เปิดตัว'กลุ่มเพื่อนธนาธร' นาฬิกาหรูทำความคิดคนอีกฝั่งเข้ารูป'ทักษิณ'ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป


เพิ่มเพื่อน    

ภาพประชาไท

13 มี.ค.61- เว็บไซด์ประชาไท เปิดตัว ‘เพื่อนธนาธร’: ภายใต้คอนเซ็ปต์ ประเทศไทยในความฝันคนรุ่นใหม่ อนาคตที่ทุกคนเท่ากัน  เป็นการสัมภาษณ์ บุคคลที่ถูกระบุว่า เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ได้ร่วมหารือเรื่องอนาคตสังคมไทยกับธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ รองประธานบริหารกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท ที่มีกระแสข่าวว่าจะตั้งพรรคการเมืองใหม่

    เนื้อหาระบุว่าเมื่อคนรุ่นใหม่พูดถึงการเมือง พูดถึงสังคมที่อยากเห็น คุณลักษณะประการหนึ่งที่พบเห็นได้น้อยในหมู่นักการเมืองเชี่ยวสนามคือความกล้าที่จะฝันให้ใหญ่ พวกเขาไม่แยแสว่าสิ่งที่พวกเขาฝันและจะลงมือทำนั้น ใครจะมองว่าเป็นความเพ้อฝันหรือไร้เดียงสา การไม่ทำอะไรเลยต่างหากที่อาจเป็นความไร้เดียงสาต่อชีวิตและสังคม

    ไม่ว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. จะยื้อยุดอย่างไร การเลือกตั้งย่อมต้องมีขึ้นในปีหน้า หลังจากไม่มีการเลือกตั้งระดับประเทศเลยมาเกือบ 7 ปี คนรุ่นใหม่ที่อายุประมาณ 24-25 ปีในเวลานี้ ยังไม่เคยได้ใช้สิทธิการกำหนดชีวิตตนเองผ่านการเลือกตั้งกำลังจะได้ใช้สิทธิ

    กว่าทศวรรษที่สูญหายไปในหล่มความขัดแย้ง รัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญ แล้วร่างมันขึ้นมาใหม่ เป็นวงจรอุบาทว์ที่คนรุ่นใหม่ที่สนใจการเมืองจำนวนหนึ่งครุ่นคิดกับมันและถึงเวลาต้องตัดวงจร พวกเขาไม่รังเกียจการเมือง การเมืองเป็นเรื่องของทุกคน พวกเขาต้องการการเปลี่ยนแปลง

    ไกลก้อง ไวทยการ อายุ 43 ปี จากสถาบันเทคโนโลยีเพื่อสังคม (Social Technology Institute) ผู้มีส่วนผลักดันให้เกิดฐานข้อมูลเปิด หรือ Open Data ในประเทศไทยกล่าวว่า เหตุผลที่ไกลก้องคิดว่าคนรุ่นใหม่ ควรจะมีบทบาททางการเมืองคือ “เพราะคนรุ่นเก่าทำไม่สำเร็จ คนรุ่นใหม่มีวิธีคิดที่เปลี่ยนแปลงไป มีการสื่อสารที่ไม่ได้มีลำดับขั้นจากบนลงล่าง ไม่ยึดติดกับกฎระเบียบ มีความฝัน คนรุ่นใหม่คิดว่าวันพรุ่งนี้ต้องดีกว่า ผมว่าหลายๆ ประเทศในโลกได้พิสูจน์ให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่สามารถบริหารประเทศได้ เป็นผู้นำได้ เราอาจจะเห็นตัวอย่างอย่างทรูดอร์ของแคนนาดา มาครองของฝรั่งเศส หรือโจชัว หว่องในฮ่องกง เขาก็สามารถเข้าสู่การเมืองได้ แม้จะถูกคุกคาม แต่เขาก็สามารถนำเสนออนาคตประเทศที่เขาอยากให้เป็นได้”

    เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์ วัย 23 ปี กรรมการและ Director องค์กร NEWGROUND อายุ 23 ประเทศไทยที่เขาอยากเห็นไม่มีอะไรซับซ้อน มันคือการตื่นขึ้นมาและพบว่ามีความหวังที่ชีวิตจะดีขึ้นกว่าเมื่อวาน

    “เวลาเราฝันถึงอะไรบางอย่าง สิ่งที่ง่ายที่สุด ง่ายกว่าการเข้าคูหาเลือกตั้ง คือการไปสวดมนต์ขอพรให้เรามีชีวิตที่ดีกว่าอย่างน้อยในชาติหน้า ให้ชาติหน้าเราเกิดมารวย เกิดมาในประเทศที่สนับสนุนประชาชนมากกว่านี้ แต่ผมฝันที่จะอยู่ในประเทศนี้แล้วเห็นชีวิตที่ดีในชาตินี้ ดังนั้น เราควรทำอะไรบางอย่างมากกว่าสวดมนต์ขอพร ถ้าคนตื่นมาแล้วมีความหวังว่าชีวิตต้องดีกว่าเมื่อวาน ไม่ใช่ขอไปดีอีกทีชาติหน้า ผมว่าสังคมแบบนี้ไม่น่าอยู่ อยู่แล้วหมดหวัง ไม่มีทางออก มองไม่เห็นอนาคต มันอาจเป็นโลกที่มีสวัสดิการที่ยืนยันว่าต่อให้ผมตกงาน เจ็บป่วย เป็นอื่น หรือพ่ายแพ้ ผมจะยังเป็นคนของโลกใบนี้อยู่ ไม่ได้ถูกทำให้เป็นสินค้าหรือถูกทำให้เป็นแรงงานที่ไม่มีใครสนใจความรู้สึก”

    ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์หนุ่มวัย 33 ปีจากวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    “คนรุ่นใหม่ที่แบกรับความเสี่ยงมาหลายเจเนอเรชั่น แบกรับความสิ้นหวังมาจากคนรุ่นก่อน และทำให้เราคิดถึงได้แต่เพียงแค่เรื่องตัวเอง มันถึงจุดแล้วที่เราต้องคิดว่าจะทำอย่างไร เราจะเปลี่ยนเงื่อนไขความเป็นไปได้นี้ให้เกิดขึ้นในเจเนอเรชั่นของเรา ที่ผมให้ความสำคัญกับรัฐสวัสดิการ มันไม่ใช่แค่ผม ผมคิดว่าคนครึ่งโลกกำลังสู้เพื่อสิ่งนี้ ไม่ว่าเขาจะเรียกมันว่าอะไร สังคมที่เท่าเทียม ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สู้เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น แต่หลักใหญ่ใจความที่รวมทั้งหมดเข้าด้วยกันคือแนวคิดรัฐสวัสดิการ ซึ่งจะทำให้เราเปลี่ยนจากมนุษย์ที่ถูกระบบทุนนิยมทำให้กลายเป็นเครื่องจักรให้กลับมาเป็นมนุษย์มากขึ้น มีศักดิ์ศรีมากขึ้น และมีเสรีภาพในการเลือกมากขึ้น”

    กฤตนัน ดิษฐบรรจง อายุ 20 ปี ขณะนี้กำลังศึกษาชั้นปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงและเป็นแกนนำกลุ่มเยาวชนอาสา ทำงานกับกลุ่มวัยรุ่นผู้ติดเชื้อเอชไอวี 

     “คนรุ่นเก่าชอบมองพวกเราคนรุ่นใหม่ว่าเป็นตัวปัญหา เช่น ปัญหาเด็กหนีเรียน เด็กมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เด็กท้องไม่พร้อม ต่างๆ นานา และจัดการปัญหานั้นมาจากความคิดแบบผู้ใหญ่มองเด็ก ที่มีแต่มองว่าเด็กเป็นตัวปัญหา และใช้วิธีการแบบสั่งสอน ผมว่ามันน่าจะมีวิธีการแก้ปัญหาที่ดีกว่านี้”

    เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร อายุ 29 ปี นอกกจากการทำธุรกิจส่วนตัวและมัคคุเทศก์ เขานิยามอาชีพตัวเองอีกอาชีพหนึ่งว่านักปรุงเบียร์ 

    “ผมอยากเห็นอำนาจอยู่กับประชาชน ปัจเจกสามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเอง อย่างกรณีผม ผมไม่สามารถทำในสิ่งที่ผมอยากทำได้ ทุกคนมีฝัน รัฐไม่ควรมาห้ามปราม แต่ควรสนับสนุนความฝันของทุกๆ คน ผมไม่สามารถออกแบบความฝันของตัวเอง ผมอยากทำคราฟต์เบียร์ ทำยังไงให้ทุกคนสามารถทำตามฝันของตัวเองได้ มันก็ต้องมีเรื่องการศึกษา คนต้องไม่ใช่เรียนเก่ง แต่ต้องเรียนรู้เก่ง โลกมันไม่ได้มีแค่นี้ ผมคิดว่าทุกอย่างจะดีขึ้น”

    ภูวกร ศรีเนียน  ภูวกรนักจัดรายการทีวีและนักรณรงค์การเมือง อายุ 45 ปี  มองว่าคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ที่เขารู้จักมีแนวคิดทางการเมืองแบบ “ไม่รู้จักทักษิณ ไม่เห็นประชาธิปัตย์อยู่ในสายตา และรำคาญประยุทธ์” ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้พวกเขาอยากเห็นการเมืองแบบใหม่ ทีี่คนเห็นต่างสามารถอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งตัวเขาเองรู้สึกว่าการเมืองรูปแบบนี้เริ่มมีความเป็นไปได้เมื่อเราไม่พูดถึงทักษิณ

    “ผมรู้สึกเหมือนกับว่าพอเราถอดทักษิณออกไป ระบบความคิดของคนอีกฝั่งเริ่มเข้ารูปเข้ารอยมากขึ้น อย่างเช่นเรื่องนาฬิกาหรูหรือกรณีคุณเปรมชัย มันค่อนข้างจะชัดเจน หลายคนเริ่มไม่ได้คิดว่าทักษิณเป็นปัญหาของการเมืองไทยอีกต่อไป ผมไม่ได้บอกว่าทักษิณไม่ดี แต่ผมคิดว่าพอเราไม่พูดถึงเขาแล้วความคิดคนในสังคมมันเข้ารูปเข้ารอยมากขึ้น”.

อ่านฉบับเต็ม


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"