29 ต.ค.62- นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Sarinee Achavanuntakul - สฤณี อาชวานันทกุล ระบุความเห็นสั้นๆ ต่อกรณีสหรัฐตัดสิทธิ GSP ไทย (ย้ำตัวโตๆ ว่านี่เป็น _ความเห็นสั้นๆ_ จากการอ่านข่าวเท่านั้นนะคะ กรุณาอย่าอ้างอิงว่าเป็นบทความ หรือหนักข้อกว่านั้นคือบ่นว่าไม่ใช่บทความทางวิชาการ 555)
1. อเมริกากำลังเข้าสู่ฤดูหาเสียงก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า (2020) ทรัมป์ซึ่งกำลังถูกกรณีอื้อฉาวรุมเร้าหลายเรื่อง (โดยเฉพาะการเริ่มกระบวนการถอดถอนหรือ impeachment ซึ่งต่อให้ถอดถอนไม่ได้จริง ระหว่างทางชื่อเสียงก็คงหายไปไม่น้อย) และได้ชื่อว่าเป็นคนโผงผางไม่เกรงใจใคร จึง "หาเสียง" ด้วยการทำตัวขึงขังนักเลงกับประเทศอื่นๆ ตามแนวนโยบาย "America First" (อเมริกาต้องมาก่อน) ที่โดนใจอเมริกันชนแนวชาตินิยม ในแง่หนึ่งการทำ "สงครามการค้า" กับจีนตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ก็มองได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญหาเสียงเช่นกัน ดังนั้น การออกมาประกาศตัดสิทธิ GSP ที่ให้กับไทย ก็มองได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการหาเสียงของทรัมป์เช่นกัน
2. อย่างไรก็ดี การตัดสิทธิ GSP ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ ก็ทำได้ และไม่ใช่ว่าใครๆ ก็ทำได้ตามอำเภอใจโดยไม่ต้องให้เหตุผลอะไรเลย (ไม่อย่างนั้นคงเป็นคดีความฟ้ององค์กรการค้าโลกไปแล้ว) -- กรณีของไทย ก็มีวี่แววมานานแล้วว่าจะถูกตัดสิทธิ เหตุผลที่อ้างคือ "ไทยไม่เคารพสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐาน" นั้น ไม่ใช่ไม่มีมูลเลย เพราะรัฐบาลไทยไม่เคยลงนามในอนุสัญญาสากล ILO สองฉบับที่จัดว่าเป็นพื้นฐานมากๆ ของการคุ้มครองแรงงาน นั่นคือ ฉบับที่ 98 และ 87 (เสรีภาพในการสมาคม สิทธิในการรวมตัว และสิทธิในการเจรจาต่อรอง)
อนุสัญญาพื้นฐานสองฉบับนี้คุ้มครองแรงงาน _ทั้งหมด_ ไม่ใช่เฉพาะแรงงานต่างด้าวเหมือนกับที่นักธุรกิจและเจ้าหน้าที่รัฐหลายคนพยายามบิดเบือน ปัจจุบันกฎหมายแรงงานไทยชัดเจนว่ายังด้อยกว่าเนื้อหาในอนุสัญญาสองฉบับนี้อยู่หลายเรื่อง เช่น การจัดตั้งสหภาพแรงงานต้องแจ้งรัฐก่อน, รมต. แรงงานมีสิทธิสั่งให้คนงานที่นัดหยุดงานกลับไปทำงานต่อได้ ฯลฯ
(น่าสังเกตว่า กฎหมายแรงงานใหม่ๆ เช่น กฎหมายคุ้มครองแรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมประมง ถูกเข็นออกมาเพราะไทยโดนโจมตีหนักจนขึ้น blacklist ขายของไม่ได้ เช่น เรื่องแรงงานทาสในอุตสาหกรรมประมง ไม่ใช่ว่าเกิดจาก "วิสัยทัศน์" หรือ "เจตจำนง" ที่ชัดเจนของภาครัฐที่จะสนับสนุนสิทธิแรงงานแต่อย่างใด)
ในยุคที่ "สิทธิมนุษยชน" ซึ่งรวมสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐาน ถูกยกระดับเป็น "จริยธรรมสากล" ในการดำเนินธุรกิจไปแล้ว (อันนี้มุมมองของตัวเอง แต่คิดว่าจริงค่ะ) และประเทศอาเซียนอื่นๆ อาทิ เวียดนาม ก็ทยอยรับรองอนุสัญญาสองฉบับนี้ไปแล้ว การที่ไทยยังประวิงเวลาไม่ยอมทำ ก็จะยิ่งเป็นจุดอ่อน และเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดข้ออ้างให้ประเทศอื่นๆ ตัดสิทธิทางการค้าหรือเลิกค้าขายกับไทยมากขึ้นเรื่อยๆ
3. GSP เปรียบเป็น "แต้มต่อ" ที่ประเทศพัฒนาแล้วให้กับประเทศกำลังพัฒนา เริ่มต้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อหลายประเทศทั่วโลกตกอยู่ในภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจอย่างหนัก แน่นอนว่าเมื่อประเทศกำลังพัฒนาค่อยๆ เติบโต รายได้เริ่มเข้าใกล้ประเทศพัฒนาแล้ว "เหตุผล" ในการให้ "แต้มต่อ" นี้ก็ย่อมลดลง ทุกประเทศจึงต้องเร่งพัฒนา "ความสามารถในการแข่งขัน" ของตัวเอง จะได้สามารถแข่งขันได้จริงๆ โดยไม่ต้องพึ่งกลไกเทียมอย่าง GSP (และนี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่ไทยถูกตัดสิทธิ GSP ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นก็ตัดไปแล้วด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่า ไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาระดับ "รายได้ปานกลาง" แล้ว จึงไม่มีเหตุผลที่เขาควรให้สิทธิพิเศษกับไทยอีก ไปให้ประเทศอื่นที่ยากจนกว่าดีกว่า)
4. ฉะนั้นคำถามหลักคือ ที่ผ่านมาภาคธุรกิจไทยพัฒนา "ความสามารถในการแข่งขัน" ได้มากแค่ไหน ปรับตัวให้ทันกับโลกใหม่ของการแข่งขันได้หรือไม่ (โลกที่จีน เวียดนาม และอีกหลายประเทศมีแรงงานถูกกว่าไทย + โลกที่ "สิทธิมนุษยชน" กำลังเป็น "จริยธรรมสากล" เป็นกติกาสำคัญในการทำธุรกิจ) แล้วรัฐกับเอกชนควรทำอะไรต่อไปเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันระยะยาว (ไม่ใช่ร้องเรียกแต่ GSP, ค่าเงินราคาถูก ฯลฯ)
5. เห็นหลายคนรณรงค์ให้คนไทยบอยคอตสินค้าอเมริกัน โดยเฉพาะในเฟซบุ๊ก โซเชียลมีเดียอเมริกัน แล้วก็รู้สึกว่า อืม ใครทำได้นี่สงสัยต้องกลับไปอยู่ถ้ำ ถถถ และอยากจะบอกว่า สินค้าอเมริกันจำนวนมากกกก ใช้วัตถุดิบไทย แรงงานไทย หรือมีผู้ประกอบการไทยเป็นส่วนหนึ่งใน supply chain ดังนั้นการบอยคอตจะทำให้คนไทยเดือดร้อนด้วย ถ้าอยากบอยคอตสินค้าอเมริกันที่จะไม่กระทบคนไทย แนะนำว่าควรไปเรียกร้องให้กองทัพไทยเลิกสั่งซื้ออาวุธของอเมริกาค่ะ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |