สสส.รวมพลคนสร้างสุขขับเคลื่อนศูนย์พัฒนาครอบครัว


เพิ่มเพื่อน    

            

                สสส.รวมพลคนสร้างสุข : ชุมชนพร้อมรับเด็กปฐมวัย เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ อาสาทำดี ผู้นำสร้างพลังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดี โซนที่ 3 ชุมชนดูแลสุขภาพ LTC for all ผู้สูงอายุ-เด็กปฐมวัย-เปราะบาง (ยากจน จิตเวช ผู้พิการ) ขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ S-I-I ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ไม่ให้เด็กตกหล่นไปจากระบบ วิกฤติความยากจนในครอบครัว ศูนย์พัฒนาครอบครัวทำหน้าที่เหมือนหน่วยฉุกเฉินช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

                รวมพลคนสร้างสุข : ชุมชนพร้อมรับเด็กปฐมวัย รศ.ดร.ขนิษฐา นันทบุตร ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บรรยายพิเศษ : แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาสติปัญญาเด็กปฐมวัย โดยชุมชนท้องถิ่น โซนที่ 3 ชุมชนดูแลสุขภาพ (LTC for all ผู้สูงอายุ-เด็กปฐมวัย-เปราะบาง (ยากจน จิตเวช ผู้พิการ) ณ ห้องจูปีเตอร์ 11-13 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

                รายงานสถานการณ์การดูแลเด็กปฐมวัย เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ขณะนี้มีประชากรในประเทศไทย 67.7 ล้านคน 21.4 ล้านครัวเรือน มีเครือข่าย 13.14% ของประชากรไทย 67.7 ล้านคน คือประชากร 8.9 ล้านคน ครัวเรือน 4.7 ล้านครัวเรือน เด็กปฐมวัย 0-5 ปี 2.6 แสนคน (2.96%) เด็กชาย 91 คน เด็กหญิง 100 คน เด็กปฐมวัยทั้งประเทศ 4.4 แสนคน เด็กพิการทางกายและการเคลื่อนไหว 48.1% พิการทางการได้ยินและการสื่อสาร พิการทางจิตและอารมณ์ 9% ไทรอยด์ 18.12% มีพัฒนาการล่าช้า 402 คน (0.15%)

                รศ.ดร.ขนิษฐา นันทบุตร ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ชุมชนนำเด็กปฐมวัยเป็น QR code scan load อ่านได้ในมือถือเป็นรูปแบบการขับเคลื่อนดูแลเด็กปฐมวัย เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่สรุปการทำงานด้วยบทเรียน 8 ปี จัดระบบพัฒนานวัตกรรมสู่งานบูรณาการร่วมกับองค์กรในพื้นที่ระดับนโยบายและระดับประเทศ รูปแบบการทำงานขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ S-I-I

                ส่วนที่ 1 จัดการพื้นที่ จัดระบบงานตอบสนองความต้องการกลุ่มประชากรกลุ่มเป้าหมายเด็กปฐมวัย 0-5 ปี ชุมชนท้องถิ่นผู้ปฏิบัติการจะทำงานแบ่งเป็น 2 ช่วง 0-2 ปี รพ.สต.มีบทบาทหลักการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ป้องกันมิให้เกิดอันตรายในช่วง 2 ปีแรกของชีวิต ส่วนที่ 2 ครอบครัวและผู้ปกครองมีบทบาทมากขึ้น จึงต้องร่วมมือกันระหว่าง 2 องค์กรทำงานเชื่อมโยงกันทั้ง รพ.สต. ผู้ปกครอง อสม. ทั้งนี้ ท้องถิ่น ท้องที่มีบทบาทดูแลสวัสดิการเด็กกลุ่มนี้ว่าเป็นอย่างไร การให้เงินช่วยเหลือเด็กที่แม่ตั้งครรภ์จนถึง 6 ปี ผู้ใหญ่บ้านมีบทบาทค้นหาว่าใครเข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับเงินช่วยเหลือ ถ้าพบว่าเด็กมีปัญหา ท้องถิ่นจะช่วยเหลือได้อย่างไร ทั้งงานบริการสุขภาพ สังคม ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้วยการเล่น ส่งเสริมสุขภาพ เด็กมีภูมิคุ้มกันโรค การมีสวัสดิการ

                เมื่อเด็กอยู่ในวัย 2-5 ปี ถ้าควบคุมให้ได้ตามเกณฑ์ระยะนี้จะต้องให้ความสำคัญกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีกิจกรรมเชื่อมร้อย มีกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เพื่อเด็กกลุ่มนี้จะได้ไม่ตกหล่นไปจากระบบให้ได้ 100% ตามกลุ่มเป้าหมายและงานในการดูแลเด็กด้วย วิธีการทำงานให้หลากหลายบอกความเป็นตัวตนในแต่ละพื้นที่ ถ้ามีเรื่องของความไม่เท่าเทียมกัน เราจะทำให้ลูกคนอื่นถูกทอดทิ้งไหม ไม่มีปัญหาขาดเหลืออยู่ที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาดูแลเด็กปฐมวัย

                บางครอบครัวพ่อแม่มีลูกหลายคน แต่บางครอบครัวไม่มีลูก เลี้ยงแมวมาเป็นลูก นับวันแต่ละครอบครัวผู้สูงอายุนับวันจะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่เด็กเกิดใหม่มีจำนวนน้อยลง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทำให้ทุกพื้นที่สร้างพื้นที่การเรียนรู้ ส่งเสริมให้มีพัฒนาการ มีกระบวนการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ การขับเคลื่อนให้มีการสร้างสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา เป็นตัวอย่างการสร้างกิจกรรมการเล่นให้กับเด็ก การเล่นทำให้สมองปรับตัว รู้จักคิดและวิเคราะห์มากขึ้นด้วย การเล่นยังช่วยในการหล่อหลอมอนาคต วิถีการดำเนินชีวิตหลายคนเปลี่ยนไป เมื่อเติบโตขึ้นมีแบบแผนทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องด้วย

                การสร้างนวัตกรรม 6 ชุดกิจกรรม ครอบคลุมความจำเป็น 4 ด้านของเด็ก ด้านสุขภาพ สังคม การจัดการสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ เด็กในวัย 3-5 ปีเน้นการเปิดประสบการณ์ใหม่ กลไกการจัดการหลักการต่อยอดนวัตกรรม หลักสูตรการศึกษายุทธศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพเชื่อมโยงกับผู้ก่อการดี องค์กรพัฒนาชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีการประเมินความสามารถของศูนย์พัฒนาเด็ก สำคัญก็คือต้องปลอดโรค พัฒนาคุณภาพเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ มิฉะนั้นจะเป็นแหล่งเรียนรู้ไม่ได้

                ขณะเดียวกันก็ต้องมีการพัฒนาครอบครัว เมื่อมีวิกฤติจากครอบครัวเด็กจะได้รับผลกระทบที่รุนแรง ปัญหาความยากจน ศูนย์พัฒนาครอบครัวทำหน้าที่เหมือนหน่วยฉุกเฉินช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เด็กกลับไปอยู่ในชุมชนเดิมโดยเร็วที่สุด บางครั้งเมื่อเด็กออกจากพื้นที่ที่มีปัญหาต้องทำให้เด็กกลับมาอยู่บ้านโดยเร็วที่สุด

                สำนักปลัดรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลการจัดรถรับ-ส่งในกรณีที่เกิดเหตุวิกฤติ การอบรมช่วยเหลือเด็กจมน้ำ ปัญหาเพลิงไหม้ ความปลอดภัยในเด็กวัย 3-5 ปี ครัวเรือนที่มีเด็กยากจน การสร้างกิจกรรมริเริ่มครอบครัวอบอุ่น กองช่างบำรุงรักษาสนามเด็กเล่น ปัญหาสุขภาพโรคมือเท้าปาก โรคระบาดในเด็ก ตาแดง ต้องทำให้ศูนย์พัฒนาเด็กปลอดโรค แก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีภายใน 24 ชั่วโมง มีกองทุนสวัสดิการสำหรับเด็กจัดสวัสดิการช่วยเหลือเด็กในกรณีฉุกเฉิน รร.ผู้สูงอายุถ่ายทอดประสบการณ์เพิ่มพัฒนาการทางสติปัญญาให้กับเด็ก การเล่านิทานให้เด็กฟัง ทำของเล่นให้เด็กเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ มีการทำของเล่นแบบใหม่หลายพื้นที่เพื่อให้เกิดการแข่งขันกันด้วย ทำอย่างไรให้เด็กกิน อยู่ นอนหลับได้ดี มีการทำกิจกรรมทางกายมีพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สมวัย เขียนอ่านเล่นได้ดี ไม่ซึมเศร้า อดทน.

 

 

รศ.ดร.ขนิษฐา นันทบุตร

             ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

                จุดเริ่มต้นของศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (ศวช.) เมื่อ รศ.ดร.ขนิษฐา นันทบุตร ทำงานพยาบาลชุมชนมายาวนาน รู้ทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สร้างบทเรียนให้กับนักศึกษาพยาบาลที่ท้องถิ่นส่งเรียนการวิจัยชุมชนและทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ต่อมา ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผลักดันให้ รศ.ดร.ขนิษฐา จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (ศวช.) ซึ่งผ่านการอนุมัติจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปีนี้ หน้าที่ของ ศวช.ในยุคแรกเริ่มได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานเครือข่ายด้วย

                องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้ามาเป็นผู้นำการเรียนรู้ด้วยข้อมูลที่หนักแน่น เป็นการผสานระหว่างข้อมูลเดิมของท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงานของรัฐ กลุ่มองค์กรต่างๆ ข้อมูลที่ร่วมกับ สสส.ทำขึ้นใหม่ เช่น ระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) ที่เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ มีรายละเอียดลงลึกถึงรายครัวเรือนและหมู่บ้าน ข้อมูลการวิจัยชุมชน (RECAP) เป็นข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ บ่งบอกถึงทุนทางสังคมและศักยภาพของชุมชน ข้อมูลที่ชัดเจนช่วยให้เห็นสถานการณ์ปัญหา แนวทาง ตลอดจนโอกาสในอนาคต โดยเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่นำข้อมูลมาวิเคราะห์สถานการณ์ 5 ด้าน คือ ด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ การเมืองการปกครอง

                ข้อมูลเป็นเครื่องมือที่ชุมชนนำมาออกแบบ Blue Print หรือแปลนการทำงาน เพื่อให้รู้ว่าต้องทำอะไร นำไปใช้ในหน่วยงานใด มีกิจกรรมอะไรบ้าง แก้ปัญหาได้จริงหรือไม่ ถ้าไม่ได้ต้องหันมาเริ่มใหม่ ปรับแก้จุดที่ยังอ่อนประสิทธิภาพ ส่วนที่ประสบความสำเร็จจะพัฒนาไปสู่นวัตกรรมคือเป็นองค์ความรู้ใหม่ การคิดในเชิงระบบการจัดการ 1.ต้องพัฒนาศักยภาพของคน เพื่อให้คนไปเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง สสส.พยายามเสริมพลังให้คนในชุมชนท้องถิ่น 2.ข้อมูล ทุกการทำงานต้องมีข้อมูล 3.การจำแนกแยกแยะ สิ่งใดเป็นการหนุนเสริม สิ่งใดควรช่วยเหลือ สิ่งใดคือการบริการ งานเชื่อมโยงกับใครบ้าง 4.สร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงาน การดูแลเด็กปฐมวัย ต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาทางร่างกาย สติปัญญา อาหาร การควบคุมป้องกันโรค 5.ความร่วมมือทุกภาคส่วน ทำงานหนุนเสริมซึ่งกันและกัน 6.นวัตกรรมคือองค์ความรู้ เทคนิควิธีที่ผ่านการตกผลึกทั้งในแง่แนวคิดและปฏิบัติการ

