29 ต.ค.62-ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเวลา 17.30 น. ตัวแทนกลุ่มสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) พร้อมด้วยตัวแทนผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ได้เข้าพบนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เพื่อขอให้ทบทวนการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในภูมิภาค โดยนายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ นายก ส.บ.ม.ท. กล่าวว่า ตนต้องการให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ได้มีผู้แทนครู และผู้บริหารเขตพื้นที่ได้เข้ามาเป็นตัวแทนใน กศจ.ด้วย ซึ่งตนมองว่าการไม่มีผู้แทนครูอยู่ใน กศจ.เลยแม้แต่คนเดียวเหมือนเป็นการหมิ่นเกียรติครูในแต่ละจังหวัดทำไมต้องให้ ผู้บริหารส่วนราชการอื่นมาบริหารครูเก่งกว่าดีกว่าตรงไหน รวมถึง รมว ศธ ได้ระบุว่าไม่ทราบว่าจะยุบ สพท. หรือ กศจ. ต้องรอ เรื่องโครงสร้างก่อน แต่ทางปฏิบัติ ได้จัดสรรงบ สร้างสำนักงาน ศธจ ทั่วประเทศเอาอัตรากำลังจาก สพฐ. ไปเป็นของ ศธจ หลายร้อยอัตรา แต่ในขณะที่ พวกตนขอเพิ่มเขตพื้นที่มัธยมให้ครบทุกจังหวัดเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเด็กและข้าราชการ ผู้ปกครองที่ต้องติดต่อราชการที่เขต สภาการศึกษาก็เห็นชอบให้ตั้งเขตมัธยมให้ครบทุกจังหวัด มีการวิเคราะห์จบแล้วว่าไม่เพิ่ม คนและเพิ่มเงินและสถานที่ แต่ รมว.ศธ. กลับไม่ลงนาม อ้างว่า รอโครงสร้าง ศธ.และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 19/2560 เรื่องการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของ ศธ. ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรกับการศึกษาที่ดีขึ้นเลย
“ผมรู้สึกอึดอัดใจที่มีการตัดอำนาจการบริหารงานบุคคลของผอ.เขตพื้นที่ฯ ไปเป็นอำนาจของศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ซึ่งเป็นใครก็ไม่รู้และยังเป็นข้าราชการต่างกรมด้วย ทำให้เกิดความไม่คุ้นเคย เพราะพวกผมเป็นทหารที่รบอยู่ในพื้นที่ ย่อมรู้ว่าตรงไหนมีระเบิด ตรงไหนมีศัตรู มีโอกาส แต่หากเป็นคนที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ก็จะมองอีกแบบหนึ่ง อีกทั้งข้ออ้างที่มีการปรับโครงสร้างในภูมิภาค เนื่องจากมีการทุจริตแต่ก็ยังไม่มีตัวผู้ทุจริตมาลงโทษไม่ได้สักคน และในการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลได้ส่งคนของตัวเองทั้งหมดไปบริหารการศึกษา “นายก ส.บ.ม.ท. กล่าว
ด้านนายณัฏฐพล กล่าวว่า ขณะนี้ตนได้ตั้งคณะทำงานที่จะเข้ามาทำเรื่องนี้แล้ว โดยมีเหตุผลหลักเพียงเรื่องเดียว คือ ในการบริหารงานจะต้องลดความซ้ำซ้อนในด้านสายการปฏิบัติและการสั่งงาน รวมถึงไม่มีการซ้ำซ้อนในการใช้งบประมาณ เพราะทุกอย่างที่ ศธ. มีนโยบายเราต้องถามว่า เด็กและเยาวชนได้ประโยชน์อะไร แม้ว่าตนจะรักผู้บริหารขนาดไหน แต่ก็ไม่มีความสำคัญเท่ากับเด็กและเยาวชนของชาติ การตัดสินใจทุกอย่างต้องใช้เด็กและเยาวชน เป็นฐาน ซึ่งหวังว่าในอนาคตกระบวนการต่างๆ จะคลี่คลายไปได้ด้วยตัวของมันเอง ดังนั้นในตอนนี้การปรับปรุงโครงสร้าง ศธ.ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะออกมาในรูปแบบไหน ตนเข้าใจว่าทุกคนมีความอึดอัดใจในการทำงาน แต่เรื่องนี้เราต้องวางแผนวิเคราะห์กันอย่างรอบด้านดูความเหมาะสมว่ารูปแบบการจัดการศึกษาในพื้นที่แบบไหนจะเป็นทิศทางที่ดีที่สุด ดังนั้นขอให้ทุกคนมองเรื่องยกระดับคุณภาพการศึกษาเป็นหลัก ทั้งการสร้างเด็กในยุคดิจิทัล การยกระดับภาษาอังกฤษ การพัฒนาครูในโลกศตวรรษที่ 21 ซึ่งทุกอย่างต้องมีการเปลี่ยนแปลงแต่จะเปลี่ยนแปลงแบบไหนก็อยากให้ทุกคนมาช่วยกันกับตนในการขับเคลื่อน
“ผมอยากให้คนทุกใจเย็นๆ และมั่นใจว่า ในช่วง 3 เดือนที่ผ่าน ผมแสดงให้เห็นแล้วว่าผมตั้งใจเข้ามาร่วมทำงานกับพวกเรา เพื่อปฏิรูปการศึกษาไทย ไม่มีผลประโยชน์อื่นทับซ้อน ซึ่งผมไม่สามารถทำได้หากพื้นที่ไม่ร่วมด้วย ทุกคนใน ศธ.ต้องร่วมกัน ขับเคลื่อนในทางเดียวกัน เพราะการศึกษาไทยไม่สามารถเดินโดยที่ไม่มีความร่วมมือของทุกคน เรื่องนี้คือวาระของชาติ และพวกเรายังต้องร่วมกันปรับปรุงภายในของตนเอง เพื่อที่จะสร้างความมั่นใจให้กับบุคคลภายนอกเห็นความเอกภาพในการร่วมกันเดินไปข้างหน้า ดังนั้นผมขอว่าหากเราจะร่วมเดินหน้าไปด้วยกัน ทุกคนต้องรับว่าภาระจะมีมากขึ้น แต่ผมก็จะช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ให้ ซึ่งก็ต้องเข้าใจว่าบ้างอย่างผมไม่สามารถทำได้ เช่น การยกเลิกคำสั่ง คสช. เพราะการดำเนินการเรื่องเหล่านี้มีกลไกต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาตรงนี้ยังก่อให้เกิดปัญหาอยู่ จึงต้องมีการมาวิเคราะห์กัน”รมว.ศธ.กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |