เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ แสดงความเห็นกรณี สหรัฐอเมริกามีคำสั่งระงับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) กับสินค้าจากประเทศไทย จำนวน 573 รายการ จาก 1,300 รายการ เป็นมูลค่า 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 39,650 ล้านบาท โดยให้เหตุผลว่าทางการไทยไม่สามารถยกระดับสิทธิแรงงานให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยการตัด GSP จะเริ่มบังคับใช้ใน 6 เดือนข้างหน้า หรือในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2563
นายวิโรจน์ ระบุว่า แม้การตัดสิทธิ GSP ของประเทศสหรัฐอเมริกา จะถูกเชื่อกันว่า มีความเกี่ยวโยงกับกรณีที่รัฐบาลไทยเตรียมห้ามใช้ 3 สารเคมีทางการเกษตร ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีมูลค่าประมาณ 51,000 ล้านบาทต่อปี ก็ตาม แต่การถูกตัดสิทธิ GSP ในครั้งนี้ อันที่จริงแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องที่เกิดคาดหมายแต่อย่างใด และก็ควรเป็นประเด็นที่กระทรวงพาณิชย์ต้องเฝ้าระวัง และเตรียมมาตรการรับมือเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว เพราะประเทศไทยเป็น 1 ใน 21 ประเทศ ที่ถูกสหรัฐอเมริการตรวจสอบอย่างละเอียด เนื่องจากมีมูลค่าการค้ากับสหรัฐอเมริกาสูงกว่า 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้ถูกจัดอยู่ในรายชื่อประเทศคู่ค้าที่เข้าข่ายบิดเบือนอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Manipulator Watchlist) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่สหรัฐอเมริกาเชื่อว่า มีการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการค้าระหว่างประเทศที่ไม่เป็นธรรม โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอยู่ 3 ข้อ ด้วยกัน คือ 1) เกินดุลบัญชีเดินสะพัดมากกว่าร้อยละ 2 ของ GDP 2) เกินดุลการค้ากับสหรัฐอเมริกามากกว่า 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาและ 3) มีการสะสมเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มากกว่าร้อยละ 2 ของ GDP
"แต่การที่ประเทศไทยเข้าหลักเกณฑ์ 1 ข้อ คือ เกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงถึง 7% ของ GDP ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่สหรัฐอเมริกากำหนดไว้มาก แม้ว่าการเกินดุลการค้ากับสหรัฐอเมริกาที่ 1.93 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ จะไม่ถึงเกณฑ์ 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ก็ตาม แต่ก็ถือว่าปริ่มน้ำเต็มที ดังนั้น การที่ไทยจะถูกสหรัฐอเมริกาตัดสิทธิ GSP จึงเป็นสถานการณ์ที่มีความเป็นไปได้อยู่แล้ว และเป็นสถานการณ์ที่กระทรวงพาณิชย์ต้องเตรียมการรับมือเอาไว้ล่วงหน้าบ้างอยู่แล้ว" นายวิโรจน์ กล่าว
นายวิโรจน์ กล่าวต่อว่า สิ่งที่กระทรวงพาณิชย์ควรต้องตอบคำถามกับประชาชน ในกรณีนี้ คือ 1) ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าหรือไม่ ว่าประเทศไทยอาจจะถูกสหรัฐอเมริกาตัดสิทธิ GSP และประเมินผลกระทบไว้มากน้อยเพียงไร 2) ได้เตรียมมาตรการรองรับเพื่อแก้ปัญหา หรือบรรเทาผลกระทบจากการถูกสหรัฐอเมริกาตัดสิทธิ GSP ไว้ล่วงหน้าหรือไม่ อย่างไร 3) ในระยะเวลา 6 เดือนนับจากนี้ ก่อนถึงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2563 ที่การถูกตัดสิทธิ GSP จะมีผลบังคับใช้ มีแผนที่จะดำเนินการอย่างไรบ้าง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือ รัฐบาลควรจะต้องประเมินว่าการถูกตัดสิทธิ GSP ในกรณีนี้ จะส่งผลให้เกิดการหดตัวของภาคการส่งออกมากน้อยเพียงไร และการหดตัวของการส่งออกนั้น จะส่งผลต่อแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานผู้มีรายได้น้อย (ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน) มากแค่ไหน เพราะในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ จำนวนแรงงานที่ทำงานล่วงเวลาในภาคอุตสาหกรรม เฉลี่ยแล้วลดลงถึง 8.8% จากระยะเดียวกันของปีก่อน สิ่งที่รัฐบาลต้องตอบคำถามของประชาชนก็คือ ผลของการตัดสิทธิ GSP ในกรณีนี้ จะซ้ำเติมการแรงงานเพิ่มขึ้นหรือไม่ ขนาดไหน และรัฐบาลได้เตรียมมาตรการเยียวยาอะไรไว้รองรับแล้วบ้าง
"รัฐบาลยังมีเวลาอีกตั้ง 6 เดือน ในการเจรจาทางการค้ากับสหรัฐอเมริกา เพื่อแสวงหาทางออกร่วมกัน และยังพอมีเวลาในการดำเนินมาตรการที่เป็นรูปธรรม เพื่อแก้ไขปัญหาสิทธิแรงงานประมงให้มีน้ำหนักเพียงพอ ที่จะทำให้สหรัฐอเมริกายกเลิกคำสั่งการตัดสิทธิ GSP ได้ ซึ่งรัฐบาลควรจะรายงานความคืบหน้าถึงการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหานี้ ให้กับประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะๆ" นายวิโรจน์ กล่าว
นายวิโรจน์ ระบุด้วยว่า กรณีสำหรับภาคประมงไทย คงไม่ส่งผลกระทบมากนัก เพราะปัจจุบันการส่งออกปลาที่จับจากเรือประมงของไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีน้อยมากๆ แล้ว สำหรับการส่งออกทูน่ากระป๋อง และซาร์ดีนกระป๋องไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงครึ่งปีแรก ก็มีมูลค่าเพียง 236.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น อย่างไรก็ตาม เพื่อความถูกต้องแม่นยำ คงต้องรอฟังการประเมินผลกระทบของสินค้าแต่ละรายการจากกระทรวงพาณิชย์เสียก่อน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |