ไฮสปีดเทรน 7 ปีที่รอคอย


เพิ่มเพื่อน    

          ถือเป็นประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึกไว้ วันนี้ที่รอคอยมานานนับ 7 ปี ถึงวันสิ้นสุดแล้ว หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานในพิธีตอกเสาเข็มเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา แสดงสัญลักษณ์การก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก  ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร จากระยะทางทั้งหมด 252 กิโลเมตร วงเงินลงทุนทั้งสิ้น 1.79 แสนล้านบาท

            แม้ว่าการเจรจาในแต่ละครั้งจะพบปัญหาและอุปสรรคหลากหลายประการ ภายใต้การนำของ “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รมว.คมนาคม ที่เป็นโต้โผหลักในการนำทัพไปเจรจากับผู้นำของจีน มีหลายต่อหลายครั้ง หลังการประชุม ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ต่างก็ไม่ได้ย่อท้อ ที่สุดแล้วก็ประชุมจนกว่าเรื่องนั้นๆ จะได้ข้อยุติ

            ก่อนหน้านี้มีเรื่องต้องลุ้นระทึกเมื่อช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีกระแสข่าวออกมาว่า เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ยังไม่ผ่านการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หลังจากที่กระทรวงคมนาคมได้เสนอเรื่องให้คณะกรรมการชำนาญการพิเศษ (คชก.) และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณา EIA ไปแล้ว 6 ครั้งนั้น ซึ่งยังติดปัญหาการผ่านพื้นที่บริเวณ จ.สระบุรี คือพื้นที่เหมืองแร่ โรงปูน จ.สระบุรี นั้นเอง

            เป็นที่แน่นอนว่า กรณีไม่ผ่าน EIA กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไป และยังเป็นกระแสให้ผู้สื่อข่าวถกเถียงกันว่า แล้ว EIA จะผ่านได้เมื่อไร ในเวลาต่อมาสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) มีมติเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม  (EIA ) โครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา แล้วเมื่อวันที่ 30 พ.ย. ถือว่าโล่งอกกันทีเดียว เนื่องจากถ้าโครงการไม่ผ่าน EIA ดูเหมือนว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเก้าอี้ร้อนกันแน่ๆ

            เนื่องจากงานนี้ได้มีประกาศิตจากรัฐบาลฝากถึงกระทรวงคมนาคม ว่าโครงการรถไฟไทย-จีน ต้องตอกเสาเข็มให้ได้ภายในปีนี้ ให้ทันภายในรัฐบาลชุดปัจจุบัน ถือเป็นความมุ่งมั่นของพล.อ.ประยุทธ์ ที่ตั้งใจอย่างแรงกล้าว่าจะปักหมุดรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนให้ได้ แม้ว่าจะมีอุปสรรคขวากหนามมากมายมหาศาล เจอโรคเลื่อนแล้วเลื่อนอีกก็ตามที

            จนในที่สุดเบิกฤกษ์สำคัญของวันที่ 20 ธ.ค.60 ก็ได้ทำพิธีบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพื่อน้อมรำลึกการเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการก่อสร้างรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2441

            วันประวัติศาสตร์ 21 ธ.ค.2560 พลเอกประยุทธ์ และนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน ได้ร่วมพิธีเริ่มการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ภายใต้แนวคิด "น้ำหนึ่งใจเดียว ทุกเรื่องราบรื่น"

            หมายมั่นปั้นมือว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงนี้ ในส่วนของการก่อสร้างงานโยธาจะแล้วเสร็จในปี 64 จากนั้นจะติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณในปี 65 และเปิดให้บริการได้ในปี 66 อย่างไรก็ตาม หากการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมาแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการแล้วนั้น จะใช้ระยะเวลาในการเดินทาง 1.30 นาที ด้วยความเร็ว 250 กม.ต่อชั่วโมง มีศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่ที่สถานีเชียงรากน้อย โดยในเบื้องต้นคาดว่าช่วงกรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยา จะก่อสร้างให้แล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ก่อนช่วงอื่น

            อาจกล่าวได้ว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นโครงการที่มีแต่การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เคยถูกกำหนดให้เป็นรถไฟความเร็วปานกลาง โดยมีข้อติติงมาจากหลายฝ่าย ว่ารถไฟความเร็วสูงยังไม่จำเป็นสำหรับไทย แต่ต่อมาก็กลายเป็น “ไฮสปีดเทรน” หรือรถไฟความเร็วสูงในที่สุด แต่รถไฟความเร็วสูงสายแรกก็เกิดขึ้นจนได้ เป็นบทบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ประเทศไทย และประวัติชีวิตของผู้นำรัฐบาลไทยที่ชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สมดังตั้งใจจนได้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"