                ทุกพื้นที่ต้องประสบปัญหา จึงต้องออกแบบ Blue Print เมื่อแปลงเป็นงานหรือกิจกรรมจะเกิดเป็นพลังของคน รวมทั้งความเชี่ยวชาญ นำไปสู่การพัฒนาต่อยอด ใช้ข้อมูลเป็นเครื่องมือสำคัญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องถามตนเองว่ามีข้อมูลเพียงพอหรือไม่ เพื่อจัดการกับประเด็นปัญหาต่างๆ ข้อมูลที่มีอยู่แล้วนำไปใช้ได้ดีหรือยัง ถ้านำไปใช้ได้แล้วจะพัฒนาต่อยอดอย่างไร หรือถ้ายังมีข้อมูลไม่เพียงพอก็ต้องปรับปรุงเพิ่มเติม และออกแบบ Blue Print ใหม่เพื่อสร้างวงจรของการพัฒนาไปเรื่อยๆ

                การจัดทำเมนูยอดนิยมของชุมชนท้องถิ่น การดูแลเด็กปฐมวัยโดยชุมชนท้องถิ่น การจัดการอาหารชุมชน การจัดการระบบนิเวศชุมชนและลดโลกร้อนโดยชุมชนท้องถิ่น ระบบการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน การควบคุมการบริโภคยาสูบและสารเสพติด การควบคุมการบริโภคแอลกอฮอล์และลดอุบัติเหตุจราจร การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น

                การดูแลเด็กปฐมวัยโดยชุมชนท้องถิ่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1.พัฒนาหลักสูตร กิจกรรม สื่อส่งเสริมการเล่น กิจกรรมการเรียนรู้และพัฒนาการ 2.เฝ้าระวังโรคและความปลอดภัย 3.พัฒนาศักยภาพครูและพี่เลี้ยง 4.จัดอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ส่งเสริมการเจริญเติบโต 5.ส่งต่อ 6.ประเมินปัญหาเด็ก

                ศูนย์พัฒนาครอบครัว 1.ตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยปัญหาครอบครัว 2.จัดกิจกรรมส่งเสริมครอบครัวอบอุ่น 3.พัฒนาทักษะชีวิตให้เด็กและเยาวชน 4.จัดหาที่พักพิงชั่วคราวและประสานความช่วยเหลือ 5.สนับสนุนการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ

                รพ.สต. 1.จัดบริการเชิงรุก ตรวจสุขภาพ ส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการ 2.พัฒนาระบบเฝ้าระวังความผิดปกติ 3.ให้คำปรึกษา แนะนำ 4.พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 5.ร่วมวางแผนให้การช่วยเหลือดูแลพ่อแม่สมาชิกในครอบครัว 1.เตรียมความพร้อมเป็นพ่อแม่ ดูแลเด็ก ส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการ 2.เฝ้าระวังป้องกันความผิดปกติการเจริญเติบโตพัฒนาการ อุบัติเหตุ 3.ปรับสภาพบ้านให้ปลอดภัย 4 ประเมินพัฒนาการและปัญหาเด็ก

                อปท. 1.พัฒนาและนำใช้ข้อมูล 2.พัฒนาข้อบัญญัติ เพื่อดูแลช่วยเหลือเด็กปฐมวัย 3.จัดทำโครงการและแผนในการดูแลช่วยเหลือเด็กปฐมวัย 4.พัฒนาธรรมนูญสุขภาพที่เอื้อต่อการส่งเสริมและพัฒนาเด็กปฐมวัย 5.ปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้และสร้างความปลอดภัย 6.ประสานความร่วมมือหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้อง

