องที่สำคัญ คือ Zero waste ทั้งนี้หากเราขับเคลื่อน BCG ได้อย่างดี จะส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรและชุมชน เพิ่มขึ้นถึง 240,000 บาท ต่อครัวเรือน/ปี โดยขณะนี้เปอร์เซ็นของ BCG ต่อผลผลิตมวลรวมของประเทศ (GDP) อยู่ที่ ร้อยละ 21 อว.ตั้งเป้าว่าภายใน 5 ปี จะขับเคลื่อนให้เป็นร้อยะ 24 ต่อ GDP
นายสุวิทย์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาขยะล้นเมืองนับเป็นปัญหาที่สำคัญและเรื้อรังมานาน โดยในปีที่ผ่านมา มีปริมาณขยะเกิดขึ้นจำนวนกว่า 27.8 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.64 และในจำนวนขยะทั้งหมด มีการคัดแยกและนำกลับไปใช้ประโยชน์ด้วยการีไซเคิลและทำปุ๋ยอินทรีย์มเพียง 1 ใน 3 ของขยะทั้งหมด ส่วนที่เหลือจะถูกนำไปกำจัด และยังเป็นการกำจัดอย่างไม่ถูกต้องสูงถึง 7.36 ล้านตัน โดย อว.ตั้งเป้าว่า จะลดปริมาณขยะลง 16.5 ล้านตันต่อปี และเมื่อมีนโยบายและการบริหารจัดการที่เราสามารถที่จะเปลี่ยนขยะให้เป็นเงินได้ กลายเป็นการสร้าง Waste to wealth ดังนั้นการวิจัยที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้จะต้องตอบโจทย์ชุมชน และประเทศ โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อมที่มีการกระจายอยู่ในทุกพื้นที่ และมหาวิทยาลัยจะต้องทำงานร่วมกับภาคเอกชน ชุมชน และสตาร์ทอัพ ให้ตอบโจทย์ Zero waste อีกทั้งการทำงานร่วมกัน ตนมองว่ายังจะช่วยลดปัญหางานวิจัยขึ้นหิ้งด้วย เนื่องจากมีการนำไปใช้งานจริง อีกทั้งการวิจัยครั้งนี้จะไม่ใช่ในเชิงเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่จะครอบคลุมถึงพฤติกรรมการผลิตและบริโภคของประชากรด้วย อย่างไรก็ตาม การวิจัยเรื่อง Zero waste ไม่ได้เร่ิมจากศูนย์ ดังนั้น อว.จะรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ผ่าน เพื่อนำมาขยายผลด้วย
“การที่เราจะทำให้ของเสียเกิดน้อยที่สุด คือ ประสิทธิภาพการผลิตจะต้องดีกว่านี้ อีกทั้งตัวของเสียจะสามารถปรับเปลี่ยนได้ใน 2 กระบวนการสำคัญ คือ การหมุนเวียนกลับมาใช้ และการนำของเสียมาสกัดให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เช่น งานวิจัยแปลง CO2 ให้กลายเป็นเงิน ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) นำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ทำให้เป็นโอเลฟินส์จำพวกเอทิลีนและโพรพิลีน ที่เป็นผลิตภัณฑ์ขั้นต้นในการผลิตเม็ดพลาสติกที่ใช้ผลิตลิ้นส่วนรถยนต์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น ประเทศในทวีปยุโรป รวมถึงญี่ปุ่นตื่นตัวเรื่องเหล่านี้มาก ซึ่งเราสามารถเข้าไปร่วมกับเขาให้การขับเคลื่อนเรื่องเหล่านี้ได้ อีกทั้งผมได้มีการหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ของต่างประเทศ ให้เข้ามาร่วมกับประเทศไทยด้วย โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้มีโอกาสได้หารือกับญี่ปุ่นที่กำลังจะขับเคลื่อนโครงการ Marine ขจัดไมโครพลาสติกในมหาสมุทรร่วมกับประชาคมโลก และประเทศไทยก็จะเข้าร่วมโครงการนี้ด้วย จากนั้นก็จะมีความร่วมมือกับประเทศนอร์เวย์ เกี่ยวกับคลีนเทคโนโลยี และประเทศเยอรมัน ก็จะร่วมมือเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจชีวภาพ”รมว.อว.กล่าว
นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน อว.ได้มีการผลักดันเรื่องนี้อยู่ไม่น้อย โดยมีแนวทางดังนี้ คือ ให้หน่วยงานอว. ร่วมรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักให้บุคลากรในสังกัดรวมถึงผู้รับบริการและประชาชน ผ่านช่องทางการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ให้บุคลากรของหน่วยงาน อว. สถาบันการศึกษารวมถึงนิสิต นักศึกษาใช้ถุงผ้า กล่องข้าวและ แก้วน้ำส่วนบุคคล ให้ผู้ประกอบการร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ และร้านอาหารภายในหน่วยงาน อว. เลือกใช้ เลือกใช้ถุงหูหิ้ว กล่องข้าว และแก้วน้ำแบบย่อยสลายง่าย และให้ลดการใช้บรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายยากในการจัดเบรคและอาหารในการประชุมต่างๆ เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ทั้งนี้ อว.ได้กำหนดกรอบนโยบายการบริหารจัดการขยะพลาสติก ในภาพรวมของประเทศ โดยการจัดการขยะพลาสติก ปีพ.ศ. 2561 - 2573 จะมีขยะพลาสติก 4 ประเภทที่ประเทศไทยต้องเลิกใช้ในปี 2565 คือ พลาสติกหูหิ้ว กล่องโฟมบรรจุอาหาร หลอดพลาสติก และแก้วน้ำพลาสติก พร้อมทั้งตั้งเป้าปี 2570 จะนำขยะผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์พลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ได้ทั้ง 100%
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |