บอร์ดฯเปลี่ยนตัวรถไฟไทย-จีน


เพิ่มเพื่อน    

 บอร์ด รฟท.ไฟเขียวเปลี่ยนรถรุ่นใหม่สัญญา 2.3ไฮสปีดเทรนไทย-จีน คาดชง ครม.ลงนามต้นเดือน พ.ย. พร้อมเห็นชอบติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณรถไฟทางคู่ 3 เส้นทาง 1.1 หมื่นล้าน

    เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟท.) ที่มีนายจิรุตม์  วิศาลจิตร เป็นประธาน ว่าที่ประชุมอนุมัติวาระสำคัญ 2 เรื่อง ประกอบด้วย ได้อนุมัติการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของงานในสัญญา 2.3 โครงการรถไฟความเร็วสูงความร่วมมือไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร ในส่วนของสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร) ที่มีการปรับจาก 38,558.38 ล้านบาท เป็น 50,633.50 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะลงนามกับจีนได้ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 ช่วงต้นเดือน พ.ย.นี้
    สำหรับสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนแปลงตัวรถไฟความเร็วสูงให้เป็นรุ่นที่ทันสมัยมากขึ้น รวมทั้งรายละเอียดงานก่อสร้างอุโมงค์ แม้จะเปลี่ยนสัญญา 2.3 ยืนยันว่าจะไม่กระทบวงเงินก่อสร้างทั้งโครงการกว่า 179,412 ล้านบาท หลังจากบอร์ดอนุมัติการแก้ไขสัญญา 2.3 แล้วจะเสนอไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
    “เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดวงเงินและเนื้องานจากที่เคยเสนอ ครม.ไว้ จากมีการปรับเปลี่ยนรถไฟความเร็วสูง จากรุ่นเหอเสีย (Hexia) เป็นรุ่นฟู่ซิ่ง (Fuxing) ที่ใหม่กว่า มีเทคโนโลยีทันสมัยและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และปรับการก่อสร้างโดยเฉพาะช่วงอุโมงค์ และโยกเนื้องานจากสัญญาโยธา เช่น โรงเชื่อมราง รถซ่อมบำรุง รถตรวจสภาพทาง โดยการปรับเพิ่มวงเงินสัญญา 2.3 ดังกล่าว จะไม่กระทบต่อกรอบวงเงินโครงการลงทุน” นายวรวุฒิระบุ
    นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบผลการประมูลโครงการจัดหาและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณรถไฟทางคู่ตามที่บอร์ดชุดที่แล้วตั้งอนุกรรมการศึกษารายละเอียดเสร็จเรียบร้อย โดยโครงการลงทุนระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม ในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 3 เส้นทาง รวมมูลค่า 11,494.271 ล้านบาท ประกอบด้วย สายเหนือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร จำนวน 20 สถานี ราคากลาง 2,782.843 ล้านบาท, สายอีสาน ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร จำนวน 20 สถานี ราคากลาง 2,460.738 ล้านบาท และสายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร ระยะทาง 169 กิโลเมตร จำนวน 59 สถานี ราคากลาง 6,250.65 ล้านบาท หลังจากบอร์ดอนุมัติและเตรียมลงทุนกับเอกชนที่ชนะการประมูล คาดว่าจะสามารถลงนามปี 2562 ถึงต้นปี 2563 เพื่อเร่งรัดโครงการที่ช้ามาระยะหนึ่งให้คืบหน้าได้อย่างรวดเร็ว
    “กำหนดการก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางต่างๆ รฟท.ประเมินว่างานโยธาสายใต้จะเสร็จปี 2564, สายเหนือปี 2565 และสายอีสานปี 2566 แต่ละเส้นทางเมื่อก่อสร้างงานโยธาจะใช้เวลาอีกเส้นทางละ 6 เดือน เพื่อติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณตามที่บอร์ดอนุมัติ” รักษาการผู้ว่าฯ รฟท.กล่าว
    ด้านนายจิรุตม์กล่าวว่า หลังได้รับการแต่งตั้ง บอร์ด รฟท.ได้เร่งประชุมเพื่อพิจารณาโครงการเร่งด่วน ทั้งรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน และปัญหาคดีโฮปเวลล์เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหลังจากนี้บอร์ดจะประชุมเดือนละ 1 ครั้ง แต่หากมีเรื่องเร่งด่วน จะนัดประชุมเพิ่มเติมได้ และได้ตั้งคณะกรรมการบริหาร มีนายอำนวย ปรีมนวงศ์ กรรมการ รฟท. เป็นประธาน นอกจากนี้ยังมีผู้แทนจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินและทางกฎหมาย เพื่อทำหน้าที่ในการกลั่นกรองวาระงานต่างๆ ก่อนเสนอบอร์ด รฟท.พิจารณา.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"