                ผู้นำชุมชน 1.สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการดูแลเด็กในพื้นที่ 2.จัดทำแผนพัฒนาชุมชน 3.ค้นหา ป้องกันการกระทำรุนแรงและเจรจาไกล่เกลี่ย 4.จัดกิจกรรมส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการ 5.ประสานงานหน่วยงาน องค์กรให้การดูแลช่วยเหลือ 6.ประสานครอบครัวส่งเด็กเข้าเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

                หน่วยงานหรือองค์กรอื่นในพื้นที่ 1.สนับสนุนงบประมาณ กำลังคน เครื่องมือ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการ 2.ร่วมจัดทำแผนพัฒนาและการดูแลช่วยเหลือ กลุ่มและองค์กรในชุมชน 1.สร้างกิจกรรมและพื้นที่เรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการ 2.เฝ้าระวัง ป้องกันปัญหาและอุบัติเหตุ 3.เป็นแหล่งเรียนรู้ให้เด็กและครอบครัว อาสาสมัคร 1.ดูแล ส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการ 2.เฝ้าระวัง ป้องกันความผิดปกติการเจริญเติบโต พัฒนาการ อุบัติเหตุ 3.ปรับสภาพบ้านให้ปลอดภัย 4.ติดตาม ดูแล ส่งต่อ.

 

                                นิภาวรรณ หายทุกข์ ปลัดเทศบาลตำบลงิม อำเภอปง จังหวัดพะเยา

                การเล่นเป็นหัวใจที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในเด็กปฐมวัย งิมเป็นเทศบาลชนบท พะเยาคนหลังเงา ภูลังกาห่างจากตัวจังหวัดมาก มีประชากร 6,953 คน 10 หมู่บ้าน เด็กแรกเกิด-5 ปี จำนวน 373 คน หรือ 4.86% ของประชากร เด็กมีพัฒนาการล่าช้า น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ เด็กบางคนสูงกว่าเกณฑ์ 255 คน ป่วยด้วยโรคทั่วไปค่อนข้างสูง เด็กอาศัยอยู่กับผู้สูงอายุตามลำพังถึง 20%

                ท้องที่ ต.งิม อยู่ในความดูแลของผู้ใหญ่บ้าน กำนัน รพ.สต.ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย กรอบแนวคิดเวียงจันทน์ Health Model ใช้ความหลากหลายกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเด็ก E-Environment A-Attitude การสร้างทัศนคติให้เป็นเด็กดีมีวินัย L-Learn การจัดกิจกรรมเด็กฝึกปฏิบัติจริงด้วยความเข้าใจ T-Teamwork มีส่วนร่วมภาคีกับส่วนราชการ H-ท้องถิ่นจะถูกมองในเรื่องคุณภาพ ความเชื่อมั่น มีการตกลงร่วมกัน การสร้างสมาธิในเด็กผ่านการเล่นการทำกิจกรรม ทฤษฎีบริหารสมอง มีการประยุกต์นำเศษไม้ในพื้นที่เคาะเป็นจังหวะตามเสียงเพลงนำสู่การเรียน เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน รร.ผู้สูงอายุนำภูมิปัญญาพื้นบ้านมาสอนหลานให้เล่นกลองสะบัดชัย พัฒนาการให้เด็กเติบโตได้สมวัย มีน้ำหนักตามมาตรฐานเป็นเป้าหมายสูงสุด เด็กมีร่างกายแข็งแรง เมื่อมีพัฒนาการที่ดีส่งผลต่อการเรียนรู้ที่ดีด้วย.

