สมองดี..เขาทำกันยังไง?


เพิ่มเพื่อน    

    ในอดีต ก่อนยุคโซเชียลมีเดีย หมอและนักวิทยาศาสตร์ไม่ค่อยเห็นคนอายุมากๆ แล้วร่างกายยังแข็งแรง หรือสมองยังดีมากๆ ทางวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์จึงเชื่อว่า การถดถอยของสมองเมื่ออายุมากขึ้นเป็นสิ่งที่ไม่มีทางจะเลี่ยงได้ (โดยเฉพาะก่อนที่จะพบว่าสมองคนเรา สร้างเซลล์ใหม่ๆ ได้ตลอดแม้จะอายุมากแล้ว)
    แต่เพราะโซเชียลมีเดีย เราจึงมีโอกาสได้เห็นหรือได้ยินเรื่องราวของคนอายุ 70-80 แต่สมองยังดี เหมือนคนวัย 30 ปี มากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงกับมีคำเรียกคนสูงอายุ แต่สมองยังดีเหล่านี้ว่า super-ager
และมีงานวิจัยมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเข้าใจว่าคนเหล่านี้เขาทำได้ยังไง?
    หนึ่งในงานวิจัยล่าสุด เป็นการนำคนที่การทำงานของสมองยังดีมากๆ คือ ดีพอๆ กับคนวัย 20-30 ปี มาสแกนสมองศึกษา 
    สิ่งที่พบค่อนข้างน่าแปลกใจ โดยทั่วไป ภาพรังสีสมองของคนอายุมากจะเห็นได้ชัดมากว่า สมองดูฝ่อลง (จะเห็นว่าเล็กลง และดูเหมือนเหี่ยวลง) โดยเฉพาะส่วนที่เรียกว่า เปลือกสมอง (ที่เกี่ยวข้องกับความคิด หรือที่เรานิยมพูดกันว่า ความฉลาด) 
    แต่ในคนกลุ่มนี้ หลายบริเวณในสมองของเขาแทบไม่ต่างไปจากคนวัย 20-30 ปีเลย คือ ไม่ใช่แค่ฝ่อช้า แต่เหมือนจะคงสภาพไว้ได้เลย 
    คำถามคือ คนพวกนี้ทำได้ยังไง? โชคช่วย? เกิดมาโชคดี สมองแก่ช้าเอง หรือเพราะทำอะไรบางอย่างถูกต้อง?
    คำตอบคือ ทั้งสองอย่าง คือเกี่ยวกับทั้งพันธุกรรมของเขาเอง และการเลือกใช้ชีวิต
    ในแง่ของพันธุกรรม เรายังไม่มีความรู้อะไรมากนัก ว่าคนเหล่านี้มีพันธุกรรมต่างจากคนอื่นยังไง นั่นก็หมายความว่า เราแต่ละคนไม่รู้หรอกว่าเราจะเป็นคนที่โชคดีแบบนั้นหรือเปล่า
    แต่สิ่งที่เราพอจะทำได้คือ การเลือกใช้ชีวิต 
    เทคนิคที่จะให้ไว้วันนี้มี 4 อย่างง่ายๆ 4 ข้อนี้ เป็นเทคนิคที่มีงานวิจัยยืนยันออกมาแล้วมากมาย จนตอนนี้ถือได้ว่าเป็นที่วิธีการดูแลสมองที่ดีที่สุด
    1.ออกกำลังกายแบบแอโรบิก (ที่เหมาะกับความแข็งแรงของตัวเอง) งานวิจัยพบว่า ไม่ใช่แค่ช่วยคงสภาพสมองไว้ได้ แต่พบว่า ในคนสูงอายุหลายคนที่สมองเริ่มเสื่อมแล้ว หลงลืมแล้ว เมื่อออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอ (ประมาณ 6 เดือน) เมื่อมาสแกนสมองซ้ำ พบว่า เนื้อสมองหนาขึ้นกว่าเดิมได้ด้วย นอกเหนือไปจากแอโรบิก การยกน้ำหนัก หรือ wieght training วิธีต่างๆ ก็ช่วยเรื่องสมองด้วย ถ้าทำควบคู่กันไปได้จะดีมากๆ
    2.นอนเยอะๆ นอนให้พอเพียง ข้อนี้สั้นๆ ตรงไปตรงมา ทุกวันนี้ คนส่วนใหญ่คงรู้ดีว่าการนอนสำคัญกับสมองและร่างกายมากแค่ไหน แต่ถ้าใครมีปัญหานอนยาก นอนไม่หลับ ลองหาอ่าน วิธีการแก้ไขดูว่าทำยังไง และถ้ายังแก้ไขไม่ได้จริงๆ แนะนำว่าให้ไปปรึกษาแพทย์ดู ให้มองว่าปัญหาการนอนไม่หลับเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพเหมือนๆ กับ ความดันสูง หรือไขมันในเลือดสูงไปเลย
    3.บริหารความเครียด สำหรับคนทุกวันนี้ ความเครียดในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่เลี่ยงได้ยาก แต่มันสามารถบริหารจัดการได้ วิธีการง่ายๆ อันหนึ่งที่ทำได้ คือ นั่งสมาธิ (หรือเดินจงกรม สวดมนต์ รำมวยจีน ฯลฯ) มีงานวิจัยที่พบว่า ในคนที่สมองเริ่มเสื่อมไปบ้างแล้ว ถ้ามีความเครียดสะสมเพิ่มขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงของการป่วยเป็นอัลไซเมอร์ มากขึ้นมาก
    4.การมีสังคม ทุกวันนี้ ครอบครัวเราเล็กลงเรื่อยๆ ความโดดเดี่ยว ความเหงามีมากขึ้น หลายคนตอนทำงานก็มีเพื่อน มีสังคม แต่พอเกษียนไปแล้วกลับกลายเป็นว่ามีสังคมน้อยลง super-ager หลายคน เลือกที่จะทำงานต่อ แต่จะเป็นไปในลักษณะของการเป็นจิตอาสา ช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยเหลือสังคม คือนำประสบการณ์ที่สะสมมาช่วยเหลือสังคม เช่น ไปสอนเด็กด้อยโอกาส ไปเป็นไกด์อาสาสมัคร ฯลฯ ซึ่งการทำเช่นนี้ นอกเหนือไปจากการทำประโยชน์ให้สังคม ยังทำให้ต้องใช้สมองในการคิดแก้ปัญหา ได้พบปะผู้คนที่หลากหลาย มีความสุขกับการได้ช่วยเหลือคนอื่น และรู้สึกว่าตัวเองยังมีค่าต่อสังคม 
    4 ข้อแค่นี้เอง จากงานวิจัยในระยะหลังที่พบว่า สมองของบางคนสามารถคงสภาพไว้เหมือนคนอายุ 20-30 ปีได้. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"