ส้มเละ!อดีตผู้สมัครส.ส.อนาคตใหม่แฉละเอียดยิบปมแห่ลาออก จับตาภาคต่อสาขา-สำนักงานพรรคส่อทจุริต


เพิ่มเพื่อน    

28 ต.ค 62 - ว่าที่ ร.ต.ฉัตรชัย แก้วคำปอด อดีตผู้สมัคร ส.ส.เขต 4 จังหวัดอุบลราชธานี พรรคอนาคตใหม่ โพสต์เฟซบุ๊กโดยมีเนื้อหาดังนี้

ได้ข่าวสหายร่วมรบ อดีตผู้สมัคร ส.ส. อนาคตใหม่ จะลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพรุ่งนี้กว่าครึ่งร้อย ก็ขอให้กำลังใจทุกคนก็แล้วกันครับ เพราะผมได้ลาออกอย่างไม่เป็นทางการก่อนหน้านี้หลายเดือนแล้ว ด้วยเหตุผลคล้ายๆกัน เพียงแต่ผมโพสต์เรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่สหายทั้งหลายเท่านั้น ไม่ได้มีปัญหาส่วนตัวกับท่านใด

หากย้อนกลับเมื่อปลายปีที่แล้ว เมื่อวันที่ 24-26 ธันวาคม 2561 พรรคได้มีการจัดสัมมนาว่าที่ ผู้สมัครของพรรค ณ ที่แห่งหนึ่ง เพื่อชี้แจงแนวทางการรับสมัคร ส.ส. ต่างๆ รวมถึงพูดคุยเรื่องยุทธศาสตร์ของพรรคในการเลือกตั้ง และหนึ่งในปัญหาที่เป็นประเด็นของอดีตผู้สมัคร ส.ส. ที่จะลาออกนั้น
“เรื่องผู้ช่วย ส.ส.“ เนื่องจากในวันสัมมนานั้น ผู้บริหารของพรรคได้พูดกับว่าที่ผู้สมัครในห้องนั้น จะเรียกว่าสัญญา ข้อตกลง ยาหอม หรืออะไรก็แล้วแต่เรียก โดยตกลงกันว่า “หากผู้ใดได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. พรรคจะให้สิทธิเลือก ผู้ช่วย ส.ส. ต่างๆได้เพียงแค่ 1 คนจาก 7-8 คน(ช่วงนั้นคาดการณ์ไว้) เท่านั้น ผู้ช่วย ส.ส.,ผู้เชี่ยวชาญ,ผู้ชำนาญการ อีก 6-7 คน ทางพรรคจะเป็นคนเลือกให้จากว่าที่ผู้สมัครในพรรค ทุกคนต้องมีตำแหน่ง เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

หลังเลือกตั้งเมื่อวันที่ 29-31 มีนาคม 2562 พรรคก็ได้จัดสัมมนาว่าที่ ส.ส. ของพรรค อีกครั้งในสถานที่เดิมเมื่อคราวที่แล้ว และคงเป็นงานเลี้ยงสุดท้ายของอดีตผู้สมัครที่หัวหน้าพรรคอุตส่าห์ทุ่มทุนเลข 7 หลัก เพื่อเลี้ยงขอบคุณผู้สมัครทุกคน แต่ผู้สมัครระบบเขตหลายคนในตอนนั้นน้อยใจ ส.ส.ปาร์ตี้ลีสต์ นิดหน่อย เพราะไม่มีแม้แต่คำขอบคุณหรือเข้ามาพูดคุยทักทายกับผู้สมัครต่างๆ จริงๆคือไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ส.ส. ปาร์ตี้ลีสต์เป็นใครบ้าง เพราะไม่เคยเห็นออกหาเสียงหรือช่วยผู้สมัครระบบเขตหาเสียงเลย ในงานสัมมนาดังกล่าวก็ได้พูดคุยเกี่ยวกับทิศทางการทำงานกับพรรคต่อไป โดยมีให้ผู้สมัครที่สอบตกเลือก 4 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

1. เป็นผู้ช่วย ส.ส.,ผู้เชี่ยวชาญ,ผู้ชำนาญการ (ไม่ครบทุกคน)
2. ลงการเมืองท้องถิ่น (ไม่มีรูปธรรม,ขัดแย้งกันเอง)
3. มูลนิธิของพรรค (ไม่มีรูปธรรม)
4. วิสาหกิจชุมชนของพรรค (ไม่มีรูปธรรม)

ในส่วนตัวของผมเลือกลงชื่อในการลงการเมืองท้องถิ่น ภายหลังกฎหมายมีการแก้ไขเรื่องอายุเพิ่มขึ้น ผมเลยไม่สนใจอีกเลย แต่ก็มีผู้ประสานงานพรรคในภาคอีสาน ติดต่อสอบถามผมว่าในจังหวัดอุบลฯ ผู้สมัครท่านใดที่ช่วยเหลือทุ่มเทให้กับพรรค เพื่อจะขอชื่อที่อยู่ประวัติส่วนตัว เพื่อจะให้เป็นผู้ช่วย ส.ส. จำนวน 4 คน ผมก็บอกชื่อบอกเขตไป 4 คน แต่ผู้ประสานงานพรรคบอกผมว่าเอาผมด้วย 1 คน

ต่อมาวันที่ 10 มิถุนายน 2562 มีการประชุมคณะกรรมการจังหวัดและมีการแจ้งเรื่องสัดส่วนผู้ช่วย ส.ส.ฯต่างๆของพรรค มีแต่ตำแหน่งเหลือเพียง 500 คนจาก ส.ส. 80 คน โดยจะจัดสรรแบ่งเป็น 4 กลุ่มดังนี้
1. เจ้าหน้าที่พรรค 125 คน
2. ผู้ประสานงานพรรค 100 คน
3. ธุรการศูนย์ประสานงานจังหวัด 76 คน
4. อดีตผู้สมัคร 100 คน

เมื่อผมได้ยินเรื่องสัดส่วนแบบนั้น ผมก็โต้แย้งไปว่าไม่ค่อยเป็นธรรมกับอดีตผู้สมัครเท่าไหร่ เพราะยังมีอดีตผู้สมัครเหลืออีก 400 คนที่สอบตก ทุกคนมีอุดมการณ์ในการทำงานกับพรรคแน่นอน เพราะทุกคนอยากทำงานกับพรรคต่อ เพราะเป้าหมายของพรรคคือการทำงานในระยะยาว เมื่อไม่มีตำแหน่งหน้าที่ใดๆ การทำงานในพื้นที่ของตนเองก็ลำบากพอสมควร คณะกรรมการจังหวัดก็เป็นไม่ได้เพราะพรรคแยกการจัดการออกเป็น 2 ทาง คือ ผู้สมัคร ส.ส. กับคณะกรรมการจังหวัด เมื่อผู้สมัครไม่ได้เป็น ส.ส. ก็ไม่สามารถเป็นคณะกรรมการจังหวัดได้ เพราะเขามีอยู่แล้ว ทำให้เกิดช่องว่างและความไม่มีตัวตนในพรรคอีกต่อไปหลังจากเลือกตั้ง ทั้งที่ทราบว่าผมน่าจะได้เป็นผู้ช่วย ส.ส. (ถ้าผู้ประสานงานพรรคไม่โกหกนะ) แต่ผมก็เรียกร้องให้พรรคทบทวนมตินี้ใหม่ เมื่อไม่มีท่าทีใดๆ ผมก็ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกแบบไม่เป็นทางการในเวลาต่อมา เพราะผมเห็นว่าการจัดสรรตำแหน่งแบบนี้ไม่ค่อยเป็นธรรมกับอดีตผู้สมัคร บางพื้นที่เป็นเขตผู้มีอิทธิพลต้องถูกข่มขู่ รังแก กลั่นแกล้งสารพัด ทั้งต่อตนเองและครอบครัว เป็นหนังหน้าไฟในพื้นที่ของตน เมื่อกองทัพรบชนะ แม่ทัพจะไม่เหลียวแลพลทหารที่บาดเจ็บล้มตายหรือดูแลลูกเมียเขาเลยเหรอ หรือเพียงเพราะจะไม่เอาเงินพรรคจ้างธุรการจังหวัดต่างๆและเจ้าหน้าที่พรรค แต่เปลี่ยนเป็นให้ตำแหน่งผู้ช่วย ส.ส. เอาเงินเดือนส่วนนี้แทน แล้วทิ้งอดีตผู้สมัครแบบไม่ใยดี

แต่ก็เป็นที่ทราบกันว่าการคัดเลือกผู้สมัคร ส.ส. แบบเขตของพรรคใช้ระบบไพรมารี่โหวต ซึ่งหมายความว่า อดีตผู้สมัคร ส.ส. อาจจะไม่ได้ลงสมัครในการเลือกตั้งครั้งต่อไปก็ได้ เพราะยิ่งพรรคมีกระแสที่ดี ทั้งอดีตผู้สมัครจากพรรคอื่นที่มีฐานเสียงและฐานเงิน หรือคนอื่นๆที่สนใจมาสมัคร แล้วอดีตผู้สมัครก็กังวลว่าจะอยู่ที่ไหนของพรรค ต้องพูดกันตรงๆว่าการทำไพรมารี่โหวต ก็คือให้สมาชิกในเขตพื้นที่ตัวเองเป็นคนเลือก สมมติสมาชิกพรรคอยากเป็นผู้สมัคร ส.ส. ก็แค่หาสมาชิกมาโหวตตัวเอง ค่าสมัครต่อปีคนละ 200 บาท อยากได้สมาชิกมาโหวตให้ตัวเองชนะกี่คนก็คำนวนเอา ทำให้เห็นได้ชัดว่าพรรคไม่สนใจใยดีอดีตผู้สมัครที่มีอุดมการณ์และร่วมรบด้วยกันมาอยู่แล้ว เพราะมีคนที่สนใจมาเป็นสมาชิกและผู้สมัครของพรรคมากมาย เปรียบเทียบว่าต่อไปจะส่งเสาไฟฟ้าลงก็ได้คะแนน แล้วมารวบให้ ส.ส.ปาร์ตี้ลีสต์ เพราะการเลือกตั้งครั้งหน้ามีทิศทางว่าจะได้น้อยลงกว่าเดิมมาก เนื่องจากพรรคอื่นๆจับทางได้แล้ว

เอาเป็นว่าผมให้กำลังใจสหายร่วมรบทุกคนแล้วกันนะครับ สู้ๆไม่ว่าจะเดินต่อไปในเส้นทางไหน ขอให้รักประชาธิปไตยและต่อต้านเผด็จการเช่นเดิมนะครับ เพื่อประเทศไทยมีประชาธิปไตยเต็มใบสักที

ถ้ามีโอกาสผมจะเล่าปัญหาเรื่องการทำไพรมารี่โหวต ส.ส.แบบเขต และบัญชีรายชื่อ รวมทั้งการส่อทุจริตเงินพรรคตามสาขาและสำนักงานพรรคตามจังหวัดต่างๆ ในตอนต่อไป

“รักอนาคตใหม่ รักประชาธิปไตย และรักประชาชน”


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"