 

 

                ดร.พรรณิภา ไชยรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

                ปฏิบัติการที่ 1 : เรียนรู้เครื่องมือประเมินผลลัพธ์การดูแลเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา กล่าวถึงแบบประเมิน IQ EQ EF แบบประเมินความสามารถทางเชาว์ปัญญา (Intelligent Quotient:IQ) แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) สำหรับเด็ก 3-5 ปี แบบประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร (EF) ในเด็กก่อนวัยเรียน แบบประเมินการจัดการเรียนรู้ (HIGH SCOPE) แบบประเมินการเรียนรู้บกพร่อง (Learning Disorder) (ประถมศึกษา) แบบประเมินความรอบรู้และความฉลาดด้านสุขภาพ (Health Literacy) ของเด็กวัยเรียน

                กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ทำแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็ก (EQ) 3-5 ปี 1.ดี แสดงความเห็นใจเมื่อเพื่อนหรือผู้อื่นทุกข์ร้อน บอกว่าสงสาร เข้าไปปลอบหรือเข้าไปช่วย หยุดการกระทำที่ไม่ดีเมื่อผู้ใหญ่ห้าม แบ่งปันสิ่งของให้คนอื่นๆ ขนม ของเล่น บอกขอโทษหรือแสดงท่าทียอมรับผิดเมื่อรู้ว่าทำผิด อดทน และรอคอยได้ 2.เก่ง อยากรู้อยากเห็นกับของเล่นหรือสิ่งแปลกใหม่ สนใจ รู้สึกสนุกกับงานหรือกิจกรรมใหม่ๆ ซักถามในสิ่งที่อยากรู้ เมื่อไม่ได้ของเล่นที่อยากได้ก็สามารถเล่นของอื่นแทน ยอมรับกฎเกณฑ์หรือข้อตกลง แม้จะผิดหวัง/ไม่ได้สิ่งที่ต้องการ 3.สุข แสดงความภาคภูมิใจเมื่อได้รับคำชมเชย บอกเล่าให้ผู้อื่นรู้ รู้จักหาของเล่น หรือกิจกรรมเพื่อสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน แสดงอารมณ์สนุกหรือร่วมสนุกตามไปกับสิ่งที่เห็น ร้องเพลง กระโดดโลดเต้น หัวเราะเฮฮา เก็บตัวไม่เล่นสนุกสนานกับเด็กคนอื่นๆ ไม่กลัวเมื่อต้องอยู่กับคนที่ไม่สนิทสนม

                เด็กที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าปกติ ควรส่งเสริมและรักษาคุณลักษณะนี้ไว้ เด็กที่มีความฉลาดทางอารมณ์ปกติ เด็กควรได้รับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในด้านนั้นๆ ให้ดียิ่งขึ้น ผู้ใหญ่ควรร่วมกันส่งเสริมให้เด็กมีความฉลาดทางอารมณ์ในด้านนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง เด็กที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ เด็กควรได้รับการพัฒนา และควรได้รับการประเมินซ้ำด้วยแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ฉบับสมบูรณ์ชุด 55 ข้อ เพื่อความชัดเจนในการแก้ปัญหาความฉลาดทางอารมณ์ และต้องได้รับการเอาใจใส่พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์อย่างสม่ำเสมอและจริงจัง.

 

TED TALK

                กลุ่มย่อย บ้านขาม สายน้ำมีชีวิต พัทลุง กลุ่มครูจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดสงขลา

                ในกลุ่มย่อย บ้านขาม สายน้ำมีชีวิต พัทลุง กลุ่มครูจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดสงขลา

                ปรียาภรณ์ คงผอม ปลัด อบต.เขาปู อ.ศิริบรรพต พัทลุง มาพร้อมกับ ณกานต์ ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพัทลุง

                ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพัทลุงได้งบประมาณจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่บนพื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน สร้างเป็นศูนย์เด็กเล็กขนาดกลาง ยกฐานะเป็นแม่ข่าย เริ่มเปิดในปี 2560 รับเด็กวัย 2 ปี-4 ปี มีเด็กจำนวน 120 คน แต่ละปีเด็กลดจำนวนลงเหลือเพียง 90 คน เนื่องจากเด็กเกิดน้อยลง ที่นี่มีครูพี่เลี้ยง 2 คน ครูตัวจริง 4 คน ได้รับการยกฐานะเป็นแม่ข่าย หมู่บ้านทั้งหมด 11 แห่ง ประชากรกว่า 5,000 คน สัดส่วนครู 6 คน ดูแลเด็ก 90 คน                

                ศูนย์เป็นการเตรียมความพร้อมของเด็กให้เล่นสลับกับการเรียน เพื่อส่งเสริมให้มีการต่อยอดทางอารมณ์และสติปัญญา ให้มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เด็กเป็นไทยพุทธ 100% กิจกรรมสนามเด็กเล่นสร้างปัญญามีทั้งหมด 3 ฐาน ใช้งบประมาณท้องถิ่น 1 แสนบาท ชุมชนมาร่วมกันสร้างสนามเด็กเล่นเป็นที่สนใจของเด็กๆ กิจกรรมภายในศูนย์ให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย เด็กได้เล่นจะไม่มีพัฒนาการที่ล่าช้า

                ครูสังเกตพัฒนาการเด็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา เด็กบางคนมีพัฒนาการการใช้มือไม่ประสานกับดวงตา ต้องสังเกตรายละเอียดทั้งอารมณ์ หรือการชอบเล่นเพียงคนเดียว ปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้ช้า ด้านสติปัญญาเด็กเรียนรู้ได้ช้า ไม่สามารถปฏิบัติตามคำสอนของครูได้ เด็กบางคนไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ แต่อยู่กับตายาย หรือปู่ย่า เด็กบางคนพ่อแม่แยกทางกันเดิน ทำให้เด็กมีปัญหาในครอบครัว

                เด็กในศูนย์ป่วยเป็นไข้หวัด ครูจะคัดกรองพาไปส่ง รพ.สต.กำชับพ่อแม่ให้รับเด็กกลับไปรักษาตัวที่บ้าน เพื่อจะได้ไม่ติดต่อไปยังเด็กในศูนย์ ที่ศูนย์จะต้องเป็นศูนย์ปลอดโรค เป็นศูนย์คุณภาพ เป็นศูนย์ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ แก้วน้ำที่เด็กใช้จะเป็นแก้ว stainless อย่างดี ครูต้องทำความสะอาดเป็นอย่างดี ที่นอนของเด็กๆ ทุกวันศุกร์จะให้พ่อแม่นำกลับไปซักที่บ้าน ถ้าทุกอย่างสะอาด สุขภาพดี เด็กก็จะมีพัฒนาการที่ดี ที่นี่ได้รับเกียรติบัตร

                ด้วยกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม มีการทำแบบทดสอบเด็ก ประเมินพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย มีเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเด็ก การทดสอบ IQ เด็ก ทดสอบเชาวน์ปัญญา ในเมืองไทยส่วนใหญ่จะใช้การสุ่มวัด IQ ด้วยคำถามเชิงบวกและเชิงลบ ดูพัฒนาการในการอ่าน เขียน คำนวณ ประเมินพฤติกรรมทั่วไป

                อาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชนและครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดสงขลาซึ่งเข้าร่วมอยู่ในกลุ่มนี้ตั้งข้อสังเกตว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่จะฝากลูกไว้กับครูอย่างเดียว ไม่สอนหรือคอยตรวจการบ้านให้กับลูกๆ ถ้าจะถามว่าพ่อแม่ไม่มีเวลาหรือไม่ ครูขอตอบว่าพ่อแม่พอมีเวลา แต่ไม่ค่อยใส่ใจซักไซร้หรือคอยซักถามลูก ครูจากสงขลารายหนึ่งถึงกับเอ่ยว่า แม้แต่การตามฉีดวัคซีนให้กับลูก ครูยังต้องทำหน้าที่นี้ด้วย เรื่องสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการควรผลักดันให้เป็นจริงอย่างต่อเนื่องด้วย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) : ภาพ

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"